ตลาดยังคงมีทิศทางที่ไม่ชัดเจนในช่วงต้นวันพฤหัสบดี เนื่องจากวันหยุดวันขอบคุณพระเจ้าและหัวข้อข่าวที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงในประเทศเศรษฐกิจหลักๆและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางชั้นนำต่างๆ ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยที่หนุนความเชื่อมั่นและส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคปอดบวมอย่างรุนแรงในประเทศจีนยังส่งผลให้ความเชื่อมั่นของตลาดมีทิศทางบวกอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯจึงร่วงลงครั้งแรกในรอบสามวันและช่วยให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น สินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ชะลอตัวจากการร่วงลงก่อนหน้านี้ได้ ถึงกระนั้น ราคาน้ำมันดิบไม่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯและยังคงถูกกดดันท่ามกลางข่าวเชิงลบเกี่ยวกับจีนและ OPEC
อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำกลับตัวจากการถอยกลับของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบเดือน ในขณะที่ BTCUSD และ ETHUSD ชะลอตัวจากการพุ่งขึ้นสูงสุดของวันก่อนหน้าด้วยความเคลื่อนไหวที่ซบเซา นอกจากนี้ ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯยังคงถดถอย แม้ว่าตลาดหุ้นวอลล์สตรีทจะปิดตัวลงในแดนบวก ขณะที่หุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกปรับตัวสูงขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน AUDUSD ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนและการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของจีน รวมไปถึงตัวเลขค่าดัชนี PMI ที่น่าผิดหวังโดยพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 ส่วนทางด้าน คู่เงิน GBPUSD และคู่เงิน USDCHF ปรากฏว่าส่วนใหญ่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากนักลงทุนในตลาดกำลังรอการรายงานค่าดัชนี PMI เบื้องต้นในเดือนพฤศจิกายน
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน เนื่องจากตัวเลขข้อมูลสินค้าคงคลังรายสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้นและการเลื่อนการประชุม OPEC จากวันที่ 26 เป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน รวมไปถึงการพูดคุยของคณะกรรมาธิการทางเทคนิคของ OPEC หรือที่รู้จักในชื่อ คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Commission Board) เสนอมุมมองถึงแนวโน้มขาลงของตลาดน้ำมัน
ในอีกทางหนึ่ง การรายงานตัวเลขค่าดัชนี PMI เบื้องต้นของออสเตรเลียในเดือนพฤศจิกายนนั้นมีตัวเลขที่น่าผิดหวัง โดยค่าดัชนี PMI ภาคการผลิตลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 ในขณะที่ภาคบริการปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2021
อย่างไรก็ตาม JP Morgan ได้อ้างถึงโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักต่างๆจะช่วยปรับปรุงความเชื่อมั่น ซึ่งในทางกลับกันก็จะส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน ในอีกทางหนึ่ง ข่าวที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ร้องขออย่างเป็นทางการให้จีนให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับการระบาดของโรคปอดบวมที่รุนแรงซึ่งวิกฤติ ณ โรงพยาบาลในสองเมืองยังส่งผลให้ความเชื่อมั่นของตลาดมีทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าตลาดจะไม่มีการดำเนินการในช่วงวันหยุดขอบคุณพระเจ้าก็ตาม
ในวันพุธที่ผ่านมา คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯในเดือนตุลาคมได้ท้าทายภาวะกระทิงของดอลลาร์สหรัฐฯด้วยผลลัพธ์ -5.4% เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ -3.1% และ +4.6% จากการรายงานครั้งก่อน แต่การเรียกร้องค่าชดเชยว่างงานเบื้องต้นปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบห้าสัปดาห์ที่ 209K เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 226K และ 233K ของการรายงานก่อนหน้า นอกจากนี้ ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UoM) ในเดือนพฤศจิกายนยังอยู่ที่ 61.3 เมื่อเทียบกับการประมาณการเบื้องต้นที่ 60.4 อีกทั้ง ยังมีการรายงานจากเครื่องมือติดตาม GDPNow ของ Fed แห่งแอตแลนตาที่ประมาณการการเติบโตของสหรัฐฯที่ 2.1% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.0% ในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยรายละเอียดนี้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกสำหรับการเติบโตของการลงทุนภาคเอกชน
อีกทางด้านหนึ่ง Frank Elderson เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อ้างถึงพันธบัตร Supernational ของสหภาพยุโรป ซึ่งรวมถึงการพิจารณาการดำเนินการรีไฟแนนซ์ระยะยาวแบบกำหนดเป้าหมาย (TLTRO) สำหรับธนาคารอีกครั้ง นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายของ ECB และ Joachim Nagel หัวหน้าธนาคาร Bundesbank ยังกล่าวว่า ECB ได้เข้าใกล้ระดับที่พิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ยสุดท้าย อีกด้วย โดยการรายงานค่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซนครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายนยังได้รายงานตัวเลขซ้ำที่ตัวเลข -17.9 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ -17.6 และ -17.9 จากการรายงานครั้งก่อน
นอกจากนี้ Jeremy Hunt นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรได้ประกาศแถลงการณ์ฤดูใบไม้ร่วงซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอด้านงบประมาณ รวมไปถึงแผนการลดหนี้และลดภาษีเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อและกระตุ้น GDP โดยสำนักงานความรับผิดชอบด้านงบประมาณแห่งสหราชอาณาจักร (OBR) ได้มีการคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.4% ในปี 2023 เทียบกับการประมาณการในเดือนมีนาคมที่ 6.1% ในขณะที่การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คาดว่าจะอยู่ที่ 0.6% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมที่คาดการณ์ไว้ -0.2%
ทั้งนี้ Tiff Macklem ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา (BoC) มีท่าทีเอนเอียงไปทางนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเล็กน้อยในขณะที่เขากล่าวว่า “อัตราดอกเบี้ยของแคนาดาอาจอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอ” Macklem ยังกล่าวอีกว่าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ธนาคารกลางแคนาดาก็พร้อมที่จะดำเนินนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
แม้ว่าวันหยุดวันขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐอเมริกาจะจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาด แต่การรายงานค่าดัชนี PMI เดือนพฤศจิกายนครั้งแรกจากยุโรป เยอรมนี และสหราชอาณาจักรจะยังกระตุ้นนักลงทุนในตลาด หากตัวเลขข้อมูลกิจกรรมเศรษฐกิจมีการปรับลดลง อาจจะมีโอกาสในการเห็นการเปลี่ยนแปลงของสินค้าโภคภัณฑ์และสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง รวมไปถึงการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !