สถานการณ์ความเสี่ยงในตลาดปรับตัวดีขึ้นในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี ขณะที่นักลงทุนในตลาดมุ่งหวังไปที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง ท่ามกลางความหวังว่าเศรษฐกิจของประเทศสำคัญๆจะแข็งแกร่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า การปฏิเสธที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) Jerome Powell และความคาดหวังทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีทิศทางเป็นบวกยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในช่วงปลายวันพุธที่ผ่านมาอีกด้วย
นอกเหนือไปจากปัจจัยเร่งปฏิกิริยาของสหรัฐฯแล้ว ความหวังที่จะได้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นจากจีนยังส่งผลดีต่อสถานการณ์ของตลาดและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ซึ่งในทางกลับกันจะกระตุ้นช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯเนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังที่ตกต่ำลง
ด้วยเหตุนี้ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD จึงยังคงเผชิญแรงกดดัน ขณะที่ คู่เงิน USDJPY ไม่ได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดต่ำลง และเจ้าหน้าที่นโยบายการเงินญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการเพิ่มค่าจ้าง นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD ร่วงลงมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 ส่วนทางด้าน คู่เงิน NZDUSD กลับเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ ราคาทองคำยังพุ่งสูงขึ้นเป็นวันที่สี่ติดต่อกันโดยเตรียมพร้อมทดสอบแนวต้านที่ลาดลงอายุหนึ่งเดือน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงถูกกดดันที่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า แม้จะมีความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางก็ตาม
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD ต่างก็ร่วงลงท่ามกลางการเตรียมการของตลาดสำหรับการลดจำนวน Bitcoin ลงครึ่งหนึ่ง และการประเมินครั้งใหม่ที่มีทิศทางที่ดีเกี่ยวกับการอนุมัติ spot ETF ของ Ethereum
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ราคาทองคำยังคงแข็งค่าขึ้น แม้ว่าล่าสุดจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆเหนือจุดบรรจบกันของแนวต้านสำคัญ ซึ่งขณะนี้ทำหน้าที่เป็นแนวรับ ด้วยเหตุนี้ XAUUSD จึงได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ตกต่ำ ในขณะที่ไม่ตอบสนองต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ดีดตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์และยังคงปรับตัวสูงขึ้นที่ประมาณ 103.60 แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีกลับแตะที่ระดับต่ำสุดในรอบเดือน
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานไม่เปลี่ยนแปลงตามที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ของ FOMC ได้ลบข้อความเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป และมาพร้อมกับการประชุมเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดโดยประธาน Fed Jerome Powell ซึ่งจะดึงดูดช่วงแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯกลับมา อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน และส่งผลให้ราคาทองคำสามารถสนับสนุนการ breakout ทางเทคนิคที่ประมาณ $2,000 ได้
นอกจากนี้ หลังจากการประชุม Fed และแถลงการณ์ที่มีทิศทางไปทางนโยบายการเงินที่เข้มงวดจาก Fitch ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกอาจเป็นผลให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้อาจลดน้อยลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม Fitch แสดงถึงความคาดหวังว่าจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนถึงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม ในขณะที่เครื่องมือ FedWatch ของ CME แสดงให้เห็นโอกาสเกือบ 35.0% ที่สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับโอกาส 40.0% ที่จะได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวในสัปดาห์ก่อน
นอกเหนือไปจากการเคลื่อนไหวที่เกิดจาก Fed และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ตกต่ำแล้ว แรงเทซื้อทองคำยังได้รับสัญญาณเชิงบวกจากจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกค้า XAUUSD รายสำคัญ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีนจากสถาบัน Caixin (Caixin Manufacturing PMI) ประจำเดือนมกราคมอยู่ที่ระดับ 49.8 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 49.6 ตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS Manufacturing PMI) และความคิดเห็นที่ชี้ว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากประธานาธิบดี Xi Jinping และรองรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ซึ่งจะช่วยหนุนราคาทองคำด้วยเช่นกัน
ในขณะเดียวกัน ข่าวลือที่ยังไม่ได้รับการยืนยันเกี่ยวกับการโจมตีฮูติในเยเมนโดยสหรัฐฯรอบใหม่และความตึงเครียดในทะเลแดงยังสร้างความกดดันต่อแรงเทซื้อทองคำ อีกทั้ง ความเชื่อมั่นล่าสุดของตลาดต่อการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมถึงความสงสัยเกี่ยวกับการลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนมีนาคมก็อาจส่งผลเช่นเดียวกัน
อีกทางด้านหนึ่ง ความคิดเห็นที่มีทิศทางไปทางการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ร่วมกับความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่ถดถอยลงยังมีผลกระทบต่อคู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ในทางกลับกัน คู่เงิน USDJPY เคลื่อนไหวตามแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อ่อนตัวลง และการคาดการณ์การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากนโยบายของเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นที่ผลักดันให้ค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น
หลังจากได้เห็นตลาดผันผวนในวันพุธ นักลงทุนในตลาดควรเตรียมพร้อมสำหรับอีกวันที่คึกคัก เนื่องจากมีกำหนดการเผยแพร่ข้อมูล/เหตุการณ์เศรษฐกิจจากยูโรโซน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ซึ่งการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเป็นครั้งแรกในเดือนมกราคมจะมีความสำคัญท่ามกลางการแถลงการณ์การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายล่าสุดของเจ้าหน้าที่ ECB นอกจากนี้ BoE มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่การพูดถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตและความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจจะเป็นสิ่งสำคัญที่ยังต้องจับตามอง สุดท้ายนี้ ตัวเลขค่าดัชนี US ISM Manufacturing PMI จะแสดงให้เห็นเกี่ยวกับแนวโน้มการจ้างงานและกิจกรรมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก่อนการรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ที่สำคัญในวันศุกร์
แม้ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะยังไม่รุนแรง นักลงทุนในตลาดอาจยินดีกับความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯ และอาจส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของกระทรวงการคลังสหรัฐฯจำเป็นต้องหยุดแนวโน้มขาลง เพื่อโน้มน้าวช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !