อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แข็งแกร่งนั้นส่งผลกระทบต่อสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยง ขณะที่นักลงทุนในตลาดกำลังรอคอยการรายงานข้อมูลและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี ส่งผลให้เทรดเดอร์ยังคงถือครองดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ซึ่งส่งผลกระทบต่อสกุลเงินหลักอื่นๆ และสินค้าโภคภัณฑ์
โดยดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) กำลังมุ่งหน้าสู่การปิดสัปดาห์ด้วยการขยับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สอง หลังจากที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบเดือน ปัจจัยเดียวกันนี้ยังส่งผลให้คู่เงิน EURUSD ปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน และคู่เงิน GBPUSD อาจจะไม่สามารถรักษาแนวโน้มขาขึ้นที่เกิดขึ้นติดต่อกันสองสัปดาห์ได้ ในทางกลับกัน คู่เงิน USDJPY ชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินการต่อไปของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)
คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ไม่ตอบสนองต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน โดยร่วงลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน และมีแนวโน้มปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่สอง ส่วนทางด้านคู่เงิน USDCAD พุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสามวัน ขณะที่ขยายการปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ก่อนหน้า แม้ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มที่จะปิดสัปดาห์ด้วยการดีดตัวสูงขึ้น แต่ก็ยังคงปรับลดลงในช่วง 2 วันที่ผ่านมา
อีกทางด้านหนึ่ง ราคาทองคำยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากที่แนวโน้มขาขึ้น 3 วันหยุดลงในวันก่อนหน้า ขณะที่ ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าธนาคารกลางชั้นนำอื่นๆ
ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ขณะที่เตรียมปิดสัปดาห์ด้วยการร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ แม้ว่าเทรดเดอร์สกุลเงินดิจิทัลยังคงมองโลกในแง่ดี หลังจากที่มีการอนุมัติ spot ETH ETF โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลบนเครือข่ายบล็อคเชนนั้นแสดงให้เห็นว่า ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของตลาด Bitcoin อาจจะยังคงดำเนินต่อไป
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ( Fed) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ประกอบกับการชะลอตัวของตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นและความกังวลด้านปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ล้วนส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นในวันก่อนหน้า อีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังเป็นข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีทิศทางดีขึ้นอย่าง ดัชนีภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการรายงานที่มีออกมาในหลากหลายทิศทางจากรายงาน Beige Book ของ Fed ซึ่งบ่งบอกถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในระดับปานกลางและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสภาวะเงินเฟ้อนั้นยังไม่สามารถจำกัดช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯได้
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา บรรยากาศการซื้อขายค่อนข้างมีความระมัดระวังก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญในวันนี้อย่างตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของสหรัฐฯ จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) รวมถึงดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ของสหรัฐฯในวันศุกร์ ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงแข็งค่าขึ้น
ในอีกทางหนึ่ง สัญญาณเงินเฟ้อที่ลดลงเล็กน้อยจากเยอรมนี ตรงกันข้ามกับความเชื่อมั่นผู้บริโภค GfK ที่ปรับตัวสูงขึ้นในประเทศได้ส่งผลกระทบต่อเทรดเดอร์เงินยูโร อย่างไรก็ตาม การยืนยันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน และข้อกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของยูโรโซนเมื่อเทียบกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ยังเป็นผลให้คู่เงิน EURUSD มีโอกาสที่จะร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่สอง
ทางฝั่งของคู่เงิน GBPUSD ได้รับผลกระทบจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น สวนทางกับท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่รอการแถลงการณ์จากผู้ว่าการ BoE Andrew Bailey
นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายของญี่ปุ่นยังคงแสดงความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินและประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) อีกครั้งหากมีความจำเป็น อย่างไรก็ตาม นักลงทุนบางส่วนยังคงไม่มั่นใจในแนวโน้มนี้ ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นและสัญญาณเงินเฟ้อที่ผันผวนจากประเทศเศรษฐกิจหลักในเอเชีย ส่งผลให้คู่เงิน USDJPY ยังคงแข็งแกร่ง แม้จะชะลอตัวจากการพุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสองวันเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ความพยายามของจีนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ความกังวลจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่อนคลายลง และการยกเลิกการคว่ำบาตรออสเตรเลียก่อนหน้านี้บางส่วน กลับไม่สามารถดึงดูดแรงเทซื้อคู่เงิน AUDUSD ได้ ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงและแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) โดยปัจจัยนี้ยังสร้างแรงกดดันด้านลบให้กับราคาคู่เงิน NZDUSD ก่อนการแถลงการณ์ของผู้ว่าการ RBNZ Adrian Orr อีกด้วย นอกเหนือไปจากความเชื่อมั่นที่มีทิศทางเชิงลบรอบด้านสำหรับสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans แล้ว ราคาน้ำมันที่ตกต่ำ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดา และความคาดหวังที่จะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ยังเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนราคาคู่เงิน USDCAD ด้วยเช่นกัน
แม้สถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา (API) จะรายงานว่าปริมาณคงคลังน้ำมันดิบสหรัฐฯลดลงอย่างมากในสัปดาห์นี้ แต่ราคาน้ำมันดิบกลับร่วงลง สาเหตุอาจมาจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น และการที่บรรดาเทรดเดอร์สายพลังงานกำลังเตรียมตัวสำหรับการประชุมของกลุ่ม OPEC+ ในวันอาทิตย์นี้ ซึ่งคาดว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบระดับโลกจะขยายข้อตกลงการลดกำลังการผลิตน้ำมันออกไปอีก
นอกจากนี้ การแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในจีน ล้วนสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาทองคำและตลาดหุ้น รวมไปถึงสกุลเงินดิจิทัล แม้จะมีความคาดหวังเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะลดลงในอนาคตช่วยพยุงราคาไว้บ้างก็ตาม
แม้ว่าดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จะขยับสูงขึ้นเหนือระดับ 105.00 และเตรียมพร้อมพุ่งสูงขึ้นในรอบสัปดาห์อีกครั้ง แต่นักลงทุนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯควรรอการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่มีกำหนดการเผยแพร่ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้ก่อนที่จะเข้าสู่สถานะการซื้อขายขนาดใหญ่
ในบรรดาข้อมูลที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯจะดึงดูดความสนใจเป็นอย่างมากในวันพฤหัสบดีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวเลขประมาณการณ์ครั้งที่สองของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสหรัฐฯ (GDP) ประจำไตรมาส 1 ปี 2024 จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำไตรมาส 1 และยอดขายบ้านที่รอการปิดดีลประจำเดือนเมษายน ในทางกลับกัน นักลงทุนทางฝั่งยูโรโซนจะให้ความสนใจกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และอัตราการว่างงานของยูโรโซน
อย่างไรก็ตาม ความสนใจหลักยังคงมุ่งไปที่การรายงานการประมาณการณ์ครั้งแรกของข้อมูลอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนประจำเดือนพฤษภาคมและดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ของสหรัฐฯในวันศุกร์ อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญก็คือ ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) อย่างเป็นทางการจากประเทศจีน
นอกเหนือไปจากปัจจัยสำคัญที่กล่าวไปแล้ว แถลงการณ์จาก Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และแถลงการณ์ของ Adrian Orr ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) รวมไปถึงข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นก็มีความสำคัญเช่นกันในการพิจารณาการเคลื่อนไหวของสกุลเงินที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การประชุมของกลุ่ม OPEC+ จะเป็นที่จับตามองของนักลงทุนในตลาดน้ำมันในช่วงต้นสัปดาห์หน้า (วันจันทร์) ด้วยเช่นกัน
ล่าสุด การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่มีแนวโน้มมากขึ้น และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นในสหรัฐฯและตลาดแรงงานที่ตึงตัว ยังช่วยหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ด้วยเหตุนี้ เทรดเดอร์ยังคงมองหาสัญญาณยืนยันแนวโน้มปัจจุบัน ซึ่งจะรักษาระดับการแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ และยังส่งผลกระทบต่อราคาของคู่เงิน EURUSD ราคาทองคำ และราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรประมาทความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากตลาดสกุลเงินมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนทิศทางในช่วงปลายสัปดาห์บ่อยครั้ง
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !