ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading • 2022-05-12

เงินเฟ้อ-ปัจจัยชะลอเศรษฐกิจฉุดให้ตลาดเข้าสู่จุดวิกฤต ขณะที่ USD พุ่งสู่จุดสูงสุดเดิมในรอบ 20 ปีรับตัวเลข CPI สหรัฐฯ

เงินเฟ้อ-ปัจจัยชะลอเศรษฐกิจฉุดให้ตลาดเข้าสู่จุดวิกฤต ขณะที่ USD พุ่งสู่จุดสูงสุดเดิมในรอบ 20 ปีรับตัวเลข CPI สหรัฐฯ

เช้านี้ ตลาดกลับมาปิดรับความเสี่ยงอย่างหนักหน่วง เนื่องจากนักเทรดในเอเชีย/ยุโรปตอบรับตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นในเดือนเมษายน รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในอังกฤษและจีน อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นที่หลากหลายของผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้กดดันมูลค่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแม้ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2002

ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นไม่สามารถฉุดให้ราคาทองร่วงลงได้เนื่องจากผลตอบแทนยังคงอ่อนค่าอยู่ ขณะที่สกุลเงินที่มีความเสี่ยงและราคาน้ำมันกลับโดนพิษค่าเงินดอลลาร์ไปเต็มๆ

การคาดการณ์เงินเฟ้อที่ลดลงจากออสเตรเลียเป็นปัจจัยลบต่อ AUDUSD ขณะที่ GDP ของสหราชอาณาจักรที่ปรับตัวลงสำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2022 และข้อมูลสำคัญอื่นๆ ประจำเดือนนี้ได้ฉุดให้ GBPUSD เข้าสู่ระดับต่ำสุดเดิมในรอบ 2 ปี

ส่วนคริปโตฯ ก็ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเสี่ยง ขณะที่หุ้นเอเชียและยุโรปยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีการปรับลงตามหุ้นสหรัฐไปติดๆ

ขณะที่การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในตลาดจะช่วยดันให้สินทรัพย์ปลอดภัยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอลลาร์สหรัฐและเงินเยนญี่ปุ่น แต่นักลงทุนจะต้องเฝ้าจับตาตัวเลข PPI ล่าสุดของสหรัฐซึ่งจะมีความสำคัญต่อทิศทางตลาดต่อไป

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์หลักหลายรายการ ดังนี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) กลับตัวลงหลังปรับขึ้นจากราคา Low เดิมในรอบ 2 สัปดาห์ ลบ 2.0% ที่ราวๆ $105.00
  • ทองคำ ทดสอบระดับ $1,850 ใกล้แนวรับเดิมในรอบ 9 เดือน และเส้น 200-DMA
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD INDEX) ยืนเหนือ 104.00 ใกล้จุดสูงสุดเดิมของปี 2002
  • ดัชนี FTSE 100 ร่วง 0.70% ขณะที่ DAX ย่อ 1.30% และ EUROSTOXX50 ดิ่งหนักกว่า 1.70%
  • ดัชนี Dow Jones ร่วง 1.0% ขณะที่ S&P 500 ดิ่ง 1.65% ส่วน Nasdaq ตกฮวบ 3.18% ในวันพุธที่ผ่านมา
  • BTCUSD และ ETHUSD ยังถูกกดดันที่ราคาต่ำสุดตั้งแต่ปลายปี 2020 และเม.ย. ปี 2021 ที่ราวๆ $27,850 และ $1,900 ตามลำดับ
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ไร้ความปรานีสำหรับฝั่งขาซื้อ!

จาก CPI พื้นฐานและ CPI ทั่วไปของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ มีแนวโน้มที่ตลาดจะอยู่ในเกณฑ์ลบอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ความวิตกเกี่ยวกับข่าวจากประเทศจีนซึ่งเผยว่าสถานการณ์โควิดไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และการขยายการล็อกดาวน์ในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ รวมถึงวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ได้ตอกย้ำความกังวลที่ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว และหนุนสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี

ตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่แข็งค่าขึ้นของธนาคารกลางแห่งนิวซีแลนด์ (RBNZ) ไม่สามารถช่วยหนุนคู่เงิน NZDUSD ได้ ขณะที่ AUDUSD เองก็ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ USD ปรับตัวขึ้นอย่างหนัก นอกจากนี้ GBPUSD ยังได้รับผลกระทบจากตัวเลขที่ออกมาในเกณฑ์ลบของอังกฤษ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกังวลด้านเศรษฐกิจของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ส่วนราคาน้ำมันก็ได้มีการปรับตัวลดลงท่ามกลางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นและประเด็นการส่งออกน้ำมันจากอิหร่าน อีกทั้งยังมียอดสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ทองคำก็ยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐร่วงลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน และเนื่องจากทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในรูปแบบเดิมๆ นั่นเอง

ความกังวลที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรายงานความมั่นคงทางการเงินรายครึ่งปีของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เป็นปัจจัยฉุดสกุลเงินคริปโต อีกทั้งยังมีข่าวที่ว่าสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ของสหรัฐอเมริกาได้มีข้อเสนอกฎเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับ Stablecoin

โดยภาพรวมขณะนี้ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในตลาดได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินอย่างต่อเนื่อง

  • ⏫ 🟢 สัญญาณซื้อแรง: USDJPY, USDCAD
  • ⏬ 🔴 สัญญาณขายแรง: Nasdaq, silver, AUDUSD, GBPUSD
  • ⏫ 🟢 สัญญาณซื้อ: USD Index
  • ⏬ 🔴 สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, brent oil, gold, ETH/USD, BTC/USD

จับตา PPI สหรัฐฯ แม้อาจจะไม่ได้ช่วยหนุนตลาดมากนัก

เมื่อพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธนาคารกลางเร่งรัดนโยบายการเงินแบบหดตัว เรามองว่าดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐ (PPI) ของสหรัฐในเดือนเมษายนที่ผ่านมาจะเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามอง

หากอัตราเงินเฟ้อพุ่งตามตัวเลข CPI ไปติดๆ ก็จะยิ่งหนุนให้เงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ น้ำมันดิบ และสกุลเงินที่มีความเสี่ยงอย่างหนัก


ทำกำไรจากความเคลื่อนไหวในตลาดด้วยระบบ Copy Trade ของ MTrading พร้อมเงื่อนไขชั้นนำ:

คัดลอกการเทรดของนักเทรดมือโปรโดยอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ด้วยค่าสเปรด 0 ผ่านบัญชี M.Pro!

ขอให้ท่านโชคดีในการเทรด!