แม้ว่าความเชื่อมั่นของตลาดส่วนใหญ่ยังคงลดต่ำลง แต่ปัจจัยนี้ก็ยังไม่สามารถหนุนแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯและทองคำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบกับความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐฯ รวมถึงข้อสงสัยเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมของ Fed นอกจากนี้ ตัวเลขดัชนี PMI ล่าสุดประจำเดือนกรกฎาคมของประเทศเศรษฐกิจหลักที่ออกมาในหลากหลายทิศทาง และบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการเปิดเผยตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 2 ของสหรัฐฯ และดัชนีราคาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ในเดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ท้าทายสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาดเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงขยายการปรับตัวลงของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ ขณะที่ราคาทองคำร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์
อย่างไรก็ดี คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังขาดแรงฟื้นตัวเนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศส่วนใหญ่ยังคงอ่อนแอ ขณะที่คู่เงิน USDJPY และคู่เงิน USDCHF ได้รับแรงหนุนจากสถานะสินทรัพย์ปลอดภัยของค่าเงินเยน (JPY) และฟรังก์สวิส (CHF) แม้ว่าจะร่วงลงอย่างมีนัยสำคัญ
ส่วนทางด้าน คู่เงิน AUDUSD,คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD สะท้อนถึงความกังวลของตลาดเกี่ยวกับสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจของจีนและความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ อีกทั้ง ปัญหาของจีนยังสามารถถูกมองว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบนั้นปรับตัวลง แม้ว่าสต็อกน้ำมันดิบจะปรับลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้และมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ก็ตาม
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ต่างก็ชะลอตัวลงจากการปรับตัวสูงขึ้นก่อนหน้า ท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆต่อสถานะของ Donald Trump ในการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อประธานาธิบดี Joe Biden ได้สนับสนุนให้ Kamala Harris ลงสมัครรับเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน ซึ่ง ณ ขณะนี้ Trump ยังเป็นผู้นำในการแข่งขันและมีนโยบายที่ดีกว่าสำหรับสกุลเงินดิจิทัล
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ไม่ได้รับแรงหนุนจากสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของตลาดในวันก่อนหน้า และยังคงถูกกดดันในเวลาต่อมา เนื่องจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ล่าสุดของสหรัฐฯประจำเดือนกรกฎาคม ยิ่งตอกย้ำความกังวลเกี่ยวกับสภาวะ“การลงจอดอย่างนุ่มนวล” (soft landing) ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยังท้าทายแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อีกด้วย
แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลง แต่คู่เงิน EURUSD ยังคงถูกกดดันจากตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของยูโรโซนที่ปรับลดลง และข่าวลือครั้งใหม่เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD ปิดผสม เนื่องจากตัวเลขดัชนี PMI ของสหราชอาณาจักรที่ไม่น่าประทับใจนักไม่สามารถลดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจของอังกฤษได้
ส่วนทางด้านคู่เงิน USDJPY ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน โดยปรับลดลงติดต่อกันเป็นวันที่สี่ เนื่องจากนักลงทุนเตรียมรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างมาก โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นของสหรัฐฯที่ถดถอยลง และการอ่อนค่าล่าสุดของดอลลาร์สหรัฐฯ ยังสนับสนุนแรงเทขายคู่เงินเยนด้วยเช่นกัน และเป็นที่น่าสังเกตว่า สถานะสินทรัพย์ปลอดภัยของเงินเยนญี่ปุ่นได้เพิ่มแรงกดดันขาลงให้กับคู่เงินเยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ตลาดมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์และความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ยังเป็นผลให้คู่เงินเยนเพิกเฉยต่อข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ประจำเดือนกรกฎาคมของญี่ปุ่นที่มีการรายงานในหลากหลายทิศทาง โดยที่แตะระดับต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์
ในช่วงต้นวัน Masato Kanda รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังด้านการต่างประเทศของญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐมนตรีคลังกลุ่ม G20 ได้หารือเกี่ยวกับกำลังการผลิตส่วนเกินของจีน ซึ่งเป็นปัจจัยที่จุดชนวนความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า
ความวิตกกังวลนี้ไม่ได้มาจากญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังมาจากความพร้อมของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯอย่าง Donald Trump ที่จะเรียกเก็บภาษีนำเข้า 60% จากสินค้าจีน ซึ่งสร้างความกังวลเรื่องสงครามการค้าและส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาด ยิ่งไปกว่านั้น ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว และการที่ไม่สามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้แม้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง ยังคงหนุนสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยปรับตัวสูงขึ้น โดยรอยเตอร์มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับปัญหาสภาพคล่องในจีน ซึ่งท้าทายการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาดและยังส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดาอ่อนค่าลง
อีกทางด้านหนึ่ง William Dudley อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์กได้เน้นย้ำถึงความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยข้อมูลดังกล่าวเมื่อประกอบกับดัชนี PMI และข้อมูลภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯที่ปรับลดลง ยังทำให้แรงเทขายดอลลาร์สหรัฐฯกลับมาอีกครั้ง แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี และ 30 ปี จะยังคงขยับตัวสูงขึ้นก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงพลิกกลับจากระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ และปรับลดลงติดต่อกันเป็นวันที่สอง
นอกเหนือไปจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผลประกอบการที่น่าผิดหวังของยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีสหรัฐฯยังส่งผลให้ S&P และ Nasdaq มุ่งหน้าสู่การรายงานการซื้อขายรายวันที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2022 และยังกดดันดัชนีดาวโจนส์ให้ปรับตัวลงอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม สภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงยังช่วยหนุนค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) และฟรังก์สวิส (CHF) แม้จะไม่สามารถกระตุ้นแรงเทซื้อทองคำเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจของจีนก็ตาม ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ และแรงเทขาย XAUUSD ยังเข้าใกล้เส้นแนวรับขาขึ้นอายุ 5.5 เดือนอีกด้วย นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงปรับตัวลง เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีน รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการปรับฐานและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากธนาคารกลางออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นครั้งที่สองติดต่อกัน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า การเปลี่ยนแปลงคำแถลงของ BoC ครั้งใหม่ และแถลงการณ์ของผู้ว่าการ BoC Tiff Mackelm ทำให้กลุ่มที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังคงมีความเชื่อมั่นและหนุนให้คู่เงิน USDCAD พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 14 สัปดาห์
นอกจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่สอง สถานการณ์ไฟป่าที่เลวร้ายลงในอัลเบอร์ตาของแคนาดายังส่งผลกระทบต่อดอลลาร์แคนาดา (CAD) ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ข้อมูลภาคอสังหาริมทรัพย์ของแคนาดาที่ปรับลดลง และความล้มเหลวของราคาน้ำมันดิบในการรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าได้ผลักดันให้ราคาคู่เงิน USDCAD พุ่งสูงขึ้น แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนตัวลงก็ตาม
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบพลิกกลับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์ โดยไม่ตอบสนองต่อการลดลงของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯประจำสัปดาห์ที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ การปรับตัวลงของราคาน้ำมันดิบอาจเชื่อมโยงกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับความต้องการพลังงานที่ชะลอตัวลงของจีนและสหรัฐฯ รวมถึงอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่
หลังจากเผชิญกับความผันผวนอย่างเห็นได้ชัด นักลงทุนที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรดมีแนวโน้มที่จะพบกับอีกหนึ่งวันที่ตลาดเต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว เนื่องจากข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯหลายรายการมีกำหนดการเผยแพร่ในปฏิทินเศรษฐกิจในวันพฤหัสบดีนี้ นอกจากนี้ แถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) Christine Lagarde และการรายงานข้อมูลความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ IFO ของเยอรมนีสำหรับเดือนกรกฎาคมจะยังดึงดูดความสนใจนักลงทุนในตลาด
ในบรรดาปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจเหล่านี้ การรายงานตัวเลขเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 2 ของสหรัฐฯ และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ท่ามกลางการพูดคุยเกี่ยวกับความแข็งแรงของสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ อีกสิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองคือ คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯประจำเดือนมิถุนายน หากข้อมูลที่มีการรายงานออกมานั้นยังคงส่งผลต่อความกังวลเกี่ยวกับสภาวะ“การลงจอดอย่างนุ่มนวล” (soft landing) ดอลลาร์สหรัฐฯอาจอยู่ในภาวะ consolidate จากการร่วงลงล่าสุดก่อนการรายงานข้อมูลดัชนีราคาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งเป็นข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯในวันศุกร์นี้ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า การประชุม FOMC ในสัปดาห์หน้าจะเน้นย้ำถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและสัญญาณเงินเฟ้อของสหรัฐฯ หลังจากที่ผู้กำหนดนโยบายไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้ ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย
ในอีกทางหนึ่ง แถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) และข้อมูล IFO ของเยอรมนีอาจไม่สามารถรักษาระดับช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD ได้ แม้ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะยังคงถูกกดดัน เนื่องจากนโยบายการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศยูโรโซนและปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในยุโรป