บรรยากาศการซื้อขายของตลาดในเช้าวันพฤหัสบดีเต็มไปด้วยความหวังอย่างระมัดระวัง เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯส่งสัญญาณทางอ้อมถึงความจำเป็นในการปรับนโยบายการเงิน แม้ว่าการชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเป็นที่คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางก็ตาม นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่ช่วยให้เทรดเดอร์ยังมีความหวังอยู่ก็คือ ข่าวสารจากจีนและความกังวลเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจถดถอยลง
ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงถูกกดดัน และเป็นผลให้ค่าเงิน AUD,NZD และสินค้าโภคภัณฑ์สามารถชะลอการร่วงลงก่อนหน้านี้ได้
ทั้งนี้ คู่เงิน USDJPY ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯมากที่สุดท่ามกลางความกังวลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และสัญญาณอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ขณะที่ ราคาของคู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD กลับขาดทิศทางที่ชัดเจน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวนในระหว่างสัปดาห์จากยูโรโซนและสหราชอาณาจักร
ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในขณะที่พยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากเส้น 100-SMA แต่ราคาน้ำมันดิบกลับยังคงได้รับแรงกดดันท่ามกลางความกลัวอุปทานที่สูงขึ้นและความต้องการพลังงานที่ลดลง
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดในแดนบวกและส่งผลให้หุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกปรับตัวสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ ราคาหุ้นฟิวเจอร์สของสหรัฐฯและหุ้นในสหราชอาณาจักร รวมถึงในยุโรป จึงยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อย
ทางฝั่งของสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 และ ETHUSD ก็พุ่งสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 เช่นเดียวกัน ท่ามกลางการมองโลกในแง่ดีในหมู่เทรดเดอร์สกุลเงินดิจิทัล
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
หลังจากได้เห็นการพุ่งสูงขึ้นอย่างโดดเด่นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯหลังจากการเผยแพร่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในเวลาไม่นาน ดอลลาร์สหรัฐฯก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญคือการที่ Janet Yellen รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯอาจต้องรับผิดชอบต่อการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดย Yellen ระบุว่า"ไม่ควรยึดติดกับความผันผวนเล็กน้อยของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)" ซึ่งความคิดเห็นของเธอเป็นการลดทอนความกังวลทางอ้อมต่อนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่อาจส่งผลให้ไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024
นอกจากความเห็นของ Yellen แล้ว ข่าวจาก Politico ก็ยังท้าทายภาวะกระทิงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย เนื่องจากประธาน Fed Jerome Powell ได้พบกับคณะกรรมการบริหารทางการเงินของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยพรรคเดโมแครต ภายหลังจากการเปิดเผยข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความถูกต้องของการพุ่งสูงขึ้นของตัวเลขค่าดัชนี CPI และ Core CPI รวมไปถึงการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ Powell ส่งสัญญาณว่าตัวเลขดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับการคาดการณ์
ในขณะเดียวกัน Austan Goolsbee ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งชิคาโกก็ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อจะออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์เล็กน้อย แต่ก็ยังคงอยู่ในกรอบที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งความคิดเห็นนี้ได้สนับสนุนแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนตามการคาดการณ์ของตลาด และเป็นการท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน
ในอีกทางหนึ่ง สื่อจีนได้รายงานข่าวปริมาณการเดินทางในช่วงวันหยุดที่เพิ่มขึ้นถึง 14% และมองว่านี่เป็นสัญญาณเชิงบวกทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่ดีในตลาดและส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่างเช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนี้ Michael Barr รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯด้านการกำกับดูแลออกมาระบุว่า Fed จำเป็นต้องเห็นข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะเริ่มทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Barr ยังกล่าวด้วยว่าข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า Fed นั้นอยู่ใน "เส้นทางที่ดี" แต่ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าจะมีการลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ในเวลาเดียวกัน ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้นก็ได้ท้าทายการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สืบเนื่องมาจากความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและอียิปต์ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่เลบานอนยิงจรวดเข้าใส่อิสราเอลนั้น ซึ่งอิสราเอลได้มีการตอบโต้ด้วยการเตรียมการโจมตีเบรุตและยกเลิกการเจรจาสันติภาพกับไคโร อีกทั้ง Mike Turner ประธานกรรมาธิการข่าวกรองสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯออกมาเตือนถึง "ศักยภาพทางทหารจากต่างประเทศที่ส่งผลต่อความมั่นคง" พร้อมเผยแพร่ข้อมูลลับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคน ซึ่งในทางกลับกัน เหตุการณ์นี้ได้จุดประกายความกังวลเกี่ยวกับคู่แข่งของสหรัฐฯ และได้ท้าทายความเชื่อมั่นเช่นเดียวกับที่ได้ท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์ไปก่อนหน้านี้
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY เพิกเฉยต่อการหดตัวที่น่าประหลาดใจของตัวเลข GDP ของญี่ปุ่นท่ามกลางการพูดคุยถึงการที่ BoJ จะออกจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเร็วขึ้น โดย คู่เงิน GBPUSD ไม่ได้ปรับตัวตามข้อมูลเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรที่ผันผวน ขณะที่ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) Andrew Bailey สนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย
นอกจากนั้น ระดับสูงสุดในรอบสามเดือนของสินค้าคงคลังรายสัปดาห์ของสหรัฐฯร่วมกับความคิดเห็นจากซาอุดีอาระเบียที่แนะนำให้มีการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันได้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบ ในขณะที่ราคาทองคำยังรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากเส้น 100-SMA
การรายงานยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีการผลิตระดับภูมิภาคจากนิวยอร์กและฟิลาเดลเฟียจะตกเป็นที่จับตามอง ในบรรดาข้อมูลเหล่านี้ ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯจะได้รับความสนใจอย่างมากและความเป็นไปได้ที่ตัวเลขจะปรับลดลงอาจช่วยหนุนแรงเทขายดอลลาร์สหรัฐฯได้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขมาตรวัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานที่แข็งแกร่งอาจท้าทายช่วงแนวโน้มขาลงของดอลลาร์สหรัฐฯได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงยังไม่แน่ชัดนัก และด้วยเหตุนี้นักลงทุนควรคงสถานะซื้อ (long position) ของสินทรัพย์ปลอดภัยนี้ไว้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !