ความเชื่อมั่นเชิงบวกในช่วงต้นสัปดาห์ปรับลดลงในช่วงเปิดตลาดทางฝั่งเอเชียเช้าวันพุธนี้ เนื่องจากความวิตกกังวลทางการเมืองในสหรัฐฯ ร่วมกับบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการเปิดเผยตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจเบื้องต้นประจำเดือนกรกฎาคมของเหล่าประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย หลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ในวันก่อนหน้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงและสกุลเงินหลัก ยกเว้นเงินเยนญี่ปุ่น (JPY)
คู่เงิน EURUSD ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดจากยุโรปสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในทางกลับกัน คู่เงิน GBPUSD ยังคงปรับตัวลงที่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์เช่นกัน แม้ว่าจะเห็นการเติบโตของค่าจ้างในสหราชอาณาจักรที่ปรับเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความวิตกกังวลทางการเมืองในสหราชอาณาจักรและความกลัวเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
ในขณะเดียวกัน คู่เงิน USDJPY กลับเคลื่อนไหวสวนทางกับแนวโน้มของตลาด โดยทำสถิติร่วงลงติดต่อกันสามวันแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในขณะที่ ราคาทองคำพยายามรักษาระดับการดีดตัวสูงขึ้นของวันก่อนหน้าจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอกซ์โพเนนเชียล (EMA) 21 วัน โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) และทองคำถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมาอย่างยาวนาน และมักจะได้รับแรงหนุนในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน
อีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD,คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD ต่างได้รับผลกระทบจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนตัวลง รวมไปถึงปัญหาเศรษฐกิจจากจีน แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบร่วงลงเป็นวันที่ห้าติดต่อกัน ขณะที่หนุนแนวโน้มขาลงที่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 สัปดาห์ แม้ว่าตัวเลขการดึงสต็อกปริมาณสินค้าคงคลังจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม
BTCUSD ปรับตัวตามดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น โดยร่วงลงรายวันมากที่สุดในรอบสองสัปดาห์ ถึงกระนั้น ETHUSD กลับได้รับแรงหนุนจากการเปิดตัว spot ETH ETF แม้ว่าจะร่วงลงระหว่างวันก็ตาม
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ความนิยมของผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯจากพรรครีพับลิกันอย่าง Donald Trump ที่เหนือกว่า Kamala Harris คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ทำให้นักลงทุนในตลาดตื่นตัว เนื่องจากท่าทีที่แข็งกร้าวของทรัมป์ในหลากหลายประเด็นตั้งแต่มาตรการที่เกี่ยวข้องกับจีน ไปจนถึงปัญหาการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯและการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (devaluation) เมื่อประกอบกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง และแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่เพิ่มขึ้นล่าสุด ยังได้สนับสนุนดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ในวันก่อนหน้า แม้ว่าตัวเลขยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯในเดือนมิถุนายน และดัชนีภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์สำหรับเดือนกรกฎาคมจะอ่อนตัวลงก็ตาม นอกจากนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผันผวนและการฟื้นตัวดอลลาร์สหรัฐฯคือ ความกังวลของตลาดก่อนการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์นี้ที่เริ่มตั้งแต่วันนี้
นอกเหนือไปจากการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ การปรับตัวที่ไม่น่าประทับใจนักของความเชื่อมั่นผู้บริโภคในยูโรโซน และการส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินของผู้กำหนดนโยบาย ECB ยังกดดันคู่เงิน EURUSD ก่อนการเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นของดัชนี PMI ของเยอรมนีและสหภาพยุโรปในวันนี้
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD ไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้แม้ว่าข้อมูลการเติบโตของค่าจ้างในสหราชอาณาจักรจะออกมาแข็งแกร่ง โดยปรับตัวตามคู่เงิน EURUSD ที่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ และปรับลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหราชอาณาจักรและการขาดความสามารถของรัฐบาลใหม่ในการแก้ไขปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รอยเตอร์สได้รายงานข่าวเกี่ยวกับการเติบโตของค่าจ้างที่แข็งแกร่งตามผลการสำรวจภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยนี้เมื่อร่วมกับตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการที่เผยแพร่ออกมาก่อนหน้านี้ ยังได้สนับสนุนแนวโน้มการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่งของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อีกด้วย
ขณะที่ คู่เงิน USDJPY ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม โดยปรับลดลงเป็นวันที่สามติดต่อกัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคู่เงินเยนยังรวมถึงการดึงกลับล่าสุดของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และสถานะสินทรัพย์ปลอดภัยของสกุลเงินญี่ปุ่น ปัจจัยเดียวกันนี้อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของราคาทองคำด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ข้อเสนอของอินเดียในการลดภาษีนำเข้า ยังบ่งชี้ถึงการบริโภคทองคำที่เพิ่มขึ้นจากหนึ่งในลูกค้าทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่น่าสังเกตว่า ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นที่ออกมาผสมผสานนั้นไม่สามารถท้าทายแรงเทขายคู่เงิน USDJPY ได้
ในช่วงต้นวัน ดัชนี PMI ของออสเตรเลียสำหรับเดือนกรกฎาคมส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยช่วยหนุนความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย และยังกดดันคู่เงิน AUDUSD ท่ามกลางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนตัวลงและปัญหาทางเศรษฐกิจของจีน ปัจจัยเหล่านี้ยังสร้างแรงกดดันด้านลบต่อคู่เงิน NZDUSD แม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญจากนิวซีแลนด์ อย่างไรก็ดี ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ก่อนการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ BoC ในวันนี้ และราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง ส่งผลให้คู่เงิน USDCAD พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3.5 เดือน
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบไม่สามารถปรับตัวสอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดจากรัสเซียที่ชี้ว่า มอสโกจะลดการส่งออกน้ำมันตามข้อตกลงของ OPEC+ รวมถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงของจีน ซึ่งจะลดความต้องการพลังงานในตลาดลง ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบยังเพิกเฉยต่อการดึงสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ตามการรายงานข้อมูลจากสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) อีกด้วย
หลังจากบรรยากาศการซื้อขายในตลาดที่ซบเซาในช่วงสองวันที่ผ่านมา นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความผันผวนที่เพิ่มมากขึ้น ขณะการเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ประจำเดือนกรกฎาคมของเหล่าประเทศเศรษฐกิจหลัก นอกจากนี้ การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) และการรายงานข้อมูลปริมาณสินค้าคงคลังน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯจากแหล่งข้อมูลอย่างเป็นทางการอย่างสำนักงานข้อมูลพลังงานสารสนเทศสหรัฐฯ (EIA) ก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามอง
แม้ว่าดัชนี PMI ส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม แต่ความสนใจหลักจะยังอยู่ที่การรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของยูโรโซน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางแนวโน้มการดำเนินนโยบายที่แตกต่างกันของธนาคารกลางในแต่ละประเทศ หากข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซน และสหราชอาณาจักรออกมาดีเกินคาด คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD อาจจะชะลอการร่วงลงล่าสุดได้ อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าขึ้นจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้นนั้นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางบรรยากาศความเชื่อมั่นของตลาดที่มีความผันผวน ในขณะเดียวกัน แม้การปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) จะหนุนราคาคู่เงิน USDCAD แต่แถลงการณ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของ BoC ยังควรมีแนวโน้มสอดคล้องกับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายที่เพียงพอที่จะยืนยันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกสองครั้งในปี 2024 เพื่อให้แรงเทซื้อคู่เงินนี้ยังมีความหวัง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบอาจไม่ได้รับแรงหนุนจากการดึงสต็อกปริมาณสินค้าคงคลังน้ำมันดิบ เว้นแต่ว่าตัวเลขจะปรับลดลงอย่างมาก ถึงกระนั้น ความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯและปัญหาทางเศรษฐกิจของจีนยังช่วยให้ช่วงแนวโน้มขาลงของราคาน้ำมันยังคงมีความหวัง