นักลงทุนในตลาดดูเหมือนจะยังมีท่าทีระมัดระวังแม้ความเชื่อมั่นจะมีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงต้นวันอังคาร ท่ามกลางโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่ลดลง นอกจากนี้ สิ่งที่ช่วยหนุนความเชื่อมั่นให้ไปในทางบวกยังเป็นความกังวลว่าจีนจะใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อจัดการกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังประสบปัญหาในขณะที่ธนาคารกลางรายใหญ่อื่นๆต่างไม่ปฏิบัติตามนโยบายการเงินที่เข้มงวดก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจนอกสหรัฐอเมริกายังทำให้นักลงทุนในตลาดหันเหไปที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯและทองคำ ในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสามเดือนก่อนรายงานการประชุม Fed ที่สำคัญ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังชะลอตัวจากการพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นเวลาสามวันติดต่อกันเนื่องจากตลาดพลังงานประเมินแนวโน้มก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตอุปทานอีกครั้ง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
เมื่อพูดถึงสกุลเงิน คู่เงิน USDJPY ร่วงลงมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 ส่วนทางด้านคู่เงิน USDCAD ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดท่ามกลางราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง ทั้งนี้ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ขยับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ คู่เงิน AUDUSD พยายามรักษาระดับจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของผู้ว่าการ RBA ท่ามกลางสัญญาณที่หลากหลายจากรายงานการประชุม RBA
ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD ต่างร่วงลงเล็กน้อย เนื่องจากตลาด crypto ประสบอุปสรรคอีกครั้งจากสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ ในขณะที่มีความกังวลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ร่วงลงเป็นวันที่สามติดต่อกันโดยแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม ในสถานการณ์ดังกล่าว มาตรวัดของดอลลาร์สหรัฐฯเทียบกับสกุลเงินหลักทั้ง 6 สกุลได้รับผลกระทบจากข้อกังวลที่หลากหลายของ Fed รวมไปถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังที่ตกต่ำลง อย่างไรก็ตาม พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีพลิกกลับจากการดีดตัวขึ้นของวันศุกร์จากระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน ในขณะที่พันธบัตรอายุ 30 ปีกลับมาที่ระดับในช่วงปลายเดือนกันยายนอีกครั้ง
เป็นที่น่าสังเกตว่าการพูดคุยกันของ Fed และข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯเมื่อเร็วๆนี้ขัดกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยังส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าความหวังทางเศรษฐกิจจะมีการเพิ่มสูงขึ้นในวอชิงตันก็ตาม นอกจากนี้ความพร้อมของจีนในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมยังช่วยหนุนช่วงขาขึ้นของ XAUUSD เช่นกันแต่ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เพิ่มมากขึ้นในจีนอาจจะทดสอบแรงเทซื้อทองคำได้ อีกทั้ง สถานการณ์ความยากลำบากล่าสุดของเศรษฐกิจอินเดียและการพูดคุยเกี่ยวกับนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ยังตรวจสอบช่วงขาขึ้นของโลหะมีค่าอีกด้วย ในกรณีดังกล่าว สิ่งที่สำคัญคือ อินเดียและจีนเป็นลูกค้าทองคำรายใหญ่ที่สุดสองรายของโลก
ทั้งนี้ Janet Yellen รัฐมนตรีกระทรวงการคลังได้กล่าวกับ CNBC ว่าสหรัฐฯและจีนตระหนักดีว่าพวกเขามีโอกาสที่จะทำงานร่วมกัน ผู้กำหนดนโยบายยังวิพากษ์วิจารณ์อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นโดยกล่าวว่า “สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นอาจจะทำให้กระบวนการลดหนี้มีความยากลำบากเพิ่มขึ้นได้ ” นอกจากนี้ Thomas Barkin ประธาน Fed แห่งริชมอนด์ยังกล่าวเสริมว่า อัตราเงินเฟ้อดูเหมือนจะเริ่มสงบลงแล้ว แต่งานนี้ยังไม่เสร็จสิ้น
ในอีกกรณีหนึ่ง ศุลกากรจีนได้ส่งสัญญาณว่าการส่งออกสมาร์ทโฟนนั้นมีการปรับลดลงในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่ลดน้อยลงและการย้ายฐานการผลิต นอกจากนี้ ข่าวที่ทางการจีนกำลังเตรียมรายการเงินทุนสำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ท่ามกลางความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นก็ได้ท้าทายความเชื่อมั่นของตลาดในเอเชียอีกเช่นกัน
ในอีกทางหนึ่ง Francois Villeroy de Galhau สมาชิกสภาปกครองของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังออกมากล่าวว่าพวกเขาควรและสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ ในขณะเดียวกันก็เสริมว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างนุ่มนวลนั้นมีแนวโน้มมากกว่า ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายจากสหราชอาณาจักรได้ส่งสัญญาณถึงความยากลำบากทางเศรษฐกิจและความท้าทายสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แม้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะยังไม่มีแนวโน้มในตอนนี้ก็ตาม นอกจากนี้ Guy Bullock ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ยังได้แถลงการณ์ในช่วงเช้าของวัน หลังจากการเปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินล่าสุดของ RBA โดยกล่าวว่า "เราไม่มีการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพของภาคการผลิตในออสเตรเลียมาหลายปีแล้ว" Bullock ยังเสริมด้วยว่าธนาคารมีความเชื่อมั่นเชิงบวกมากขึ้นเกี่ยวกับตลาดแรงงาน
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลายแห่งจากสหราชอาณาจักร ยุโรป มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นความเคลื่อนไหวของนักลงทุนในตลาดในวันอังคารนี้ ร่วมกับการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของแคนาดา อย่างไรก็ตาม ความสนใจหลักจะยังคงให้ความสำคัญกับรายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เพื่อยืนยันการสิ้นสุดรอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในกรณีที่รายงานการประชุม FOMC อ้างถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลง และความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น รวมไปถึงการอ่อนตัวลงของสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอาจจะยังคงอยู่ในช่วงแนวโน้มขาลงต่อไป
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !