ตลาดยังคงมีทิศทางที่ไม่ชัดเจนในช่วงต้นวันพฤหัสบดี ขณะที่นักลงทุนกำลังรอการแถลงการณ์จากผู้นำ Fed และ ECB หลังจากที่ Jerome Powell ประธาน Fed ละเว้นการพูดเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายการเงินเมื่อวันก่อน นอกจากนี้ ความผันผวนที่สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ในจีนและวิกฤตภูมิรัฐศาสตร์ในฉนวนกาซายังส่งผลให้การขาดข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจทดสอบโมเมนตัมของนักลงทุนในตลาดอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงแข็งค่าขึ้น ในขณะที่หุ้นฟิวเจอร์สของสหรัฐฯและหุ้นในเอเชียแปซิฟิกกลับปรับลดลง ส่วนทางด้านของตลาดหุ้น Wall Street ปิดผสมในวันก่อนหน้าหลังจากสัญญาณของช่วงขาลงจากเศรษฐกิจนอกสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ความเชื่อมั่นลดลง
และเป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน AUDUSD ไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อของจีนที่อ่อนตัวลง อีกทั้งยังชะลอการร่วงลงของวันก่อนหน้า ในขณะที่ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ ราคาทองคำยังแตะแนวรับสำคัญที่ $1,950 ที่ระดับต่ำสุดในรอบเดือน ขณะที่นักลงทุนน้ำมันดิบพึ่งฟื้นตัวกับสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยที่ระดับต่ำสุดในรอบ 3.5 เดือน
ในอีกทางหนึ่ง ความเชื่อมั่นที่พุ่งสูงขึ้นในขณะที่ตลาดคริปโตเตรียมพร้อมสำหรับการอนุมัติ Spot Bitcoin ETF ส่งผลให้ BTCUSD พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน ในขณะที่ ETHUSD ก็พุ่งสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3.5 เดือนเช่นกัน
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
การพูดคุยของธนาคารกลางที่ยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจนและข้อมูลส่วนใหญ่เศรษฐกิจนอกสหรัฐฯที่ตกต่ำลงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดร่วมกับปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งนี้ สัญญาณในทางบวกจาก Fed และความหวังว่าจะได้เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในปี 2023 ยังส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯสามารถผลักดันภาวะหมีกลับไปได้ แม้ว่าจะไม่มีช่วงแนวโน้มขาขึ้นในช่วงหลังก็ตาม
เมื่อพูดถึงการพูดคุยของ Fed ครั้งล่าสุด Lisa Cook ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯได้กล่าวถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั่วโลกหลายประการซึ่งประกอบด้วยแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในจีน ในอีกทางหนึ่ง Patrick Harker ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งฟิลาเดลเฟียมีท่าทีเอนเอียงไปทางนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวขณะกล่าวว่า FOMC จะยังคงดำเนินการคงอัตราดอกเบี้ยตามแนวทาง “higher for longer” ต่อไป โดยไม่มีสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้น
ในกรณีของภูมิรัฐศาสตร์ การข่าวที่รายงานเกี่ยวกับวิกฤตทางภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและยังช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เพนตากอนก็ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าการโจมตีทางทหารของสหรัฐฯกำลังมุ่งเป้าไปที่ผู้ก่อการร้ายที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในซีเรียตะวันออก
นอกจากนี้ ปัญหาเศรษฐกิจของจีนที่ยังเพิ่มสูงขึ้นได้บั่นทอนความเชื่อมั่นของตลาดเช่นเดียวกับสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาทองคำ อย่างไรก็ตาม ธนาคารประชาชนจีน (PBoC) ได้ออกมากล่าวว่าเศรษฐกิจของจีนกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการชะลอตัวของปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน และการส่งออก โดยที่ก่อนหน้านี้ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีนในเดือนตุลาคมยืนยันความกลัวของตลาดเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกด้วยตัวเลขที่อ่อนตัวลง โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงด้วยตัวเลข -0.2% YoY เทียบกับ 0.0% ก่อนหน้าและ -0.1% จากที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลงเหลือ -2.6% YoY จาก -2.5% ของการรายงานครั้งก่อน เทียบกับการคาดการณ์ของตลาด 2.7%
นอกเหนือไปจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และปัญหาสภาพเศรษฐกิจในจีนแล้ว ความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในยูโรโซนและสหราชอาณาจักรที่ตกต่ำลงเป็นส่วนใหญ่ก็ยังส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นอีกด้วย
เมื่อวันพุธ อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีต่อดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ยืนยันการรายงานเริ่มต้นที่ 3.0% และ 3.8% ตามลำดับในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ การเติบโตของยอดค้าปลีกในยูโรโซนยังลดลงเหลือ -2.9% YoY ในเดือนกันยายน เมื่อเทียบกับ -1.8% ก่อนหน้า (แก้ไข) และการคาดการณ์ของตลาด -3.2% จากข้อมูลดังกล่าว Philip Lane หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความเห็นว่า ความคืบหน้าของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้นยังไม่เพียงพอ ในขณะที่ Gabriel Makhlouf ผู้กำหนดนโยบายของ ECB ระบุว่าสัญญาณเริ่มแรกของผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อและความเข้มงวดทางการเงินต่อความยืดหยุ่นของผู้กู้ยืมกำลังปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน ในขณะที่เดียวกัน Martins Kazaks สมาชิกสภาปกครอง ECB ยังกล่าวด้วยว่า (พวกเขา) จะไม่คงอัตราดอกเบี้ยไว้นานกว่าที่จำเป็น ถึงกระนั้น Joachim Nagel เจ้าหน้าที่ของ ECB ก็ได้ปฏิเสธถึงการพูดคุยเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ยพร้อมทั้งเรียกภาวะเงินเฟ้อว่า 'greedy beast'
นอกจากนี้ ในวันพุธที่ผ่านมา Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้กล่าวถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการเปิดกว้างและความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจายตัวของเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงเสถียรภาพทางการเงิน อีกทั้ง Andrew Griffith รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหราชอาณาจักรยังออกมากล่าวว่าเศรษฐกิจของอังกฤษยังไม่อยู่ในภาวะถดถอยใน ณ ขณะนี้
ในอีกทางหนึ่ง Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้ออกมาประกาศเช่นกันว่า “เราจะคงอัตราดอกเบี้ยติดลบตามกรอบ YCC จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะบรรลุผลสำเร็จที่ 2% อย่างยั่งยืน”
ด้วยเหตุนี้ มุมมองโดยรวมของตลาดจึงดูไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นนักลงทุนจึงมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับสินทรัพย์ปลอดภัยแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจากยังไม่มีรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญใดๆ แถลงการณ์ของ Jerome Powell ประธาน Fed และ Christine Lagarde ประธาน ECB จึงเป็นที่จับตามองอย่างมาก นอกจากนี้ การขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐฯรายสัปดาห์และการอัปเดตทางภูมิรัฐศาสตร์ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนในการจับตาดูทิศทางที่ชัดเจนของตลาดอีกด้วย ทั้งนี้ Powell มีแนวโน้มที่จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ Lagarde ยังไม่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่จะยืนยันการดำเนินการนโยบายการเงินในทิศทางเดียวกัน และด้วยเหตุนี้เงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงมีแนวโน้มที่จะขยับสูงขึ้นในขณะที่ราคาทองคำอาจยังคงอยู่ในช่วงขาลงต่อไป
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !