ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading • 2022-09-22

แบงก์ชาติ-รัสเซียฉุดให้ตลาดเลี่ยงความเสี่ยง หนุนดอลลาร์ให้ปรับตัวขึ้น

แบงก์ชาติ-รัสเซียฉุดให้ตลาดเลี่ยงความเสี่ยง หนุนดอลลาร์ให้ปรับตัวขึ้น

นอกจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หรือการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับแผนการระดมกำลังทหารของวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ยังมีความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน ส่งผลให้ตลาดกลับมาปิดรับความเสี่ยงช่วงเย็นวานนี้ ความเชื่อมั่นของตลาดยังน่าเป็นห่วงในช่วงเช้าวันพฤหัสนี้ เนื่องจากธนาคารกลางอีกสองสามแห่งต้องเผชิญหน้าในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ดี สัปดาห์นี้ยังไม่มีเหตุการณ์สำคัญมากมายในการหนุนตลาด ทำให้มีสินทรัพย์เพียงไม่กี่ตัวที่ฟื้นตัวขึ้นได้ และปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าขึ้นหลังจากทำราคาสูงสุดในรอบ 20 ปี ขณะที่ราคาทองคำร่วงลงอีกครั้ง ส่วนน้ำมันดิบฟื้นตัวเล็กน้อยท่ามกลางความกังวลด้านอุปทาน หลังปรับตัวลงติดกันถึง 3 วัน

USDJPY บวกสูงสุดในบรรดาคู่สกุลเงินหลัก ขณะที่ EURUSD ร่วงหนัก

คู่สกุลเงินดิจิทัลยังอยู่ที่ระดับต่ำสุดเดิมในรอบเดือน เนื่องจากนักเทรดต่างเฝ้ารอความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับกฎระเบียบและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์หลักหลายรายการ ดังนี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent oil) ดีดตัวจาก Low เดิมในรอบสัปดาห์ ที่ราวๆ $91.00 หลังเป็นเทรนด์ขาลงติดกัน 3 วัน
  • ทองคำ (Gold) ร่วงแตะ Low เดิมในรอบ 2 ปี ปรับลง 0.80% ที่ราวๆ $1,660
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD INDEX) พุ่งแตะ High เดิมในรอบ 20 ปี ที่ราวๆ 111.60
  • ดัชนี DAX และ Eurostoxx ปรับลบเล็กน้อย ส่วน FTSE บวก 0.30%
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street แดงยกแผง นำโดย Nasdaq 1.79%
  • BTCUSD ปรับบวกราวๆ $18,950 ขณะที่ ETHUSD เผชิญอุปสรรค ที่ราวๆ $1,300
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

Fed, ยูเครน และจีนส่งผลต่อความเชื่อมั่นตลาด

Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด เช่นเดียวกับแบงก์ชาติสวิตฯ (SNB) ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงนโยบายการเงินแบบเดิมๆ Fed ฉุดให้ตลาดต้องแบกรับความเสี่ยงเพิ่มเติมด้วยการยอมรับเกี่ยวกับวิธีควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่อาจนำพามาสู่พิษเศรษฐกิจ ขณะที่รัสเซียเหมือนจะยังไม่มีทีท่าถอยกลับแม้ว่าจะมีการต่อต้านในวงกว้างในการปรับใช้กองทัพมากขึ้นทั่วยูเครน นอกจากนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนยังน่าเป็นห่วง และได้กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงสกุลเงินที่มีความเสี่ยง

GBPUSD ร่วงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1985 ก่อนจะมีการรีบาวด์ขึ้นก่อนการประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ส่วน USDCHF ยังคงแข็งค่าขึ้นเนื่องจาก การตัดสินใจของ SNB เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์

ความกังวลด้านภัยพิบัติส่งผลให้ราคาน้ำมันฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ขณะที่ภาวะถดถอยเป็นปัจจัยลบที่กดดันราคาน้ำมัน

ความเคลื่อนไหวของสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐกดดันราคา BTCUSD และ ETHUSD ก่อนที่ราคาจะดีดขึ้นเล็กน้อย ณ ระดับต่ำสุดในรอบสามและสองเดือนตามลำดับ

  • ⏫ 🟢 สัญญาณซื้อแรง: AUDUSD
  • ⏬ 🔴 สัญญาณขายแรง: ETHUSD
  • ⏫ 🟢 สัญญาณซื้อ: USD Index, USDCAD, Nasdaq, USDJPY
  • ⏬ 🔴 สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, gold, BTCUSD

ดอกเบี้ยยิ่งขึ้น ดอลลาร์ยิ่งแข็ง

ขณะที่ธนาคารกลางส่วนใหญ่เตรียมพร้อมในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ แน่นอนว่าจะต้องเตรียมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นกัน คาดว่าตลาดทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะมองลบต่อเนื่องปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจมีการกลับตัวขึ้นต่อเนื่องและอาจกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินเสี่ยงต่อไป อย่างไรก็แล้วแต่ ตัวเลข PMI สัปดาห์นี้อาจสร้างความคึกคักให้กับนักเทรดได้


ทำกำไรจากความเคลื่อนไหวในตลาดด้วยระบบ Copy Trade ของ MTrading พร้อมเงื่อนไขชั้นนำ:

คัดลอกการเทรดของนักเทรดมือโปรโดยอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ด้วยค่าสเปรด 0 ผ่านบัญชี M.Pro!

ขอให้ท่านโชคดีในการเทรด!