ตลาดการเงินโลกวันนี้ แม้จะมีบรรยากาศการซื้อขายที่ค่อนข้างสดใสสำหรับนักลงทุนที่พร้อมรับความเสี่ยง แต่ก็ดูจะยังไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรมากนัก ก่อนการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อสำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีนี้ แม้ว่าความกังวลใหม่เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะยังคงสร้างแรงกดดันให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงก่อนที่จะมีการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (headline CPI)
ในขณะการแถลงนโยบายการเงินของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) Jerome Powell อาจถูกมองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯร่วงลงล่าสุด คู่เงิน EURUSD กลับได้รับแรงหนุนจากความคิดเห็นที่มีแนวโน้มสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวน ด้วยปัจจัยเหล่านี้ คู่เงินยูโรจึงไม่ตอบสนองต่อความกังวลทางการเมืองในบ้าน นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่ส่วนใหญ่มีทิศทางเป็นบวกและความเชื่อมั่นทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นจากชัยชนะของพรรคแรงงานยังหนุนให้คู่เงิน GBPUSD พุ่งทะยานแตะจุดสูงสุดใหม่ในรอบเดือนอีกด้วย
โดยคู่เงิน USDJPY และคู่เงิน NZDUSD เคลื่อนไหวสวนทางกับตลาด ท่ามกลางความกังวลในหลากหลายประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินการของธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางนิวซีแลนด์ รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศที่ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ในขณะที่ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน USDCAD ได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงและข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นสูงสุดจากตัวเลขปริมาณคงคลังและการคาดการณ์เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทาน ส่วนทางด้านราคาทองคำได้รับประโยชน์จากสถานะสินทรัพย์ปลอดภัย
ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD ยุติการปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันสามวัน สืบเนื่องมาจากมีการโอนเงินของรัฐบาลเยอรมนีและ Mt. Gox อย่างไรก็ตาม ETHUSD กลับพุ่งสูงขึ้นตอบรับความคิดเห็นของ Rostin Behnam ประธานคณะกรรมาธิการการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐฯ (CFTC) ที่ปฏิเสธการจัดประเภท BTCUSD และ ETHUSD ให้เป็นหลักทรัพย์ โดยระบุให้เป็น “สินค้าโภคภัณฑ์ดิจิทัล” แทน โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ข้อมูล on-chain (ข้อมูลที่อยู่ในบล็อกเชน) ยังชี้ให้เห็นว่าการสะสม Bitcoin ชะลอตัวลง ซึ่งช่วยให้ราคา BTCUSD ชะลอการร่วงลงก่อนหน้าในช่วงต้นวันพฤหัสบดี
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ในรอบที่สองของการแถลงนโยบายการเงินประจำทุกสองปี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ Jerome Powell ได้ย้ำถึงความหวังที่จะเห็นอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงและเปิดทางให้มีโอกาสในการปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี 2024 โดยเขายังกล่าวอีกว่า “Fed ไม่ต้องการรอจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงจนถึง 2% เพื่อผ่อนคลายนโยบายการเงิน”
หลังจากการแถลงนโยบายการเงินของ Powell Nick Timiraos จาก Wall Street Journal ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางสหรัฐฯและกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ดอลลาร์สหรัฐฯอาจเข้าสู่ช่วงแนวโน้มขาลง ซึ่งช่วยให้ตลาดหุ้น Wall Street ยังคงมีทิศทางเป็นบวก โดย Timiraos จาก WSJ ยังระบุว่า “เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกและเศรษฐกิจยังคงแสดงตัวเลขการเติบโตที่แข็งแกร่ง การคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำก็อาจจะไม่สมเหตุสมผล แต่เมื่อ Powell กลับมาที่ Capitol Hill ในสัปดาห์นี้ เขากลับเริ่มวางรากฐานสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยบนปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งขึ้น”
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ Lisa D. Cook ยังคงสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดโดยแสดงความหวังถึงสภาวะการลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ Cook ยังกล่าวว่าเธอ 'ให้ความสนใจอย่างมาก' ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับอัตราการว่างงาน และพร้อมที่จะดำเนินการเพื่อรับมือ หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
หลังจากการแถลงนโยบายของ Powell ดอลลาร์สหรัฐฯประสบกับการปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบสามวัน ในขณะที่ดัชนีสำคัญใน Wall Street พุ่งสูงขึ้น ปัจจัยเดียวกันนี้ยังช่วยให้คู่เงิน EURUSD พลิกกลับการร่วงลงในวันอังคารและพุ่งสูงขึ้นใหม่สู่ระดับสูงสุดในรอบเดือนที่ประมาณช่วงกลางๆ 1.0800s
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ในเดือนกรกฎาคม โดยแตะจุดสูงสุดในรอบเดือนในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นผลมาจากแถลงการณ์ที่มีท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกอบกับดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงและบรรยากาศทางการเมืองในสหราชอาณาจักรที่ดีขึ้น ถึงกระนั้น Huw Pill หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางอังกฤษ ยังคงกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของอัตราค่าจ้างในสหราชอาณาจักร ขณะที่เขากล่าวเสริมว่า “ภาคบริการและค่าจ้างยังคงบ่งชี้ว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินไป” โดยข้อมูลเศรษฐกิจรายเดือนของสหราชอาณาจักรมีการรายงานในหลากหลายทิศทาง โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำเดือนพฤษภาคมมีการเติบโตที่ดีขึ้น ในขณะที่ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการผลิตภาคการผลิตยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในเดือนดังกล่าว
ทางด้านคู่เงิน USDJPY กลับเคลื่อนไหวสวนทางกับตลาด ขณะที่พยายามรักษาระดับแรงเทซื้อแม้จะขาดแรงผลักดันขาขึ้นอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ ความแข็งแกร่งของคู่เงินเยนอาจเป็นผลมาจากความกังวลในตลาดพันธบัตรของญี่ปุ่นและข้อมูลเศรษฐกิจที่ปรับตัวลงจากกรุงโตเกียว ในช่วงต้นวัน รายงานคำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่น (Core Machinery Orders) ลดลง -3.2% MoM ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 0.8% ในขณะเดียวกัน คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงอย่างหนักโดยไม่สามารถปรับตัวสอดคล้องกับดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงได้ ท่ามกลางการยุตินโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อย่างไรก็ตาม คู่เงินกีวีฟื้นตัวขึ้นในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดี ขณะที่ ดัชนีราคาอาหารของนิวซีแลนด์ (Food Price Index) ประจำเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 1.0% MoM เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้าที่ -0.2%
นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงร่วมกับธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ส่งสัญญาณที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นครั้งใหม่ หลังจากที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในออสเตรเลียส่วนใหญ่ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคของออสเตรเลียในเดือนกรกฎาคมลดลงเหลือ 4.3% YoY เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 4.4%
อีกทางด้านหนึ่ง แรงเทขายคู่เงิน USDCAD ได้เปรียบสองเท่าจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ขณะที่คู่เงิน USDCAD ทดสอบเส้นแนวรับขาขึ้นอายุ 6.5 เดือน อย่างไรก็ตาม การดีดตัวขึ้นก่อนการรายงานข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอีกครั้งยังกระตุ้นแรงเทขายคู่เงิน USDCAD ในภายหลังอีกด้วย
นอกจากนั้น ราคาน้ำมันดิบ WTI ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากจุดต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ในวันก่อนหน้า และยังปิดตลาดด้วยการพุ่งขึ้นต่อวันสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม โดยปัจจัยที่สนับสนุนการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบ ได้แก่ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบสหรัฐฯประจำสัปดาห์ที่ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับ OPEC มีการคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันจะยังคงที่ นอกจากนี้ ข่าวสารที่บ่งชี้ว่า รัสเซียและ OPEC ลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบในเดือนมิถุนายนลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ยังช่วยหนุนราคาน้ำมันให้ขยับตัวสูงขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ ราคาทองคำพลิกกลับมาพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3 วันติดต่อกัน โดยพลิกกลับจากการร่วงลงในช่วงต้นสัปดาห์ เป็นผลมาจากตลาดที่ซบเซา การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลงที่ส่งผลให้นักลงทุนเทเงินเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
ขณะที่ ปฏิทินเศรษฐกิจค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากยังไม่มีการรายงานข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากนอกสหรัฐฯ ยกเว้นตัวเลขประมาณการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ของสหราชอาณาจักร (NIESR) เป็นระยะเวลาสามเดือนจนถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งส่งผลให้ตลาดน่าจะยังคงซบเซา ไปจนกว่าตลาดฝั่งอเมริกาเหนือจะเปิดทำการ
แม้ว่าตัวเลขการคาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) จะลดลงจาก 3.4% มาอยู่ที่ 3.1% YoY แต่ตัวเลขรายเดือนที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.1% ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 0.0% ในเดือนก่อนหน้า อาจช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ อีกทั้ง คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ 0.2% MoM และ 3.4% YoY นอกจากนี้ จำนวนผู้ขอรับสิทธิ์การว่างงานซึ่งคาดว่าจะปรับลดลง อาจช่วยหยุดแรงเทขายดอลลาร์สหรัฐฯได้อีกด้วย
สรุปภาพรวม ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่แรงเทซื้อยังคงต้องการข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งและสภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น เพื่อชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ก่อนหน้า
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !