เช้าวันอังคาร สถานการณ์ความเสี่ยงในตลาดยังดูไม่แน่นอน ขณะที่ นักลงทุนต่างรอคอยการรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญของสหรัฐฯผ่านดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ ปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน และการพักฐานของตลาดก่อนการประชุม FOMC ในสัปดาห์หน้า ยังท้าทายความเชื่อมั่นเดิมของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เจ้าหน้าที่ Fed เข้าสู่ช่วงงดให้ความเห็นต่อสาธารณะ (blackout period)
ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าขึ้น ขณะที่ คู่เงิน EURUSD ชะลอการร่วงลงต่อเนื่อง 2 วัน ท่ามกลางสัญญาณสนับสนุนนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างไรก็ตาม คู่เงิน GBPUSD ยังคงปรับลดลงต่อเนื่องจากวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบปี แม้ว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะแสดงความเห็นที่สนับสนุนการคงดอกเบี้ยในระดับสูงในระยะยาวก็ตาม
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ยังคงแข็งค่าขึ้น เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายของญี่ปุ่นได้ออกมาปกป้องนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ BoJ ส่วนทางด้านคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังไม่มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญ นอกจากนั้น คู่เงิน USDCAD ร่วงลง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้น โดยราคาทองคำร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 วัน
ทางฝั่งของ BTCUSD ดูซบเซาในขณะที่แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนทางด้าน ETHUSD ปรับลดลงจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
เนื่องจากภาวะการพักตัวของตลาดก่อนการรายงานข้อมูลสำคัญ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยยังคงรักษาระดับการฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบกราฟแท่งเทียน Doji ที่เป็นสัญญาณขาขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ซบเซา อาจเป็นอุปสรรคต่อช่วงขาขึ้นของดัชนี DXY ที่ประมาณ 102.80-85 ในภายหลัง
นอกเหนือไปจากการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ ปัญหาใหม่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอีกด้วย รวมไปถึงแรงเทซื้อทองคำที่ชะลอการซื้อขายจากเส้นแนวต้านอายุ 10 เดือนไปที่ประมาณ $2,185-86 โดยล่าสุด สำนักจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกอย่าง Moody’s ได้ปรับลดอันดับเครดิต 'Baa3' ของ Vanke ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อันดับต้นๆของจีน ส่งผลให้ความกังวลเกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัยของจีนกลับมาอีกครั้ง ในขณะเดียวกัน มีข่าวลือว่าหน่วยงานกำกับดูแลของจีนกำลังผลักดันให้ธนาคารรายใหญ่เพิ่มการสนับสนุนด้านการเงินให้กับ Vanke
และแม้ว่าการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯจะช่วยพยุงคู่เงิน USDJPY แต่ความคิดเห็นของ Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และ Shunichi Suzuki รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นที่สนับสนุนการคงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของ BoJ ยังส่งผลให้ค่าเงินเยน (JPY) แข็งค่าขึ้น
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ไม่ได้ปรับตัวตามความกังวลที่เกี่ยวข้องกับจีน เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศของทั้งสองประเทศยังมีแนวโน้มดี นอกจากนี้ การฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดายังเป็นผลให้คู่เงิน USDCAD ชะลอตัวจากการพุ่งสูงขึ้นล่าสุด แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าขึ้นก็ตาม
การคาดการณ์ของตลาดที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน 2024 อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวล่าสุดของดอลลาร์สหรัฐฯ หากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของสหรัฐฯ (Core CPI) ที่ประกาศในวันนี้มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางหรือปรับตัวลดลง โดยตัวเลขดัชนี CPI คาดว่าจะคงที่ที่ 3.1% YoY แต่คาดการณ์ว่าจะปรับตัวดีขึ้นแบบ MoM เป็น 0.4% จาก 0.3% ส่วนตัวเลขดัชนี CPI ไม่รวมอาหารและพลังงาน (Core CPI) นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 0.3% MoM และ 3.7% YoY ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่ประกาศครั้งก่อนที่ 0.4% และ 3.9% ตามลำดับ
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !