ความกังวลทางการเมืองทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะทางฝั่งประเทศตะวันตก เมื่อผนวกกับการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางชั้นนำจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ท้าทายความเชื่อมั่นเชิงบวกก่อนหน้าของนักลงทุนในช่วงต้นวันพุธ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นที่ผันผวนยังได้รับผลกระทบจากสัญญาณเงินเฟ้อที่ไม่น่าประทับใจนักจากสหราชอาณาจักร และตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯที่ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงสัญญาณเงินเฟ้อของแคนาดาที่อ่อนตัวลง ทั้งนี้ การที่ Donald Trump มีความนิยมนำในโพลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีอย่างหนักจากจีนและการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (devaluation) ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน อย่างไรก็ตาม การขาดการรายงานข้อมูลสำคัญและบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดเช่นกัน
ในสถานการณ์เดียวกันนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ ขณะที่คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ขยับตัวสูงขึ้น ส่วนทางด้าน คู่เงิน USDJPY ยุติการพุ่งสูงขึ้นสองวันติดต่อกัน โดยคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD พุ่งสูงขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 วัน นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ฟื้นตัวขึ้นจากการร่วงลงในวันก่อนหน้าจากจุดสูงสุดในรอบเดือน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบปรับลดลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน และมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) เพิ่มมากขึ้น
ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาดและความอ่อนแอของดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นทำสถิติแตะจุดสูงสุดใหม่ที่ราวๆ $2,483 ก่อนที่จะปรับตัวลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ประมาณ $2,465
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล ETHUSD ยุติการพุ่งขึ้นสูงสุด 4 วันติดต่อกันเมื่อวันก่อนหน้า ก่อนที่จะฟื้นตัวอีกครั้งในช่วงเช้าวันพุธโดยแตะจุดสูงสุดในรอบเดือน ในขณะเดียวกัน BTCUSD ยังคงปรับตัวขึ้นเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน โดยพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การดึงกลับของ ETHUSD ก่อนหน้านี้ อาจเป็นผลมาจากการป้องกันความเสี่ยงของตลาด (hedging) ก่อนการเปิดตัว spot ETH ETF ในสัปดาห์หน้าและการโอนเงินของ Mt. Gox. อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังเชิงบวกต่อตลาดคริปโตเคอร์เรนซี อันเนื่องมาจากความนิยมที่นำห่างอยู่ของ Trump ในผลสำรวจการเลือกตั้ง ยังช่วยให้แรงเทซื้อ Bitcoin และ Ethereum ยังคงควบคุมตลาดอยู่
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ไม่สามารถปรับตัวสอดคล้องกับตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ท่ามกลางความกังวลด้านการเมืองและปัญหาความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้ แม้ตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯโดยรวมในเดือนมิถุนายนจะออกมาดูไม่ค่อยโดดเด่น แต่ยอดค้าปลีกกลุ่มควบคุมและยอดค้าปลีกพื้นฐานกลับมีทิศทางที่ค่อนข้างดี นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมอย่าง การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตาปรับเพิ่มการคาดการณ์ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สำหรับไตรมาส 2 และการรายงานตัวเลขราคาสินค้าส่งออก-นำเข้าของสหรัฐฯที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น
การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯส่งผลให้การคาดการณ์แนวโน้มที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนนั้นลดลง และยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นแตะจุดสูงสุดใหม่ในระหว่างวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่ Donald Trump ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯออกมาเตือน Fed ว่าอย่าปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อนการเลือกตั้ง นอกจากนี้ Trump ยังผลักดันให้มีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนและการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (devaluation) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกเหนือไปจากการคาดเดาในหลากหลายทิศทางเกี่ยวกับนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์แล้ว การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2024 ลง ก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรด้วยเช่นกัน อีกทั้งปัจจัยนี้ยังส่งผลให้ DXY ปิดตลาดใกล้เคียงกับราคาเปิดหลังจากผ่านวันที่ผันผวน
โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ทำการปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจของญี่ปุ่นสำหรับปี 2024 ขณะที่ปรับเพิ่มการประมาณการเศรษฐกิจของจีน ยูโรโซน และอินเดียขึ้น โดย IMF ยังคาดการณ์ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2024 ซึ่งแตกต่างจากความคาดหวังของตลาดที่มองว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึงสองครั้งในปีนี้ ปัจจัยเหล่านี้น่าจะช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวขึ้น แม้จะมีปัจจัยทั้งบวกและลบปะปนกันอยู่ก็ตาม
ในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐฯมีการเคลื่อนไหว ยูโรยังคงปรับตัวสูงขึ้น แม้ตัวเลขความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมันและยูโรโซน (ZEW) ประจำเดือนกรกฎาคมจะออกมาผสมผสาน โดยอาจมีสาเหตุมาจากการที่ตลาดเตรียมตัวสำหรับการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ นอกจากนี้ สถานการณ์ทางการเมืองในฝรั่งเศสที่สงบลงล่าสุด เนื่องจากประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้มีการอนุมัติให้มีการแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการเพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ยังอาจส่งผลดีต่อราคาคู่เงิน EURUSD ด้วยเช่นกัน
อีกทางหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD เคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบปี เนื่องจากสัญญาณเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่ปรับลดลงได้ปะทะกับความคาดหวังเชิงบวกทางการเมืองในสหราชอาณาจักร หลังจากพรรคแรงงานชนะการเลือกตั้งระดับชาติอย่างยิ่งใหญ่
คู่เงิน USDJPY ยังคงขยับตัวสูงขึ้นในช่วงสองวันที่ผ่านมา ก่อนที่จะอ่อนตัวลงแตะเส้นแนวรับที่มีแนวโน้มสูงขึ้นซึ่งทอดยาวมาตั้งแต่ปลายปี 2023 การเคลื่อนไหวนี้ยังสะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของญี่ปุ่น และการเตรียมตัวของตลาดสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่กำลังจะมาถึง อย่างไรก็ตาม การพูดคุยเกี่ยวกับการแทรกแซงตลาดเพื่อปกป้องค่าเงินเยนของรัฐบาลญี่ปุ่น ยังช่วยพยุงราคาคู่เงิน USDJPY ไว้ในเวลาต่อมา
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD ยุติการร่วงลงต่อเนื่องสองวันติดต่อกัน หลังจากดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ Westpac Leading Index ของออสเตรเลีย แสดงสัญญาณการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียจะขยายตัวต่ำกว่าแนวโน้มจะยังคงท้าทายแรงเทซื้อคู่เงิน AUDUSD อีกด้วย
ในขณะเดียวกัน คู่เงิน NZDUSD พลิกกลับจากจุดต่ำสุดในรอบ 9 สัปดาห์ โดยพุ่งขึ้นสูงสุดในบรรดาสกุลเงินกลุ่ม G10 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ การฟื้นตัวล่าสุดของคู่เงินกีวีส่วนใหญ่แล้วเป็นผลมาจากดัชนีราคา GDT ของนิวซีแลนด์มากกว่าตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) รายไตรมาสที่อ่อนตัวลง ไม่เพียงแค่ดัชนี CPI ของนิวซีแลนด์เท่านั้น แต่แบบจำลองเงินเฟ้อของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ยังคาดการณ์แรงกดดันด้านราคาที่ปรับลดลงอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการลดความเข้มงวดในการดำเนินนโยบายการเงินในประกาศนโยบายการเงินครั้งล่าสุดของธนาคารกลางนิวซีแลนด์
นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ร่วงลงจากจุดสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 วัน โดยยังคงขาดแรงขับเคลื่อน แม้ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาจะหนุนเสียงเรียกร้องให้ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี 2024 ก็ตาม นอกจากนี้ คู่เงิน Loonie ยังไม่สามารถปรับตัวสอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของแคนาดาที่ปรับตัวลง โดยอาจเป็นผลมาจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ และความกังวลเกี่ยวกับความวุ่นวายทางการเมืองในสหรัฐฯ ท่ามกลางการความนิยมที่ทิ้งห่างของ Donald Trump ในผลสำรวจความคิดเห็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงแรงที่สุดในรอบ 6 สัปดาห์แตะจุดต่ำสุดใหม่ในรอบเดือนเมื่อวันก่อนหน้า โดยเผชิญแรงกดดันที่บริเวณระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน ซึ่งขณะนี้ ราคายังทรุดตัวลงเล็กน้อย การปรับลดลงของราคาน้ำมันดิบยังไม่ตอบสนองต่อการรายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ลดลงมากกว่าการคาดการณ์จากสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (API) อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับความต้องการพลังงานที่ลดลงในจีนและอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯที่คาดว่าจะยังคงระดับไว้ระยะหนึ่งตามแนวทาง “higher for longer” ยังส่งผลกระทบต่อแรงเทซื้อน้ำมันดิบในช่วงหลัง
ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวลทางการเมืองในสหรัฐฯและยุโรป หรือความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในปี 2024 ราคาทองคำก็ยังคงได้รับประโยชน์จากปัจจัยเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลง นอกจากนี้ ข้อมูลอัปเดตจากจีนยังชี้ว่ามีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นเพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อแรงเทซื้อทองคำ เนื่องจากจีนเป็นผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยจีนยังได้หยุดการซื้อ XAUUSD ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสังเกตคือ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่จะปรากฏขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก Donald Trump ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยนี้อาจท้าทายแรงเทซื้อทองคำได้เช่นกัน
นอกจากการเปิดเผยข้อมูลตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักร ปฏิทินเศรษฐกิจในวันพุธนี้ยังไม่มีการรายงานตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นผลให้นักลงทุนที่เน้นการเทรดตามโมเมนตัมอาจจะไม่มีแรงจูงใจ อย่างไรก็ตาม การรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน (ปรับปรุงครั้งสุดท้าย) ตัวเลขตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ และข้อมูลปริมาณสำรองน้ำมันดิบสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ จะยังคงได้รับการจับตามองจากเทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรด แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า คือการติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองในสหรัฐฯ และตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็นตัวชี้นำทิศทางที่ชัดเจนของตลาด
โดยสรุป สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนในสหรัฐฯทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อีกทั้ง ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับจีนยังส่งผลกระทบต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย แม้ว่าจะกระตุ้นความไม่แน่นอนให้กับตลาด โดยปัจจัยนี้เมื่อรวมกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ลดลง และปัญหาภายในประเทศจีน ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยพยุงการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ ดังนั้น เทรดเดอร์ยังคงต้องการสัญญาณเพิ่มเติม เพื่อยืนยันแนวโน้มขาขึ้นของราคาทองคำ หากแนวโน้มขาขึ้นของทองคำได้รับการยืนยัน ทองคำจะกลายเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจ โดยท้าทายค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯและสินค้าโภคภัณฑ์
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !