แม้ความเสี่ยงในตลาดจะยังคงมีทิศทางเชิงบวกเล็กน้อย เนื่องจากการคาดการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับ Fed ชี้ว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของจีนที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่สนับสนุนความเชื่อมั่นของตลาดก็คือ การไม่มีข่าวเชิงลบที่ส่งผลต่อความเสี่ยงจากจีนและตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลก่อนการเปิดเผยข้อมูลตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ยุโรป และแคนาดาในวันนี้ ยังคงเป็นปัจจัยที่จำกัดการเคลื่อนไหวของตลาด
ด้วยปัจจัยดังกล่าว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (US Dollar Index) ยังคงถูกกดดัน ในขณะที่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่างสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans และสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คู่เงิน EURUSD ยังคงรักษาโมเมนตัมขาขึ้นหลังการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) แม้จะขาดแรงผลักดันให้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในระหว่างวัน ทว่า คู่เงิน GBPUSD กลับปรับลดลง โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดำเนินการสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดด้วยการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง 0.25% แต่อย่างไรก็ตาม การประกาศนโยบายและการแถลงการณ์ของ Christine Lagarde ประธาน ECB ซึ่งส่งสัญญาณถึงการเลื่อนการปรับลดดอกเบี้ยให้เร็วขึ้นออกไป ยังหนุนให้ยูโรปรับตัวสูงขึ้น
คู่เงิน USDJPY ปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลง และมีแนวโน้มที่จะร่วงลงครั้งแรกในรอบสามสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน คู่เงิน USDCAD ก็พยายามปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน ท่ามกลางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ได้รับแรงหนุนจากข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับจีนและข้อมูล/เหตุการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ค่อนข้างสดใส แต่ก็ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากนักลงทุนในตลาดต่างคาดการณ์ว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม
ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำยังคงอยู่ในเรดาร์ของช่วงแนวโน้มขาขึ้น โดยสามารถยุติการร่วงลงสองสัปดาห์ติดต่อกัน ในทางตรงกันข้าม ราคาน้ำมันดิบชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ แม้ว่าเทรดเดอร์จะยังดูขาดความเชื่อมั่นหลังจากการฟื้นตัวขึ้นสองวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯในวันนี้
แม้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลง รวมถึงมีข่าวดีเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้งานจริง (active users) ในระบบนิเวศของ Ethereum ถึง 50% แต่ดูเหมือน BTCUSD และ ETHUSD จะไม่ตอบรับต่อข่าวดีดังกล่าว โดยอาจมีสาเหตุมาจากสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ (US SEC) ที่ยังมีความลังเลที่จะอนุมัติการเปิดตัว ETH ETF ในเร็วๆนี้
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการจ้างงานและการเติบโตของค่าแรงของสหรัฐฯที่ไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไหร่นัก หรือการยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงอ่อนค่าลงในวันพฤหัสบดี ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยุติการพุ่งสูงขึ้นสองวันติดต่อกัน และมีแนวโน้มปิดตลาดประจำสัปดาห์ด้วยการร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่สอง ซึ่งปัจจัยนี้เองที่ช่วยหนุนให้ยูโรปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากโอกาสที่ ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตนั้นลดลง ในขณะที่ค่าเงินปอนด์ไม่ได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ สภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงและปัจจัยเชิงบวกที่เกี่ยวกับจีน ยังช่วยหนุนให้สินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ BTCUSD และ ETHUSD เผชิญกับปัจจัยทั้งบวกและลบผสมกัน แม้ว่าทั้ง BTCUSD และ ETHUSD จะมีแนวโน้มปิดตลาดประจำสัปดาห์ด้วยการพุ่งสูงขึ้นก็ตาม
ในช่วงต้นวัน ตัวเลขดุลการค้าของจีนประจำเดือนพฤษภาคม แสดงให้เห็นถึงการขาดดุลการค้าที่ลดลง ทั้งในสกุลหยวน (CNY) และดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ในขณะเดียวกัน ดัชนีชี้พ้อง (Coincident Indicator) และดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ (Leading Economic Index) ของญี่ปุ่นประจำเดือนเมษายนกลับมีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง แม้ข้อมูลเศรษฐกิจจะมีความผันผวน แต่โอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ตามด้วยการปรับลดอีกสองครั้งในปี 2024 ที่เพิ่มขึ้นล่าสุด ยังช่วยหนุนให้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดเป็นไปในทิศทางบวก และผลักดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ปรับตัวสูงขึ้น
ด้วยปัจจัยดังกล่าว คาดว่าคู่เงิน EURUSD น่าจะปิดตลาดเป็นขาขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน ขณะที่ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรปส่วนใหญ่ต่างปฏิเสธแนวคิดที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ่อยครั้ง ในทางกลับกัน คู่เงิน GBPUSD กำลังมุ่งหน้าสู่การพุ่งสูงขึ้นสี่สัปดาห์ติดต่อกัน แม้ว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางออสเตรเลียจะแสดงความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังมีแนวโน้มที่จะยังอยู่ในช่วงขาขึ้นสองสัปดาห์ แม้ว่าจะยังคงซบเซาในวันเดียวกันก็ตาม
โดยความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้น ข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่มีทิศทางที่ดี และความคิดเห็นที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Andrew Hauser รองผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้คู่เงิน AUDUSD สามารถรักษาโมเมนตัมขาขึ้นจากวันก่อนหน้าได้ และมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สอง เช่นเดียวกันกับคู่เงิน NZDUSD ที่ยังคงขยับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่เอื้อต่อการลงทุนและยอดขายภาคการผลิตไตรมาส 1 ที่แข็งแกร่ง น่าสังเกตว่า แม้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans จะอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถดึงดูดความสนใจของเทรดเดอร์คู่เงิน USDCAD ได้ เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) และยังมีความกังวลก่อนการรายงานข้อมูลตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯและแคนาดาที่จะประกาศในวันนี้
ทั้งนี้ ราคาทองคำมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 3 สัปดาห์ ขณะที่ราคาเคลื่อนตัวเข้าใกล้อุปสรรคที่ระดับ $2,400 ก่อนการเปิดเผยรายงานตัวเลขการจ้างงานที่สำคัญของสหรัฐฯ โดยอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นนี้อาจเกี่ยวข้องกับการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ความเชื่อมั่นของตลาดที่มีต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง และความคาดหวังเชิงบวกอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบก็มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน โดยเพิกเฉยต่อข้อมูลปริมาณสำรองน้ำมันรายสัปดาห์ที่ลดลง อีกทั้งยังปรับตัวตามการตัดสินใจของกลุ่ม OPEC+ ที่ขยายกรอบการลดกำลังการผลิตต่อไป
นอกเหนือไปจากข้อมูลการจ้างงานของยุโรป แคนาดา และสหรัฐฯแล้ว แถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) Christine Lagarde ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องติดตามเช่นกัน นอกจากนี้ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ปี 2024 ของสหภาพยุโรปที่มีกำหนดการเผยแพร่ในปฏิทินเศรษฐกิจ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นความสนใจของเหล่าเทรดเดอร์อีกด้วย
สำหรับรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ตัวเลขที่คาดการณ์ไว้สำหรับการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) มีปรับตัวที่ดีขึ้นจาก 175K เป็น 185K อีกทั้ง คาดว่าตัวเลขค่าเฉลี่ยรายได้ต่อชั่วโมงจะเพิ่มขึ้นเป็น 0.3% จาก 0.2% ซึ่งอาจช่วยหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ได้ ในกรณีที่มีผลลัพธ์ออกมาในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม หากตัวเลขออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ จะยิ่งส่งเสริมแนวโน้มที่ว่า Fed จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินและอาจผลักดันให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์นับตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน EURUSD อาจจะเผชิญกับการดึงกลับ ในกรณีที่ตัวเลขการจ้างงานและตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปมีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง รวมถึงหากประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไม่สามารถคงความเข้มงวดของนโยบายทางการเงินได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดวันนี้ น่าจะเป็นตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯมากกว่า
ส่วนทางด้าน คู่เงิน USDCAD มีแนวโน้มที่จะชะลอการพุ่งสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาปรับตัวสูงขึ้น แต่ตัวเลขการจ้างงานของแคนาดาที่ปรับลดลงและการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางแคนาดา (BoC) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ล้วนส่งผลดีต่อแรงเทซื้อคู่เงิน Loonie เว้นแต่ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !