แม้จะมีความคืบหน้าทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลากหลายประเด็น ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ส่วนใหญ่มีทิศทางเป็นบวก แต่ตลาดการเงินยังคงสะท้อนบรรยากาศหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ โดยสังเกตได้จากดอลลาร์สหรัฐฯที่ยังคงแข็งค่า อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังยังคงอยู่ ขณะที่ นักลงทุนรอการเปิดเผยรายงานเศรษฐกิจสำคัญจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ ซึ่งในขณะเดียวกัน ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีของ Donald Trump ยังยิ่งเพิ่มความตึงเครียดให้กับตลาดอีกด้วย
นอกเหนือไปจากปัจจัยด้านความเชื่อมั่นในตลาดแล้ว ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ตัวเลขผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลง และการสนับสนุนการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงอย่างไม่คาดคิดจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) Jerome Powell ยังช่วยหนุนดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ให้มีการปรับตัวสูงขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯหลายรายยังคัดค้านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่เร็วเกินไป ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากนอกสหรัฐฯ ยิ่งเสริมความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นไปอีก
ท่ามกลางปัจจัยเหล่านี้ สกุลเงินหลัก สกุลเงินในกลุ่ม Antipodeans และสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงเผชิญแรงกดดัน ขณะที่หุ้นชะลอตัวจากการปรับตัวขึ้นก่อนหน้า ซึ่งในอีกทางหนึ่ง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงอยู่ในระดับสูง โดยวันศุกร์นี้ การรายงานข้อมูลยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งขึ้นของจีนและตัวเลขการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอ ล้วนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตลาด อย่างไรก็ดี ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐเริ่มชะลอตัวลง ทำให้สกุลเงินและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆเข้าสู่ภาวะ consolidation จากความเคลื่อนไหวล่าสุด
ความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับรายงานการประชุม ECB ที่มีท่าทีสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย, ข้อมูลเศรษฐกิจยุโรปที่อ่อนแอ และความกังวลเกี่ยวกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในช่วงการบริหารของ Trump ล้วนกดดันคู่เงิน EURUSD อย่างหนัก นอกจากนี้ การที่ผู้กำหนดนโยบายของ ECB ยังไม่ต้องการหยุดการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อคู่เงิน EURUSD ในขณะนี้อีกด้วย
ในทางกลับกัน คู่เงิน USDJPY ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ห้าแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 สัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความคาดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ยังคงจำกัด
แม้ว่าผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) Andrew Bailey และผู้กำหนดนโยบาย Katherine Mann จะพยายามแสดงความเชื่อมั่นในทิศทางบวก แต่ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหราชอาณาจักร ความกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์ และการขาดความมั่นใจในรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะหลังจากการรายงานงบประมาณที่ไม่น่าประทับใจนัก ล้วนกดดันคู่เงิน GBPUSD และส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ยังคงอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ นักเทรดกำลังจับตามองการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมถึง ข้อมูลตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3, ตัวเลข GDP รายเดือน และตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม ตัวเลขการผลิต และรายงานการค้าประจำเดือนกันยายน
เช่นเดียวกับปอนด์สเตอร์ลิง แรงเทขายดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดา ชะลอตัวอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์ โดยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนและความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าที่อาจเกิดขึ้นของสหรัฐฯล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ในขณะที่กลับช่วยหนุนคู่เงิน USDCAD ให้ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้ง ท่าทีสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ และธนาคารกลางแคนาดา ประกอบกับราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาที่ปรับลดลง ยังกดดันสกุลเงินเหล่านี้เพิ่มเติมอีกด้วย
ราคาทองคำทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน โดยเผชิญกับแนวโน้มขาลงต่อเนื่องห้าวัน ขณะที่มีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 41 เดือน การลดลงนี้มีสาเหตุมาจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน และการปรับลดลงทางเทคนิค (breakdown) หลังสิ้นสุดฤดูกาลซื้อทองคำในอินเดีย
ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบกลับตัวจากการดีดตัวขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์จากระดับต่ำสุดในรอบเดือน เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น การคาดการณ์อุปสงค์ที่ปรับลดลงของ OPEC รวมไปถึงดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่า และความกังวลเกี่ยวกับการลดการซื้อน้ำมันจากจีน
ข้อมูล on-chain ที่ผันผวน ประกอบกับภาวะ consolidation หลังจากการปรับตัวขึ้นที่เกิดจากชัยชนะของ Trump ทำให้แรงเทซื้อ Bitcoin (BTCUSD) และ Ethereum (ETHUSD) มีโอกาสชะลอตัวลงชั่วคราว อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์เกี่ยวกับการลาออกของประธาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ Gary S. Gensler และความหวังในกฎระเบียบที่เอื้ออำนวยมากขึ้น ยังคงสร้างความเชื่อมั่นในตลาดคริปโตในเชิงบวก
วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่คึกคักสำหรับนักลงทุน โดยมีการเปิดเผยข้อมูลการเติบโตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจสำคัญของสหราชอาณาจักรในช่วงการซื้อขายทางฝั่งตลาดยุโรป ตามมาด้วยข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯประจำเดือนตุลาคม และแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางปิดท้ายสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ความคืบหน้าจากรัฐบาล Trump และความเคลื่อนไหวทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความกังวลที่เกี่ยวกับจีนและตะวันออกกลาง จะเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองเช่นกัน
ท่ามกลางความเชื่อมั่นเชิงลบต่อสหราชอาณาจักรในขณะนี้ แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มเชิงบวกก็อาจไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อคู่เงิน GBPUSD ได้ ในขณะเดียวกัน ดอลลาร์สหรัฐฯอาจรักษาระดับการปรับตัวขึ้นล่าสุดไว้ได้ โดยได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มการสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และความคาดหวังเชิงบวกเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แม้จะมีข้อมูลเศรษฐกิจที่ปรับตัวลงก็ตาม สิ่งนี้อาจทำให้คู่เงิน EURUSD อยู่ในทิศทางขาลง โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยเชิงลบจากสหภาพยุโรป ในอีกทางหนึ่งยังช่วยหนุนคู่เงิน USDJPY อีกด้วย อย่างไรก็ตาม สกุลเงินในกลุ่ม Antipodean และราคาน้ำมันดิบอาจเผชิญกับความยากลำบากในการเพิ่มแรงขับเคลื่อน ขณะที่ ราคาทองคำคาดว่าจะปิดสัปดาห์ในทิศทางขาลงเช่นกัน
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!