ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-02-12

GBPUSD ขยับขึ้นเหนือ 1.2600 จับตามองท่าที Bailey จาก BoE และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักร

GBPUSD ขยับขึ้นเหนือ 1.2600 จับตามองท่าที Bailey จาก BoE และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักร

ช่วงเช้าวันจันทร์ความเชื่อมั่นในการซื้อขายยังคงซบเซา โดยสาเหตุหลักเป็นผลมาจากตลาดในเอเชียส่วนใหญ่ปิดทำการเนื่องในเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อความกังวลของเหล่าเทรดเดอร์อย่าง การขาดข้อมูลหรือกิจกรรมสำคัญทางเศรษฐกิจ ท่าทีที่ค่อนข้างระมัดระวังของตลาดก่อนการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในสัปดาห์นี้ รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจำนวนมากของสหราชอาณาจักร และแถลงการณ์จากนายธนาคารกลางรายสำคัญทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงมีการปรับตัวตามการดึงกลับของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบกับความคาดหวังเชิงบวกอย่างระมัดระวังในตลาดหุ้น สถานการณ์เดียวกันนี้ยังทำให้คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD สามารถขยายการดีดตัวสูงขึ้นของวันศุกร์ได้ก่อนการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงไร้ทิศทาง ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดของผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดในโลกอย่างจีน

ถึงกระนั้น คู่เงิน NZDUSD ก็ร่วงลงมากที่สุด แม้จะเพิกเฉยต่อความคิดเห็นที่หนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ RBNZ ในขณะที่ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน USDCAD ยังขาดโมเมนตัม อย่างไรก็ตาม ช่วงวันหยุดในญี่ปุ่นได้จำกัดการเคลื่อนไหวของ JPY แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ตกต่ำกลับทำให้แรงเทซื้อคู่เงินเยนได้พักหายใจ

ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD ร่วงลงเล็กน้อยหลังจากพุ่งขึ้นรายสัปดาห์สูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ในขณะที่ ETHUSD ยังขาดทิศทางที่ชัดเจนหลังจากช่วงแนวโน้มขาขึ้นสองสัปดาห์ และเป็นที่น่าสังเกตว่าการ breakout ทางเทคนิคร่วมกับความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในตลาดสกุลเงินดิจิทัลช่วยหนุนให้ราคา Bitcoin และ Ethereum แข็งค่าขึ้นอีกด้วย

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยที่ระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์เหนือระดับราคาที่ราวๆ $82.00 จากวันก่อนหน้า
  • ทองคำ (Gold) ร่วงลงติดต่อกันสามวันในขณะที่แตะแนวรับอายุสองเดือนที่ราวๆ $2,020
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยังคงได้รับแรงกดดันที่ราวๆ 104.00 ขณะที่มีการร่วงลงเล็กน้อยหลังจากช่วงแนวโน้มขาขึ้นสี่สัปดาห์
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวกเล็กน้อย หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น ส่วน หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ร่วงลงเล็กน้อย
  • BTCUSD ร่วงลงเล็กน้อยที่ระดับสูงสุดในรอบเดือนที่ราวๆ $48,800 และ ETHUSD ร่วงลงไปที่ราวๆ $2,500
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

สัปดาห์เงินเฟ้อของสหรัฐฯ เริ่มต้นช้าลง...

แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะยังคงถูกกดดันในวันนี้ แต่ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ล่าสุดยังคงมีแนวโน้มขาขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 แม้ว่าจะปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดในรอบเดือนในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วก็ตาม ปัจจัยเร่งปฏิกิริยาหลักที่อยู่เบื้องหลังความแข็งแกร่งของ USD คือความเชื่อมั่นของตลาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอีกสิ่งที่ช่วยรักษาระดับช่วงแนวโน้มขาขึ้นของ DXY ไว้คือ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางและตลาดหุ้นจีนที่ยังคงซบเซา ด้วยเหตุนี้ ตัวชี้วัดของดอลลาร์สหรัฐฯจึงแกว่งตัวอยู่ที่ประมาณ 104.00 เนื่องจากเทรดเดอร์กำลังรอการรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสำคัญของสหรัฐฯประจำเดือนมกราคมในสัปดาห์นี้ ตัวเลขดังกล่าวได้รับความสำคัญเนื่องจากการแก้ไขข้อมูลอัตราเงินเฟ้อปี 2023 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาไม่สามารถหนุนช่วงแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ อีกทั้ง Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังได้กล่าวถึงตัวเลขที่แก้ไขแล้วว่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปี 2024 อีกทั้งในวันศุกร์ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐาน 6 เดือน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อสำคัญของ Fed ได้รับการปรับลดลงจาก 3.3% เหลือ 3.0% ขณะที่ตัวเลขเดือนธันวาคมปรับลดลงจาก 0.3% เหลือ 0.2%

ในการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งแอตแลนตา Raphael Bostic บอกกับ NPR ว่า เงินเฟ้อนั้นอยู่ในระดับที่สูงเกินไปและนานเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้โอกาสที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วๆนี้ลดลง และยังเป็นผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม การดึงกลับของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและการปิดตลาดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของ S&P 500 จะเป็นการตรวจสอบแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯก่อนการรายงานข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมกราคมในสัปดาห์นี้ ไม่เพียงแต่ Bostic เท่านั้น แต่ Lorie Logan ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งดัลลัสก็ยังมีท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดเช่นกัน เนื่องจากเธอไม่ต้องการการปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างเร่งด่วน

อีกทางด้านหนึ่ง ข่าวสารที่หลากหลายจากยูโรโซนยังท้าทายดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ USD จะยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอยู่ก็ตาม โดยสาเหตุหลักมาจากการที่ผู้กำหนดนโยบายของยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎระเบียบทางการคลังต่างๆเพื่อควบคุมหนี้ภาครัฐ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และอาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) สามารถประคองอัตราดอกเบี้ยไว้ได้อีกสักระยะ

อย่างไรก็ตาม การลงคะแนนเสียงขั้นสุดท้ายยังคงรอการตรวจสอบในสัปดาห์นี้ ในขณะเดียวกัน Martins Kazaks หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ออกมาปกป้องนโยบายการเงินที่เข้มงวด โดยระบุว่าเขาไม่ค่อยมั่นใจว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงฤดูใบไม้ผลิ นอกจากนี้ Pablo Hernandez de Cos หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายของ ECB และหัวหน้าธนาคารกลางสเปนยังได้ออกมากล่าวอีกว่า การคาดการณ์ในเดือนมีนาคมมีความสำคัญต่อการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ในทางตรงกันข้าม Fabio Panetta สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมากล่าวว่าเวลาสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย "ใกล้เข้ามาแล้ว" ขณะที่ Francois Villeroy de Galhau หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายกล่าวเสริมว่า ECB น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

ส่วนทางฝั่งของ Jonathan Haskel ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) กล่าวว่าจำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อก่อนที่จะหยุดการใช้อัตราดอกเบี้ยระดับสูง ซึ่งจะทำให้คู่เงิน GBPUSD สามารถชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ก่อนการรายงานสถิติสำคัญของอังกฤษในสัปดาห์นี้

ในขณะเดียวกัน Adrian Orr ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) และรองผู้ว่าการ/ผู้จัดการทั่วไปด้านเสถียรภาพทางการเงิน Christian Hawkesby มีท่าทีที่ขัดแย้งกับท่าทีของธนาคารกลางอื่นๆในช่วงเช้าวันจันทร์ โดยผู้กำหนดนโยบายทั้งสองคนปกป้องการดำเนินนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวของ RBNZ และแสดงให้เห็นถึงการคาดการณ์เชิงบวกต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี เทรดเดอร์คู่เงิน NZDUSD มีท่าทีไม่คล้อยตามคำพูดของพวกเขา โดยคู่เงิน NZDUSD ชะลอการพุ่งสูงขึ้นรายสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY
  • สัญญาณขายแรง: Crude Oil, US Dollar, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, AUDUSD, EURUSD

จับตามองท่าที Bailey จาก BoE และ Kashkari จาก Fed รวมถึงปัจจัยเร่งอื่นๆ…..

แม้ว่าการซื้อขายในช่วงเริ่มต้นวันส่วนใหญ่จะซบเซา แต่ความคิดเห็นจากผู้ว่าการ BoE Andrew Bailey, ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งมินนิอาโพลิส Neel Kashkari และปัจจัยเร่งปฏิกิริยาความเสี่ยง อย่างเช่น การอัปเดตเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและหุ้นจะยังคงกระตุ้นเทรดเดอร์ในระหว่างวัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าความสนใจหลักจะมุ่งเน้นไปที่การรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในวันอังคาร ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในวันพุธ และตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ของยูโรโซน ทั้งนี้ การที่ตลาดจีนหยุดทำการซื้อขายอาจเป็นการเปิดโอกาสให้เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์สวนกระแส อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐฯและทำให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่างสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD สามารถชะลอการร่วงลงที่เกิดขึ้นล่าสุดได้

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !