สภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงมีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงต้นวันพุธ ซึ่งสนับสนุนความเชื่อมั่นในวันก่อนหน้าแม้นักลงทุนในตลาดจะยังคงมีท่าทีระมัดระวัง ขณะที่การพูดคุยกันของ Fed ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน สิ่งที่ทำให้นักลงทุนมีความหวังก็คือการคาดการณ์ที่จะได้เห็นการขยายเวลาหยุดยิงในฉนวนกาซา รวมถึงการผลักดันของผู้กำหนดนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นทั้งในจีนและญี่ปุ่น
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงทรุดตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน ขณะที่หุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกและฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯขยับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังคงอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลังจากพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 6 สัปดาห์ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบก็พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการพูดคุยกันของ OPEC+ มีแนวโน้มแนะนำให้ลดกำลังการผลิตมากขึ้น
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน NZDUSD ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงการชะลอการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ RBNZ ขณะที่ คู่เงิน USDJPY ร่วงลงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ตกต่ำลง นอกจากนี้ ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบสามเดือน แต่คู่เงิน AUDUSD กลับสวนทางกับแนวโน้มของตลาดท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจออสเตรเลียที่ถดถอยลงเมื่อเร็วไม่นานมานี้
ทั้งนี้ BTCUSD และ ETHUSD ขยายการฟื้นตัวของวันก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนคริปโตมองเห็นความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นก่อนการอนุมัติ spot ETF โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ในขณะที่การพูดคุยกันของ Fed เมื่อวันก่อนหน้าส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐฯและส่งผลให้สกุลเงินที่เหลือพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบหลายวัน นโยบายการเงินที่เข้มงวดจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ขับเคลื่อนค่าเงินยูโรและปอนด์สเตอร์ลิง ตามลำดับ
อีกทางด้านหนึ่ง Christopher Waller ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวว่าตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงตามเป้าหมายของ Fed ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะบังคับให้อัตราดอกเบี้ยยังคงสูงขึ้นอีกต่อไป โดยความคิดเห็นของ Waller นั้นใกล้เคียงกับรายงานการประชุม Fed ล่าสุด เป็นผลให้ขยายความกังวลเกี่ยวกับการยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น รวมไปถึงการส่งสัญญาณถึงความกลัวการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในต้นปี 2567 อีกด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า Austan Goolsbee ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งชิคาโกยังกล่าวถึงความคืบหน้าที่ดีเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ และส่งสัญญาณถึงความกังวลเกี่ยวกับการคงอัตราดอกเบี้ยไว้สูงเป็นเวลานานเกินไปโดยสนับสนุนการเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบาย ในขณะที่ผู้ว่าการรัฐ Michelle Bowman แสดงความเห็นชอบในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากความคืบหน้าของอัตราเงินเฟ้อหยุดชะงัก นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งนิวยอร์ก จอห์น ซี. วิลเลียมส์ ได้กล่าวเสริมว่า “(เป็น) ความสบายใจที่จะเห็นแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง”
เมื่อพูดถึงข้อมูลสหรัฐฯ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB ประจำเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 102.0 แต่ตัวเลขในเดือนตุลาคมได้รับการแก้ไขโดยปรับลดลงจาก 102.6 เป็น 99.1 นอกจากนี้ ดัชนีราคาบ้าน S&P/Case-Shiller ของสหรัฐฯยังเพิ่มขึ้น 3.9% YoY ในเดือนกันยายน ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยที่ 4%
ในทางกลับกัน ผู้กำหนดนโยบายของ ECB และผู้ว่าการธนาคาร Bundesbank Joachim Nagel ได้ออกมากล่าวว่า "ไม่จำเป็นต้องหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย" ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นและเพิ่มแรงกดดันด้านลบเพิ่มเติมต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯต่อไป
ทั้งนี้ ในอีกทางหนึ่ง การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) นั้นทำให้เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ไม่ได้รับผลกระทบจากความกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ รองผู้ว่าการ David Ramsden ยังกล่าวเสริมว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะเดียวกัน Jonathan Haskel ผู้กำหนดนโยบายของ BoE ระบุว่าความเข้มงวดในตลาดแรงงานหมายถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาที่ยาวนาน (higher rates for longer) ด้วยเช่นกัน
โดย Adrian Orr ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ยังได้แสดงท่าทีเห็นด้วยกับดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด นอกเหนือไปจากการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed แม้ว่าจะยังไม่เสนอการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในปัจจุบันก็ตาม ในระหว่างการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของเขาหลังการตัดสินใจนโยบายการเงิน Orr ยังกล่าวว่าเขาไม่ผูกมัดกับวันในการประชุมนโยบาย และสามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้หากจำเป็น
ในทางตรงกันข้าม Seiji Adachi สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงนโยบายการหาเงินแบบผ่อนคลายโดยอ้างถึงความล่าช้าเพื่อดูวงจรค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อที่เป็นบวก ผู้กำหนดนโยบายยังกล่าวอีกว่า “ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาบอกว่าอัตราเงินเฟ้อของธนาคารบรรลุเป้าหมายแล้ว”
ท่าทีที่ระมัดระวังของตลาดก่อนการรายงานตัวเลข GDP ครั้งที่สองของไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯอาจทำให้นักลงทุนในตลาดต้องตื่นตัว ในขณะที่ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ Fed และผู้ว่าการ BoE Andrew Bailey ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองท่ามกลางการเคลื่อนไหวล่าสุดของธนาคารกลางทั่วโลก หากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังคงชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ดอลลาร์สหรัฐฯอาจจะแตะจุดต่ำสุดในรอบปีอีกครั้ง และสถานการณ์เดียวกันนี้ยังสามารถขับเคลื่อนราคาคู่เงิน GBPUSD ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม Bailey จาก BoE ยังแสดงถึงความจำเป็นที่ต้องคงนโยบายการเงินที่เข้มงวดและขจัดความกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหราชอาณาจักรไปพร้อมๆกันซึ่งจะส่งผลให้คู่เงินเคเบิลแข็งค่าขึ้น
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !