บรรยากาศการซื้อขายในตลาดยังคงผันผวน ท่ามกลางตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ที่หยุดทำการในวันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday) อีกปัจจัยที่ท้าทายการเคลื่อนไหวของตลาดอาจเป็นความวิตกกังวลก่อนการรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (PCE) ของสหรัฐฯประจำเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ให้ความสำคัญ รวมไปถึงแถลงการณ์ของประธาน Fed Jerome Powell
ถึงกระนั้นก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงแข็งค่าขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่สกุลเงินหลักอื่นๆ ยังคงได้รับแรงกดดัน โดยคู่เงิน EURUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบห้าสัปดาห์ ในขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ยังคงอ่อนค่าลงใกล้กับจุดต่ำสุดในรอบสัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า
ทั้งนี้ คู่เงิน USDJPY พยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้า ในขณะที่ คู่เงิน AUDUSD ยังคงได้รับแรงกดดันที่ระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ นอกจากนี้ คู่เงิน NZDUSD ยังคงร่วงลงผ่านระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน 2023 ส่วนทางด้าน คู่เงิน USDCAD ยุติการร่วงลงติดต่อกันสี่วัน และเป็นที่น่าสังเกตว่าคู่เงิน USDCHF เพิกเฉยต่อดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น และเกิดการดึงกลับสามวันจากระดับสูงสุดในรอบห้าเดือน โดยร่วงลงเล็กน้อยไปที่ราวๆ 0.9000
อีกทางด้านหนึ่ง ราคาทองคำถอยตัวลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ยังคงเตรียมปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI ยังทรงตัวใกล้กับระดับสูงสุดในรอบหลายเดือน ส่วนราคาน้ำมันเบรนท์ค่อยๆฟื้นตัวที่ระดับสูงสุดประจำสัปดาห์ หลังจากพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบสองสัปดาห์
ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD กำลังมุ่งหน้าสู่การพุ่งสูงขึ้นเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 3 สัปดาห์ แม้ว่าการเคลื่อนไหวยังคงซบเซา
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น สาเหตุหลักมาจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯส่วนใหญ่ที่มีทิศทางที่ดี โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลปรับตัวสูงขึ้นจนถึงขณะนี้ในวันศุกร์ประเสริฐ ท่ามกลางตลาดที่ซบเซาและบรรยากาศการลงทุนที่ระมัดระวังก่อนการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ
เมื่อวันพฤหัสบดี ตัวเลขข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UoM) ประจำเดือนมีนาคมพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 32 เดือน ในขณะที่การประมาณการล่าสุดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐอเมริกาสำหรับไตรมาสที่สี่ (Q4) ของปี 2023 ก็มีการรายงานออกมาดีกว่าการคาดการณ์เบื้องต้นที่ 3.2% โดยเพิ่มขึ้นเป็น 3.4% ต่อปี
ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น คู่เงิน EURUSD ก็ได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ถดถอยลงของเยอรมนีและแรงผลักดันจากผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ต้องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น ในขณะเดียวกัน คู่เงิน GBPUSD กลับไม่ได้รับแรงหนุนจากความเห็นที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Jonathan Haskel ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ขณะที่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหราชอาณาจักรไตรมาสที่ 4 ยืนยันภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD,คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD ต่างก็สะท้อนถึงสถานะตัวชี้วัดความเสี่ยงและการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สัญญาณเศรษฐกิจภายในประเทศมีแนวโน้มที่ไม่ค่อยดีนัก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางของญี่ปุ่นและการคัดค้านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังสร้างความท้าทายให้กับเทรดเดอร์คู่เงิน USDJPY ขณะที่ ระดับราคาเตรียมปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการร่วงลงเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 3 สัปดาห์
ในอีกทางหนึ่ง ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาอุปทานช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดในรอบสัปดาห์ แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าก็ตาม ในขณะเดียวกันนั้น ราคาทองคำก็พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในวันนี้ โดยสามารถผ่านจุดสำคัญทางเทคนิคได้สำเร็จ
แม้ตลาดส่วนใหญ่จะหยุดทำการในวันนี้ แต่การประกาศดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (PCE) ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ให้ความสำคัญ ประกอบกับการแถลงการณ์ของประธาน Fed Jerome Powell จะยังคงทำให้บรรดาเทรดเดอร์ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสเกิดความผันผวนอย่างรุนแรงในตลาด จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่คาดการณ์ว่าจะปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับแถลงการณ์ของประธาน Fed Powell ที่หนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการดึงกลับของสินค้าโภคภัณฑ์
ขอให้โชคดีในการเทรด !