ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-06-12

ราคาทองคำยังคงยืนเหนือ $2,300 ก่อนการรายงานดัชนี CPI ของสหรัฐฯและการประชุม FOMC

ราคาทองคำยังคงยืนเหนือ $2,300 ก่อนการรายงานดัชนี CPI ของสหรัฐฯและการประชุม FOMC

นักลงทุนในตลาดต่างเตรียมตัวรับมือกับการรายงานข้อมูลและกิจกรรมสำคัญทางเศรษฐกิจประจำสัปดาห์นี้ในช่วงเช้าวันพุธ ซึ่งส่งผลให้เกิดการจำกัดความเคลื่อนไหวของตลาด ท่ามกลางการคาดการณ์ที่หลากหลายเกี่ยวกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินครั้งต่อไปของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปัจจัยดังกล่าวยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯรักษาแนวโน้มขาขึ้นก่อนหน้า แม้จะขาดแรงผลักดันในการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการรายงานตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯที่แข็งแกร่งในสัปดาห์ที่แล้วและการรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้นจากธนาคารโลก (WB)

ในขณะที่แถลงการณ์จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่วนใหญ่ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด การปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าสุดของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้สร้างแรงกดดันด้านลบต่อคู่เงิน EURUSD แม้ว่าล่าสุดจะฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ก็ตาม นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางการเมืองในฝรั่งเศสและเยอรมนี ยังส่งผลกระทบต่อยูโรอีกด้วย อีกทั้ง คู่เงิน USDJPY ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเป็นวันที่ 4 ติดต่อกันแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนในตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะชะลอการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในวันศุกร์นี้

ในทางกลับกัน คู่เงิน GBPUSD ยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่จะถดถอยลง ประกอบกับมีความวิตกกังวลทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ต่างก็ปรับตัวขึ้นในระหว่างวันเช่นกัน เป็นผลมาจากการรายงานข่าวจากจีนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมและข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง สำหรับคู่เงิน USDCAD มีการเคลื่อนไหวสอดคล้องกับรูปแบบกราฟ Doji จากเมื่อวันก่อนที่ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน ขณะที่ยังคงร่วงลงในระหว่างวัน โดยการพุ่งสูงขึ้นของคู่เงิน Loonie อาจเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันดิบที่ขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดา

ในอีกทางหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเดือน เนื่องจากการรายงานตัวเลขสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐฯที่ลดลงอย่างน่าประหลาดใจ ประกอบกับการคาดการณ์ความต้องการพลังงานที่มีทิศทางดีขึ้นจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ในทางกลับกัน ราคาทองคำกลับไม่สามารถรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวในช่วงต้นสัปดาห์จากเส้นแนวรับอายุหลายวันได้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และข้อสงสัยเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน และอีกปัจจัยที่สำคัญคือ ความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)

ทั้ง BTCUSD และ ETHUSD ต่างดีดตัวสูงขึ้นหลังจากที่ร่วงลงแรงที่สุดในวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวโปรเจคใหม่ที่ไม่ประสบความสำเร็จนักในงาน WWDC ของ Apple ประกอบกับสัญญาณเทคนิคที่บ่งชี้ถึงการร่วงลงของราคา น่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาสกุลเงินดิจิทัลทั้งสองปรับตัวลดลง

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI แตะจุดสูงสุดใหม่ในรอบเดือนที่ประมาณ $78.50 โดยเพิ่มขึ้นครึ่งเปอร์เซ็นต์ในระหว่างวัน
  • ทองคำ (Gold) พยายามรักษาระดับการฟื้นตัวสองวันจากเส้นแนวรับที่เพิ่มสูงขึ้นอายุ 10 สัปดาห์ โดยล่าสุดยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนที่ประมาณ $2,315
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ขาดแรงผลักดันขาขึ้นที่ระดับ 105.30 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสมแต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ชะลอการร่วงลงของวันก่อนหน้าที่ประมาณ $67,300 และ $3,520 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯเตรียมรับวันสำคัญ...

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) สะท้อนบรรยากาศความระมัดระวังของตลาดก่อนที่จะมีการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพฤษภาคมและนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุล ไม่สามารถรักษาแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่องจาก 3 วันที่ผ่านมาได้

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดจากจีนและธนาคารโลก (WB) ควบคู่ไปกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯนั้นยังช่วยพยุงราคาไว้ไม่ให้ร่วงลง นอกจากนี้ แรงกดดันจากสหภาพยุโรป (EU) ที่ผลักดันให้มีการคว่ำบาตรบริษัทรัสเซียมากขึ้น รวมถึงความตึงเครียดทางการเมืองในตะวันออกกลาง สหราชอาณาจักร และยุโรป ล้วนส่งผลกระทบต่อสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาดและยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯรักษาการพุ่งสูงขึ้นล่าสุดไว้ได้

ตามการรายงานล่าสุดของธนาคารโลก (WB) ระบุว่า "เศรษฐกิจโลกในระยะสั้นกำลังมุ่งหน้าสู่การปรับตัวลงอย่างนุ่มนวล" โดยธนาคารโลกยังได้ปรับเพิ่มการประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2024 จาก 2.4% เป็น 2.6% ซึ่งปัจจัยหลักเป็นผลมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีตัวเลขอยู่ที่ 2.5% เมื่อเทียบกับตัวเลขประมาณการเดิมที่ 1.6% เมื่อเดือนมกราคม ข้อมูลดังกล่าวเมื่อประกอบกับความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯยังส่งผลให้ความต้องการดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการขนาดย่อมของสหรัฐฯ (NFIB Small Business Optimism Index) เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน จาก 89.7 เป็น 90.5 ซึ่งช่วยหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเดือนเช่นกัน ก่อนที่จะมีการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญและผลการประชุมของคณะกรรมการ FOMC ในวันนี้

นอกเหนือไปจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งและแนวโน้มสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของคณะกรรมการ FOMC การรายงานข่าวในหลากหลายประเด็นเกี่ยวกับจีนและรัสเซียก็ยังช่วยหนุนความต้องการถือครองดอลลาร์สหรัฐฯในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยอีกด้วย โดยกระแสข่าวเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของจีน สำหรับตลาดอสังหาริมที่ซบเซา ซึ่งจะมีการหารือในที่ประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) ชุดที่ 20 ในเดือนกรกฎาคมนี้ ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยพยุงราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีนประจำเดือนพฤษภาคมที่ปรับลดลง ยังส่งผลกระทบต่อสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาด ซึ่งรวมไปถึงการคาดการณ์ภาวะฟื้นตัวของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ด้วยเช่นกัน

ทางด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้วิจารณ์ธนาคารกลางของแคนาดา (BoC) เรื่องการสื่อสารนโยบายการเงินที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ BoC พยายามคงการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด แม้จะเพิ่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าวขัดแย้งกับราคาน้ำมันที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้คู่เงิน USDCAD มีการปรับตัวในรูปแบบกราฟ Doji ขาลงที่ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน ซึ่งส่งผลกดดันให้คู่เงิน Loonie ปรับลดลงในภายหลัง ในขณะเดียวกัน คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ก็มีการปรับตัวตามราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น และความคาดหวังที่จะได้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีน ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของทั้งสองประเทศ

อีกทางด้านหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ หลังได้รับแรงหนุนจากรายงานสำรองน้ำมันประจำสัปดาห์จากแหล่งข่าวในอุตสาหกรรมอย่างสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา (API) รวมถึงการคาดการณ์ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นในปี 2024 และ 2025 จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ในทางกลับกัน ราคาทองคำยังขาดแรงผลักดันขาขึ้น ขณะที่ความเห็นส่วนใหญ่ในตลาดคาดการณ์สนับสนุนการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป และสภาวะลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บริโภคทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก ยังท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของ XAUUSD อีกด้วย

ในอีกทางหนึ่ง หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกอย่าง Fitch ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับสภาพการคลังและการปฏิรูปของฝรั่งเศส หลังจากผู้นำประเทศประกาศจัดการเลือกตั้งกะทันหัน ปัจจัยนี้ ประกอบกับการคาดการณ์ของตลาดว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ยังส่งผลกระทบต่อคู่เงิน EURUSD อีกด้วย แม้ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของญี่ปุ่นประจำเดือนพฤษภาคมจะมีตัวเลขการเติบโตที่แข็งแกร่ง แต่คู่เงิน USDJPY ยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยอาจมีสาเหตุมาจากกระแสการถกเถียงเกี่ยวกับการปรับลดการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และความลังเลของเจ้าหน้าที่ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการจ้างงาน ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคการผลิต และตัวเลข GDP ประจำเดือนที่ปรับตัวลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ท้าทายการฟื้นตัวของคู่เงิน GBPUSD

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

ทุกสายตาจับจ้องไปที่การรายงานอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และการประชุม FOMC...

แม้ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อจากอินเดียและการแถลงการณ์ของธนาคารกลางหลายแห่งจากทั้งทางฝั่งยุโรปและแคนาดาจะอยู่ในกำหนดการทางเศรษฐกิจของวันนี้เช่นกัน แต่ความสนใจหลักจะยังคงอยู่ที่การรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมการ FOMC โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯมีท่าทีลังเลในการดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯน่าจะแสดงให้เห็นแรงกดดันด้านราคาที่ผ่อนคลายลง ซึ่งจะช่วยให้ Fed สามารถรักษานโยบายการเงินปัจจุบันไว้ได้ตามคาดการณ์ ทว่า หากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิด สิ่งนี้อาจส่งผลให้คณะกรรมการ FOMC และการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ (รายงาน dot-plot) ทำลายความคาดหวังการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2024 ของตลาดออกไป และจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น นอกจากรายการ dot plot แล้ว แถลงการณ์จาก Powell ประธาน Fed และการคาดการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องติดตามเพื่อหาทิศทางที่ชัดเจน

เนื่องด้วยปัจจัยสำคัญเหล่านี้ เทรดเดอร์ควรที่จะรอติดตามการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และอ่านรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจเปิดสถานะการซื้อขายขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราคาทองคำ

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !