ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-04-26

EURUSD แกว่งตัวที่ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ขณะการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่สำคัญของ Fed

EURUSD แกว่งตัวที่ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ขณะการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่สำคัญของ Fed

ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงมีทิศทางค่อนข้างเป็นบวกในช่วงต้นวันศุกร์ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯปรับลดลงและการยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ร่วมกับรายงานผลประกอบการที่ดีของบริษัท Alphabet และ Microsoft นอกจากนี้ การที่ไม่มีความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน ขณะการเดินทางเยือนจีนของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ Antony Blinken ก็อาจช่วยหนุนการพร้อมรับความเสี่ยงในตลาดที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้วยปัจจัยดังกล่าว ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงได้รับแรงกดดันตลอดทั้งสัปดาห์ แม้จะมีการฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงล่าสุด ขณะที่สกุลเงินหลักอื่นๆและสินค้าโภคภัณฑ์ ยกเว้นทองคำ ต่างปรับตัวสูงขึ้น สำหรับคู่เงิน EURUSD มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน ส่วนทางด้าน คู่เงิน GBPUSD ก็มีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี และยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ต่างยุติการร่วงลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD มีแนวโน้มที่จะร่วงลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์ ซึ่งเป็นครั้งที่สองติดต่อกันนับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2023

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังคงแข็งแกร่ง แต่ราคาทองคำกลับอ่อนตัวลงหลังแตะระดับสูงสุด 5 สัปดาห์ติดต่อกัน เนื่องจากตลาดเตรียมพร้อมรับการรายงานตัวเลขดัชนีราคา PCE พื้นฐาน (Core PCE Price Index) ของสหรัฐฯในวันนี้ และการประชุมคณะกรรมการการตลาดเสรีกลาง (FOMC) ในสัปดาห์หน้า

ทางด้านหุ้นยังคงมีทิศทางเป็นบวกเล็กน้อย แม้ว่าตลาดหุ้นวอลล์สตรีทจะปิดตัวลงในแดนลบ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯกลับขยับตัวสูงขึ้น

ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD ยังขาดทิศทางที่ชัดเจน ในขณะที่ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลงสี่สัปดาห์ เนื่องจากสำนักงาน ก.ล.ต. ของสหรัฐฯได้ท้าทายความเชื่อมั่นในตลาดสกุลเงินดิจิทัล

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) ขยายการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าเป็น $89.15 โดยเพิ่มขึ้น 0.20% ระหว่างวัน
  • ทองคำ (Gold) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ $2,340 ในช่วงที่พุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสองวัน
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) มีแนวโน้มร่วงลงครั้งแรกในรอบสามสัปดาห์ แม้ว่าล่าสุดจะผันผวนที่ระดับ 105.60 ก็ตาม
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดลบเล็กน้อย แต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้นขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงระหว่างวันเล็กน้อยที่ประมาณ $64,500 และ $3,150 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯเตรียมพร้อมรับการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของ Fed และการประชุม FOMC….

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้าหลังจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ของสหรัฐฯถดถอยลง ในสถานการณ์เดียวกันนี้ แม้ว่าดัชนีราคา GDP จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งบ่งชี้ถึงแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ แต่ ตัวชี้วัดดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลกลับไม่ได้รับแรงหนุน อีกทั้ง การทรงตัวของตลาดก่อนมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญ ยังช่วยให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวเล็กน้อยในช่วงเช้าของวันศุกร์

โดยการรายงานครั้งแรกของการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 2024 ของสหรัฐอเมริกามีตัวเลขอยู่ที่ 1.6% เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 2.5% และการรายงานก่อนหน้าที่ 3.4% ในขณะที่ดัชนีราคา GDP เพิ่มขึ้น 3.1% ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อเทียบกับการรายงานครั้งก่อนที่ 1.7% ทั้งนี้ จำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นของสหรัฐฯลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 9 สัปดาห์ ขณะที่ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแคนซัสร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน นอกจากนี้ ยอดขายบ้านที่รอดำเนินการในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2024 โดยมีการรายงานการเติบโตที่ 3.4% MoM ในเดือนมีนาคม แม้ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯจะมีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง แต่ความเห็นเชิงบวกจาก Janet Yellen รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯก็ยังช่วยพยุงไม่ให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง หลังจากที่ร่วงลงอย่างหนักไปก่อนหน้านี้ โดย Yellen กล่าวในวันพฤหัสบดีว่า "เศรษฐกิจสหรัฐฯแสดงถึงสัญญาณการเติบโตที่แข็งแกร่ง และเดินหน้าไปได้ด้วยดีในทุกภาคส่วน" พร้อมทั้งเสริมว่า ข้อมูล GDP อาจมีการปรับแก้ไขในภายหลัง

แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ตกต่ำลงจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ความเชื่อมั่นที่สั่นคลอนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทและผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้นก็ยังช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทางด้านหนึ่ง ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดตลาดด้วยตัวเลขติดลบเนื่องจากผลประกอบการที่ไม่ดีนักของบริษัท Meta ที่ประกาศออกมาล่าสุด ขณะที่ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯปรับตัวดีขึ้นเมื่อต้นวันศุกร์ท่ามกลางผลประกอบการที่แข็งแกร่งของ Alphabet และ Microsoft ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

แม้ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลงจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ แต่ค่าเงินยูโรกลับแข็งค่าขึ้น สะท้อนถึงความคาดหวังเชิงบวกที่ระมัดระวังในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป โดยปัจจัยที่หนุนให้คู่เงิน EURUSD ฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ อาจสืบเนื่องมาจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นล่าสุดจาก "ทวีปเก่า (Old Continent)" และท่าทีที่แข็งกร้าวของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการดำเนินนโยบายการเงิน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาปกครอง ECB Fabio Panetta กล่าวว่าพวกเขาอาจจะต้องชั่งน้ำหนักความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดเกินไป อย่างไรก็ตาม Isabel Schnabel สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ ECB ระบุว่าพวกเขาอาจเผชิญกับความยากลำบากจากภาวะเงินเฟ้อที่ปรับลดลง

นอกจากนั้น คู่เงิน GBPUSD มีการปรับตัวตามคู่เงิน EURUSD ในขณะที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความคิดเห็นของผู้กำหนดนโยบายที่ชี้ให้เห็นถึงความล่าช้าในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) โดยปัจจัยที่สนับสนุนการพุ่งสูงขึ้นของคู่เงิน Cable ก็คือการปรับปรุงความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ GfK ของสหราชอาณาจักรเป็น -19.0 สำหรับเดือนเมษายน เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ -20.0 และการรายงานก่อนหน้าที่ -21

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY เพิ่มขึ้น 70 pip แตะระดับสูงสุดในรอบ 34 ปีเหนือระดับราคาที่ราวๆ 156.00 จากการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย อีกทั้ง BoJ ยังคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไว้ไม่เปลี่ยนแปลงและแสดงความพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตตามที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ของ BoJ ละเว้นการกล่าวถึงการซื้อพันธบัตรที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการพลิกผันของธนาคารกลางญี่ปุ่น นอกเหนือไปจากสัญญาณจาก BoJ แล้ว อัตราเงินเฟ้อของโตเกียวที่ปรับลดลงในเดือนเมษายนยังเป็นปัจจัยหนุนให้คู่เงินเยนพุ่งสูงขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบหลายปี

ทั้งนี้ คู่เงิน AUDUSD มุ่งสู่การปิดสัปดาห์ด้วยการพุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย ซึ่งเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) สามารถยืนกรานจุดยืนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของตนต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจหลักในภูมิภาคแปซิฟิกมีการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ไตรมาส 1 ปี 2024 ที่แข็งแกร่ง ก่อนหน้าการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สำหรับไตรมาสเดียวกันที่ปรับตัวสูงขึ้นในวันศุกร์

นอกเหนือไปจากสัญญาณบวกด้านเงินเฟ้อของออสเตรเลียแล้ว หัวข้อข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับจีน ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ยังหนุนให้คู่เงิน AUDUSD พุ่งสูงขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ ความคิดเห็นจากการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน Wang Yi กับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ Antony Blinken ยังมีทิศทางเชิงบวกและส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของตลาดอีกด้วย ในวันพฤหัสบดี รัฐมนตรีต่างประเทศจีน กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนมีความมั่นคง แต่ยังมีปัจจัยเชิงลบที่กำลังก่อตัวขึ้น” ในทางตรงกันข้าม Antony Blinken รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯได้ออกมากล่าวว่า เขาหวังว่าสหรัฐอเมริกาและจีนจะสามารถบรรลุความคืบหน้าในข้อตกลงต่างๆ โดยอ้างถึงเฟนทานิล ความสัมพันธ์ทางทหารต่อทหาร และความเสี่ยงจากปัญญาประดิษฐ์ ในอีกทางหนึ่ง สำนักข่าว Financial Times (FT) รายงานว่า สหรัฐฯกำลังกระตุ้นให้พันธมิตรในยุโรปและเอเชียเพิ่มการควบคุมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชิปในจีน ซึ่งอาจส่งผลต่อการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาดก่อนการรายงานข้อมูลสำคัญของสหรัฐฯและอาจกระตุ้นช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน AUDUSD ได้

ในขณะเดียวกัน คู่เงิน NZDUSD ยังได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ที่มีทิศทางเป็นบวกและความเชื่อมั่นที่ดีของจีน รวมไปถึงการดึงกลับของเงินดอลลาร์สหรัฐฯเนื่องจากตัวเลข GDP ของสหรัฐฯที่อ่อนตัวลง

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDCAD ร่วงลงรายสัปดาห์ที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2023 สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ประกอบกับการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯและท่าทีที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา (BoC) Tiff Macklem

ราคาน้ำมันดิบยังคงแข็งแกร่งที่ระดับสูงสุดของสัปดาห์ เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่ปรับลดลงอย่างมาก และความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันดิบเนื่องจากความไม่สงบในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังมีแนวโน้มปิดสัปดาห์ด้วยการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์

อีกทางหนึ่ง ราคาทองคำไม่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเตรียมพร้อมสำหรับการร่วงลงครั้งแรกในรอบหกสัปดาห์ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯยังคงปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในการประชุม FOMC ของสัปดาห์หน้า

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

ดัชนีราคา PCE พื้นฐานของสหรัฐฯจะช่วยกำหนดการดำเนินการของ Fed...

หลังจากที่ได้เห็นความผันผวนของตลาดที่เกิดจากการแทรกแซงของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในช่วงต้นวันศุกร์ เทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรดน่าจะรู้สึกเบื่อหน่ายในช่วงการซื้อขายของตลาดยุโรป เนื่องจากการขาดการรายงานข้อมูลหรือกิจกรรมสำคัญทางเศรษฐกิจ ยกเว้นการแถลงการณ์จากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) และเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างไรก็ตาม ช่วงท้ายของวันนี้จะเป็นช่วงที่น่าสนใจ เนื่องจากดัชนีราคา PCE พื้นฐานของสหรัฐฯ (US Core PCE Price Index) จะแสดงภาพความกดดันด้านราคาในเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก และจะช่วยให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ตัดสินใจในการประชุม FOMC ครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า เมื่อพิจารณาถึงท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐฯ หากตัวเลขเงินเฟ้อที่คาดว่าจะปรับตัวลงไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ ก็อาจส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯสามารถชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์และท้าทายการฟื้นตัวล่าสุดของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ อย่างไรก็ตาม การปรับลดลงของตัวเลขอัตราเงินเฟ้อจะช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯเตรียมรับมือกับการยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯได้ดียิ่งขึ้น

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !