ตลาดมีแนวโน้มผันผวนในช่วงเช้าวันอังคารนี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลก่อนการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญและช่วงวันหยุดยาวของจีน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนได้แก่ สัญญาณที่หลากหลายจากสหรัฐฯ รวมถึงการที่ตลาดหุ้นชะลอตัวลงหลังจากที่เคยปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้จะมีการรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯในวันนี้ แต่ที่น่าสังเกตก็คือ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯต่างปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯจะถูกเลื่อนออกไป ไม่ว่าตัวเลขดัชนี CPI จะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม
ถึงกระนั้น ความคิดเห็นเชิงบวกอย่างระมัดระวังจากผู้กำหนดนโยบายธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้กระตุ้นแรงเทขายคู่เงิน EURUSD ก่อนการรายงานตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ของยูโรโซนเป็นครั้งแรกในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม คู่เงิน GBPUSD ขยายการฟื้นตัวจากช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางรายงานการจ้างงานในสหราชอาณาจักรที่สดใส
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน NZDUSD ยังคงซบเซาท่ามกลางความหวังเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ที่ลดลง ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 สัปดาห์ ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มสูงขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)
ในขณะเดียวกัน ราคาทองคำดีดตัวสูงขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยปรับตัวขึ้นจากการร่วงลงติดต่อกันสี่วัน ขณะที่ ราคาน้ำมันดิบยังคงแข็งค่าขึ้นท่ามกลางความกังวลด้านอุปทานที่ขาดแคลน
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยังขาดโมเมนตัมขาขึ้น เนื่องจากนักลงทุนกำลังรอสัญญาณใหม่เพื่อยืนยันแนวโน้มขาขึ้นและขยายการพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD ยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 แต่ ETHUSD กลับถอยจากระดับสูงสุดในหนึ่งเดือน
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
เมื่อวันจันทร์ ดอลลาร์สหรัฐฯเพิกเฉยต่อข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ถดถอยลงแม้จะมีความหวังจากนักลงทุนหุ้นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะถูกเลื่อนออกไป อย่างไรก็ตาม การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐฯในเดือนมกราคมอยู่ที่ 22.0 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 21.0 พันล้านดอลลาร์ และตัวเลข 129.0 พันล้านดอลลาร์ในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ ข้อมูลการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อรายเดือนจากธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งนิวยอร์กเผยให้เห็นถึงแรงกดดันด้านราคาที่ผ่อนคลายลง โดยตัวเลขคาดการณ์ 3 ปีอยู่ที่ 2.4% จากการรายงานก่อนหน้าที่ 2.6% ทั้งนี้ ตัวเลขคาดการณ์ 1 ปี และ 5 ปี อยู่ที่ 3.0% และ 2.5% ตามลำดับ
ในทางกลับกัน ความคิดเห็นของ Michelle Bowman ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ออกมาปกป้องนโยบายการเงินที่เข้มงวด ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม Bowman ได้กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ยังเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์ว่า Fed จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใดและเท่าใด
และเป็นที่น่าสังเกตว่า ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ยังส่งผลต่อความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากข่าวที่ว่ากลุ่มติดอาวุธฮูตียิงขีปนาวุธสองลูกจากเยเมนและอาจสร้างความเสียหายเล็กน้อยให้กับเรือสองลำที่ขนส่งอาหารไปยังอิหร่านได้ท้าทายความเชื่อมั่นในช่วงแรกของตลาด และเป็นผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นจากสถานะสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะเดียวกัน มีการอัปเดตจากสหภาพยุโรป (EU) เกี่ยวกับข้อจำกัดทางการค้าใหม่สำหรับบริษัทจีนบางแห่งที่ถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือรัสเซียในการทำสงครามกับยูเครน
ในเวลาเดียวกัน Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก็ออกมาสนับสนุนธนาคารกลางรายสำคัญทั่วโลกในการชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ โดย Georgieva คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงกลางปี
แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะยังคงแข็งค่าขึ้น โดยคู่เงิน EURUSD ยังขาดโมเมนตัมขาลงเนื่องจากเจ้าหน้าที่ ECB Cipollone และ Wunsch มีความลังเลที่จะสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย สถานการณ์เดียวกันนี้เกิดขึ้นกับคู่เงิน GBPUSD ที่ Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและความจำเป็นในการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไว้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ตัวเลขการจ้างงานล่าสุดของสหราชอาณาจักรที่น่าประทับใจยังช่วยให้คู่เงิน Cable พุ่งสูงขึ้นอีกด้วย
ในอีกทางหนึ่ง ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของญี่ปุ่นประจำเดือนมกราคมที่ปรับลดลงส่งผลให้นักลงทุนในตลาดเสริมความเชื่อมั่นในแนวโน้มเดิมที่สนับสนุนการยุติการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เร็วขึ้น ซึ่งส่งผลให้คู่เงิน USDJPY พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบหลายเดือน นอกจากนี้ ตัวเลขการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของนิวซีแลนด์ที่ลดลงยังส่งผลให้ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ลดแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อคู่เงิน NZDUSD ในขณะที่ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวออสเตรเลียที่อ่อนแอลงประกอบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นยังทดสอบการฟื้นตัวของคู่เงิน AUDUSD ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ราคาทองคำแกว่งตัวอยู่บริเวณแนวรับสำคัญ ขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในทะเลแดงประกอบกับความพร้อมของซาอุดีอาระเบียที่จะปรับเปลี่ยนการส่งออกพลังงานได้ส่งผลดีต่อแรงเทซื้อน้ำมันดิบ
ทางฝั่งของ BTCUSD พุ่งแตะจุดสูงสุดในรอบหลายเดือน โดยขยายการฟื้นตัวหลังจากได้รับการอนุมัติ Bitcoin spot ETF ส่วนทางด้าน ETHUSD ปรับตัวลดลงหลังจากการฟื้นตัวล่าสุด ขณะที่ นักลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีต้องการสัญญาณเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวล่าสุดของ BTCUSD และ ETHUSD
หลังจากที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าประทับใจนักในการแก้ไขข้อมูลอัตราเงินเฟ้อประจำปี 2023 การรายงานตัวเลขค่าดัชนี CPI ของสหรัฐฯในวันนี้จะถูกจับตามองเพื่อหาสัญญาณที่เป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปี 2024 อย่างไรก็ตาม พาดหัวข่าวที่เกี่ยวข้องกับรายงานตัวเลขค่าดัชนี CPI ของสหรัฐฯมีการคาดการณ์ว่าจะมีตัวเลขอยู่ที่ 0.2% MoM อีกครั้ง แต่อาจปรับลดลงไปที่ 2.9% YoY เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้าที่ตัวเลข 3.2% นอกจากนี้ ตัวเลขค่าดัชนี CPI ไม่รวมอาหารและพลังงาน หรือที่เรียกว่า Core CPI มีแนวโน้มที่จะมีตัวเลขอยู่ที่ 0.3% MoM อีกครั้ง ในขณะที่ อาจลดลงเหลือ 3.7% YoY จาก 3.9% เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลง อาจได้เห็นการถอยกลับของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯยังคงไม่ชัดเจนท่ามกลางความกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ทั้งนี้ ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯในวันนี้จึงมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของตลาดในระหว่างวัน แต่อาจไม่ส่งผลต่อสภาวะตลาดโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญมากนัก เว้นแต่จะมีการประกาศตัวเลขที่เกินความคาดหมายอย่างมาก
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !