ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-07-31

AUDUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 13 สัปดาห์ จากข้อมูลเศรษฐกิจออสเตรเลีย-จีน และบรรยากาศตลาดที่มีความระมัดระวังก่อนการประชุม FOMC

AUDUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 13 สัปดาห์ จากข้อมูลเศรษฐกิจออสเตรเลีย-จีน และบรรยากาศตลาดที่มีความระมัดระวังก่อนการประชุม FOMC

ตลาดแสดงให้เห็นถึงการพักฐานตามแบบฉบับก่อนการประชุม Fed ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯย่อตัวจากการแข็งค่าขึ้นก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ผสมผสานกันในหลากหลายทิศทางและบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการประกาศนโยบายการเงินของคณะกรรมการ FOMC อย่างไรก็ตาม หัวข้อข่าวความเสี่ยงเชิงบวกจากจีนและความหวังที่จะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางรายสำคัญ จะช่วยหนุนความเชื่อมั่นเชิงบวกแม้นักลงทุนยังคงมีท่าทีระมัดระวังในตลาด ถึงแม้ว่าข่าวสารที่เกี่ยวกับปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และความวิตกกังวลก่อนการรายงานปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจจะจำกัดความเชื่อมั่นของตลาดก็ตาม

เนื่องจากความไม่แน่นอนในตลาด คู่เงิน AUDUSD ซึ่งทำหน้าที่เป็นบารอมิเตอร์ความเสี่ยง จึงร่วงลงมากที่สุดในบรรดาสกุลเงิน G10 แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลง นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังทั้งจากภายในประเทศและจีน ซึ่งเป็นลูกค้ารายสำคัญของออสเตรเลีย ยังสร้างแรงกดดันด้านลบต่อคู่เงินออสซี่อีกด้วย

คู่เงิน EURUSD ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ โดยคู่เงิน GBPUSD ยังคงพยายามรักษาระดับหลังร่วงลงติดต่อกัน 2 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)

อีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDJPY มีความผันผวนอย่างมาก โดยดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3.5 เดือน ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย คู่เงินเยนยังคงแกว่งตัว โดยที่ไม่สามารถปรับตัวตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.15% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้

ส่วนทางด้านคู่เงิน NZDUSD ชะลอตัวลงจากการดีดตัวสูงขึ้นในวันก่อนหน้า แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศจะออกมาดี ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD ยังคงผันผวนหลังพลิกกลับจากระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า การฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบจากระดับต่ำสุดในรอบ 8 สัปดาห์นั้นช่วยให้ดอลลาร์แคนาดา (CAD) ค่อยๆฟื้นตัวขึ้น

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวจากการร่วงลงติดต่อกัน 3 วัน โดยดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน เนื่องจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากความวิตกกังวลของตลาดและการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลง ขณะที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ หลังจากฝ่าแนวต้านขาลงอายุสองสัปดาห์

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD สามารถชะลอการร่วงลงก่อนหน้านี้ได้ แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับการโอนเงินทุนของรัฐบาลสหรัฐฯ นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของบิตคอยน์และอีเธอเรียมยังถูกจำกัดด้วยความกังวลในหลากหลายทิศทางเกี่ยวกับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯของ Donald Trump ซึ่งเป็นสาเหตุของการพุ่งสูงขึ้นของระดับราคาในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ยุติการร่วงลงติดต่อกัน 3 วัน โดยดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 8 สัปดาห์ และปรับตัวขึ้น 1.20% ระหว่างวันไปที่ประมาณ $76.10
  • ทองคำ (Gold) ขยายการปรับตัวสูงขึ้นของวันก่อนหน้าแตะระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ ล่าสุดมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยอยู่ที่ราวๆ $2,420
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยังคงอ่อนตัวอยู่ที่ระดับ 104.40 หลังจากพลิกกลับจากระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ในวันก่อนหน้า
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม แต่ ตลาดหุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ต่างก็ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยระหว่างวันที่ประมาณ $66,400 และ $3,320 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอตัวจากการปรับตัวขึ้นก่อนหน้า ท่ามกลางการพักฐานก่อนการประชุม Fed...

ตัวเลขตำแหน่งงานว่าง JOLTS ของสหรัฐฯที่แตะระดับสูงสุดในรอบสามเดือน และความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB ที่มีทิศทางเป็นบวก กลับไม่สามารถกระตุ้นช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯก่อนการประชุม FOMC ได้ การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ อาจเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นในแง่ดีแม้ตลาดจะมีท่าทีระมัดระวัง ประกอบกับการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะมีแนวโน้มยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในการประกาศรายงานการประชุมในวันพุธนี้

ข่าวสารเกี่ยวกับการเลื่อนการเก็บภาษีจากจีนครั้งใหม่ และการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เน้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ยังช่วยลดความวิตกกังวลของตลาดและยิ่งกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนตัวลง

อย่างไรก็ดี ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งขึ้นล่าสุด และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในจีน และตะวันออกกลาง รวมไปถึงในสหรัฐอเมริกาเอง ยังทำให้ช่วงแนวโน้มขาลงของดอลลาร์สหรัฐฯเผชิญกับความท้าทาย ท่ามกลางความหวังว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 น้อยลง

ท่ามกลางการเคลื่อนไหวดังกล่าว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยังคงถูกกดดันหลังพลิกกลับจากระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ ในขณะที่คู่เงิน EURUSD พยายามรักษาระดับการปรับตัวสูงขึ้นที่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่จากยูโรโซนและเยอรมนีนั้นปรับลดลง

โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน GBPUSD ยังคงอ่อนตัวลง เนื่องจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดของสหราชอาณาจักรสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองของอังกฤษยังคงท้าทายความเชื่อมั่นเชิงบวกของนักลงทุนปอนด์สเตอร์ลิง อีกทั้ง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นของสหราชอาณาจักรที่ตกต่ำ ยังบ่งชี้ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ BoE และส่งผลกระทบต่อคู่เงิน Cable อีกด้วย

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY กลับไม่สามารถสะท้อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.15% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้ เนื่องจากข่าวที่มีการรั่วไหลออกมาก่อนหน้า ร่วมกับการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นดูเหมือนจะลดท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวลง นอกจากนี้ การตัดสินใจลดการซื้อพันธบัตรและท่าทีระมัดระวังเกี่ยวกับการประเมินสภาพเศรษฐกิจของ BoJ ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ท้าทายนักลงทุนคู่เงินเยน

คู่เงิน AUDUSD ร่วงลงหนักที่สุดในกลุ่มคู่สกุลเงิน G10 ขณะที่ไม่ตอบสนองต่อการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ และข่าวเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีน โดยปัจจัยหลักอาจมาจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่น่าผิดหวังและดัชนี PMI จากจีนที่ผสมผสานกัน นอกจากนี้ โอกาสนี้ยังช่วยหนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้าในเวลาต่อมาอีกด้วย

โดยคู่เงิน NZDUSD ถอยตัวจากระดับสูงสุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ ขณะที่พลิกกลับการปรับตัวขึ้นในวันก่อนหน้า แม้ว่าข้อมูลความเชื่อมั่น ANZ จากนิวซีแลนด์จะแข็งแกร่งก็ตาม ซึ่งสาเหตุหลักอาจมาจากข้อมูลเศรษฐกิจของจีนที่อ่อนตัวลงและการพักฐานของตลาดก่อนการประชุม FOMC

ทั้งนี้ คู่เงิน USDCAD ยังคงถูกกดดันหลังพลิกกลับจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 ในวันก่อนหน้า โดยคู่เงิน Loonie ยังได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดา และการดึงกลับของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

เมื่อพูดถึงราคาน้ำมันดิบ ข่าวการเสียชีวิตของผู้นำของกลุ่มฮามาส Ismail Haniyeh ในเตหะราน ร่วมกับตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ที่ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ตามการรายงานของสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) ยังส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น

ท่ามกลางความผันผวนของตลาดและการปรับตัวลงของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง นักลงทุนหันมาให้ความสนใจกับราคาทองคำ ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ต่อเนื่องจากแรงเทซื้อเมื่อวานนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ และความเชื่อมั่นของตลาดที่ไม่แน่นอน นอกจากนี้ ความหวังที่จะได้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากจีนและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายพื้นที่ก็ยังสนับสนุนราคาทองคำ (XAUUSD) ให้พุ่งสูงขึ้นอีกด้วย

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

ข้อมูล/เหตุการณ์จำนวนมากพร้อมสร้างความผันผวน...

หลังจากตลาดเริ่มต้นความคึกคักด้วยการรายงานข้อมูลสำคัญ นักลงทุนในตลาด Forex มีแนวโน้มที่จะได้เห็นความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะต่อไป โดยอาจเป็นผลมาจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจากยูโรโซนและสหรัฐฯจำนวนมาก ในจำนวนนี้ การรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเบื้องต้นของสหภาพยุโรป ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ADP ของสหรัฐฯ และการประกาศรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ตัวเลข GDP รายเดือนของแคนาดาสำหรับเดือนพฤษภาคม และรายงานผลรายสัปดาห์ของการเปลี่ยนแปลงสต็อกน้ำมันดิบของ EIA สหรัฐฯ รวมไปถึงการรายงานข่าวความเสี่ยง ก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นเทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรดเช่นกัน

เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) นั้นค่อนข้างเป็นที่แน่นอน การปรับตัวดีขึ้นของอัตราเงินเฟ้อใน EU อาจไม่สามารถช่วยหนุนแรงเทซื้อคู่เงิน EURUSD ได้ เว้นแต่ว่า Fed จะทำให้ผิดหวังด้วยการยุติการผ่อนคลายนโยบายการเงินที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ย ในทางกลับกัน ตัวเลขดัชนี CPI และ HICP ของยูโรโซนที่ปรับลดลง รวมถึงความสามารถของ Fed ในการดำเนินการสอดคล้องกับกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการให้ Fed ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด อาจทำให้คู่เงินยูโรร่วงลงได้

ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานของ ADP สหรัฐฯ จะเป็นสัญญาณล่วงหน้าสำหรับการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ในวันศุกร์ที่มีแนวโน้มที่จะแตะที่ตัวเลข 150,000 อีกครั้ง ซึ่งเพิ่งสูญเสียความน่าเชื่อถือไป ส่งผลให้เฉพาะการรายงานตัวเลขที่สุดโต่งเท่านั้นที่จะสามารถสั่นคลอนดอลลาร์สหรัฐฯได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดกำลังรอการรายงานการประชุม FOMC อย่างไรก็ตาม Fed มีแนวโน้มที่จะยังคงอัตราดอกเบี้ยเดิมไว้ แต่สัญญาณของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนและการแถลงข่าวของ Powell ประธาน Fed จะยังคงถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนดทิศทางในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตของธนาคารกลางสหรัฐฯต่อไป ซึ่งหากได้รับการยืนยันอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯร่วงลงได้

ในอีกทางหนึ่ง การฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำอาจร่วมกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดการดึงกลับของดอลลาร์สหรัฐฯ ทำซึ่งให้คู่เงิน USDCAD ปรับตัวลงและช่วยพยุงราคาคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD อย่างไรก็ตาม คู่เงิน USDJPY อาจยังคงขาดทิศทางที่ชัดเจน ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาดเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการในอนาคตของ BoJ หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยล่าสุด

นอกจากนี้ ผลประกอบการกำไรจำนวนมากจากวอลล์สตรีท อาจกระตุ้นความสนใจของนักเทรดสายโมเมนตัม หลังจากความผันผวนล่าสุดในดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมนั้นเข้าใกล้ระดับสูงสุดตลอดกาล

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !