ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading • 2022-05-09

ดอลลาร์สหรัฐพุ่งรับวิกฤตโควิดจีน-ความตึงเครียดรัสเซีย หลัง Fed ส่งผลให้ตลาดปิดรับความเสี่ยงหนัก

ดอลลาร์สหรัฐพุ่งรับวิกฤตโควิดจีน-ความตึงเครียดรัสเซีย หลัง Fed ส่งผลให้ตลาดปิดรับความเสี่ยงหนัก

เช้านี้ นักลงทุนในตลาดหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอย่างหนักหน่วงรับข่าวสำคัญในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงประเด็นความขัดแย้งของรัสเซียและวิกฤตโควิดในจีน ตลอดจนปัจจัยสำคัญจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ส่งผลให้ตลาดกลับไปให้ความสนใจในสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้ง

การมุ่งหาสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นแรงหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นไปแตะราคาสูงสุดเดิมในรอบ 20 ปีอีกครั้ง และส่งแรงกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินที่มีความเสี่ยงต่อไป

ทองคำร่วงหนักสุดในรอบสัปดาห์ ขณะที่น้ำมันเบรนท์ (Brent) ก็กลับตัวลงหลังทำแนวโน้มขาขึ้นติดต่อกันถึง 3 วัน ส่วนคู่เงิน NZDUSD ก็ดิ่งหนักสุดในหมู่คู่เงินของกลุ่มประเทศ G10 ขณะที่หุ้นเอเชียแดงเถือกในช่วงเริ่มค้นของรอบการซื้อขายของยุโรป

ทั้งนี้ คริปโตฯ ก็ยังคงถูกกดดันจากความวิตกของนักลงทุนในตลาด โดยราคาได้หลุดแนวรับสำคัญในระยะสั้นไปแล้วเรียบร้อย

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์หลักหลายรายการ ดังนี้:

  • น้ำมัน BRENT กลับตัวลงหลังเป็นเทรนด์ขาขึ้น 3 วันติดต่อกัน โดยราคาร่วงลงไปแตะระดับ $111.00 ลบ 1.8%
  • ทองคำ ปรับตัวลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับประมาณ $1,870
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD INDEX) ยังยืนเหนือระดับ 104.00 หลังแตะราคา High เดิมในรอบ 20 ปี
  • ดัชนี FTSE 100 ร่วง 0.64% ขณะที่ดัชนี DAX ยังมีแนวโน้มไม่ชัดเจน ส่วนดัชนี EUROSTOXX50 ลบ 0.70%
  • ดัชนี Dow Jones และ S&P 500 ปรับลง 0.30% และ 0.57% ตามลำดับ ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดิ่งกว่า 1.40% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา
  • BTCUSD และ ETHUSD ยังถูกกดันที่ระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. และ ก.พ. ที่ราวๆ $33,500 และ $2,450 ตามลำดับ
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

สถานการณ์โควิด-วิกฤตการเมืองฉุดอารมณ์ตลาด…

นอกจากความกังวลเกี่ยวกับทิศทางต่อไปของ Fed ยังมีข่าวยอดผู้ติดเชื้อในจีนและความตึงเครียดในรัสเซียเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe-haven)

ดัชนี DXY ดิ่งลงสู่ระดับสำคัญในปี 2002 จากวิกฤตด้านอุปทาน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งบีบบังคับให้แบงก์ชาติหลายแห่งกลับมาใช้นโยบาย Easy money อีกครั้ง

ในขณะเดียวกัน ประเทศจีนได้มีการประกาศมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ขณะที่ไวรัสมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทั้งในเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง ส่วนรัสเซียเองก็ยังเพิกเฉยต่อการคว่ำบาตรของกลุ่มประเทศ G7 และได้เริ่มเฉลิมฉลองชัยชนะจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งยังมีแผนที่จะประกาศเป้าหมายอย่างชัดเจนในการบุกรุกยูเครนอีกด้วย

ความผันผวนในตลาดจีนและแถลงการณ์ในโทน Hawkish ของ Fed ในวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นปัจจัยหนุนให้นักลงทุนแห่ซื้อ USD และฉุดราคาคู่เงิน AUDUSD และ NZDUSD อย่างหนักหน่วง

หุ้นฝั่งเอเชียรวมถึงยุโรปอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ขณะที่ BTCUSD และ ETHUSD ก็ได้ย่อลงไปทดสอบระดับต่างๆ เมื่อต้นปี 2022 เป็นที่เรียบร้อย

  • ⏫ 🟢 สัญญาณซื้อแรง: USDJPY
  • ⏬ 🔴 สัญญาณขายแรง: Nasdaq, silver, AUDUSD, GBPUSD
  • ⏫ 🟢 สัญญาณซื้อ: USD Index
  • ⏬ 🔴 สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, brent oil, gold, ETH/USD, BTC/USD

จับตาปัจจัยสำคัญต่อความเสี่ยงเสี่ยง ก่อนการประกาศเงินเฟ้อสหรัฐ

ทั้งนี้ หากพิจารณาจากปฏิทินเศรษฐกิจที่เริ่มเบาบาง รวมถึงปัจจัยเด่นๆ ที่สร้างความเสี่ยงและกดดันความเคลื่อนไหวในตลาด นักเทรดควรให้ความสนใจกับปัจจัยเหล่านั้นซึ่งจะมีผลต่อทิศทางตลาดในระยะสั้นๆ อย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี มีตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index หรือ CPI) ของสหรัฐในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมาเป็นตัวเลขที่ควรเฝ้าจับตา ซึ่งจะช่วยส่งสัญญาณและบอกใบ้ท่าทีต่อไปของ Fed ได้

ขณะที่นักลงทุนก็ยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงก่อนที่ตัวเลข CPI จะออก มีแนวโน้มที่ USD และคู่เงิน USDJPY จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้นักลงทุนระวังแรงขายให้ดีๆ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากข่าวตัวเลขที่อาจจะออกมาไม่ดีเท่าที่ควร


ทำกำไรจากความเคลื่อนไหวในตลาดด้วยระบบ Copy Trade ของ MTrading พร้อมเงื่อนไขชั้นนำ:

คัดลอกการเทรดของนักเทรดมือโปรโดยอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ด้วยค่าสเปรด 0 ผ่านบัญชี M.Pro!

ขอให้ท่านโชคดีในการเทรด!