ตลาดการเงินทั่วโลกเปิดสัปดาห์ด้วยทิศทางบวก โดยยังคงได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผ่อนคลายนโยบายการเงินที่เข้มงวดประกอบกับข้อมูลตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯที่ปรับลดลง ความเชื่อมั่นในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นยังแสดงให้เห็นถึงดัชนีแนวโน้มการจ้างงานของสหรัฐฯที่อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบสามปีอีกด้วย ในสถานการณ์เดียวกันนี้ เทรดเดอร์แทบไม่ได้ใส่ใจกับพาดหัวข่าวความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และความคิดเห็นที่มีออกมาในหลากหลายทิศทางจากการประชุมของ Fed
ในขณะที่ ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอตัวจากการร่วงลงในสัปดาห์ก่อนหน้า คู่เงิน EURUSD, คู่เงิน GBPUSD และคู่เงิน AUDUSD ยังปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์ก่อนที่จะปรับลดลงในช่วงต้นวันอังคาร อย่างไรก็ตาม คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกันโดยไม่ตอบสนองต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ตกต่ำ ส่วนทางด้าน คู่เงิน NZDUSD ยังคงปรับตัวลงหลังจากเริ่มต้นสัปดาห์ได้ไม่ดีนัก
ราคาทองคำพลิกกลับจากการพุ่งสูงขึ้นของวันก่อนหน้า ขณะที่ถอยกลับจากระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ อีกทั้ง ราคาน้ำมันดิบไม่สามารถรักษาระดับการดีดตัวขึ้นในช่วงวันจันทร์จากระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ได้ เนื่องจากความหวาดกลัวที่เกี่ยวข้องกับอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้นและความต้องการพลังงานที่ลดต่ำลง
ในกรณีของสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ยุติการพุ่งสูงขึ้นในช่วงสี่วันเนื่องจากการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯร่วมกับความวิตกกังวลที่เกิดจากบทบาทของสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯในตลาดสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ความหวังที่จะได้เห็นกระแสเงินทุนไหลผ่าน spot ETF เพิ่มมากขึ้น ยังทำให้สกุลเงินดิจิทัลชั้นนำฟื้นตัวได้ในช่วงต้นวันอังคาร
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงแข็งค่า แม้ตลาดจะยอมรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนกันยายนและผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ซบเซา รวมไปถึงตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯที่ถดถอยลง โดยอาจเป็นผลมาจากข่าวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆทั่วโลกส่วนใหญ่ที่ปรับลดลงและตลาดที่อยู่ในช่วงสภาวะทรงตัว ท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบาง
เมื่อพูดถึงข่าวความตึงเครียดระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป (EU) เสนอการคว่ำบาตรการส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ของรัสเซีย ซึ่งจะกระทบรายได้ประมาณ 25% ของมอสโก นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีกลาโหมของอิสราเอลยังมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เดินหน้าปฏิบัติการทางทหารใน Rafah ต่อไปเพื่อกดดันกลุ่มฮามาส ทางฝั่งของกระทรวงกลาโหมรัสเซียก็ได้แสดงความพร้อมที่จะจัดการซ้อมรบอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี
ในบรรดาเจ้าหน้าที่จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) John Williams ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์กและ Thomas Barkin ธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์ได้มีท่าทีขัดแย้งเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยในการแถลงการณ์ ทั้งคู่แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ แต่กลับมีท่าทีลังเลที่จะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสอดคล้องกับแถลงการณ์ของประธาน Fed Jerome Powell เมื่อสัปดาห์ก่อน ความคลุมเครือนี้ยังส่งผลกระทบต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานของสหรัฐฯในเดือนเมษายนลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2021 ขณะที่มีการรายงานตัวเลขอยู่ที่ 111.25 เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้าที่ 112.16 ซึ่งแนวโน้มงานดังกล่าวเป็นไปตามการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่ไม่น่าประทับใจนักเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในอีกทางหนึ่งยังช่วยหนุนโอกาสที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนด้วยเช่นกัน
แม้ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะปรับตัวดีขึ้น แต่ในช่วงต้นวันอังคาร คู่เงิน EURUSD กลับถอยกลับจากการพุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสี่วันในวันจันทร์ โดยการพุ่งสูงขึ้นล่าสุดของคู่เงินยูโรนี้อาจเป็นผลมาจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในยูโรโซนประจำเดือนพฤษภาคมที่ปรับตัวดีขึ้นเป็น -3.6% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ -4.9 และจากเดิมที่ -5.9% อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายของ ECB Boris Vujčić และ Gediminas Šimkus ยังได้ขจัดความกังวลเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ภายหลังที่มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าการดำเนินการครั้งแรกจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน
ไม่เพียงแต่คู่เงิน EURUSD เท่านั้น คู่เงิน GBPUSD ยังเพิกเฉยต่อการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯที่พุ่งสูงขึ้นเป็นวันที่สี่ติดต่อกันในวันจันทร์ ก่อนที่จะเกิดการร่วงลงเล็กน้อยในเวลาต่อมา ในสถานการณ์เดียวกันนี้ คู่เงินเคเบิลได้รับแรงหนุนจากการที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) สนับสนุนการเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป ถึงกระนั้น ข้อมูลการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดต่ำลงที่สุดของสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 ตามข้อมูลของ Barclay Card ยังส่งผลกระทบต่อปอนด์สเตอร์ลิงในภายหลัง
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD ปรับลดลง แม้ว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม โดยอาจมีสาเหตุมาจากการที่ RBA ไม่สามารถโน้มน้าวการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ อีกทั้ง แรงกดดันด้านลบต่อคู่เงินออสซี่อาจเป็นผลมาจากยอดค้าปลีกในไตรมาสที่ 1 ของออสเตรเลียที่มีการรายงานอยู่ที่ -0.4% QoQ เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ -0.2% และการรายงานก่อนหน้าที่ +0.3% นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของคู่เงิน NZDUSD ยังสะท้อนถึงรูปแบบกราฟแท่งเทียน Doji ที่เกิดขึ้นในวันจันทร์ โดยปรับตัวตามคู่เงิน AUDUSD โดยปรับลดลงระหว่างวัน แม้ว่าจะไม่มีการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญในบ้านก็ตาม
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกันเนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงค่าเงินเยนของญี่ปุ่น โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจภาคบริการของญี่ปุ่น (Jibun Services PMI) ประจำเดือนเมษายนจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจาก 54.1 เป็น 54.3 แต่ยังคงไม่สามารถหนุนแรงเทซื้อค่าเงินเยนได้ท่ามกลางนักลงทุนที่ยังคงกังวลว่า BoJ จะไม่ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบหลายปี
ราคาทองคำชะลอตัวลงหลังการฟื้นตัวในช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและความท้าทายอันเนื่องมาจากความต้องการทองคำที่ปรับลดลงจากจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก อีกปัจจัยที่ทดสอบช่วงแนวโน้มขาขึ้นของ XAUUSD ก็คือ สภาวะทรงตัวของตลาดจากการเคลื่อนไหวของสัปดาห์ก่อนหน้าท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบาง ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบยังพลิกกลับจากการฟื้นตัวในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์จากระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน ขณะที่ Amos Hochstein ที่ปรึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงด้านพลังงานของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden กล่าวว่า สหรัฐฯมีปริมาณน้ำมันสำรองในคลังสำรองยุทธศาสตร์ (SPR) เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาความกังวลด้านอุปทานแล้ว .อีกปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบก็คือการปฏิเสธข่าวลือเรื่องการลอบสังหารมกุฎราชกุมาร Mohammed bin Salman ของซาอุดีอาระเบียว่าไม่เป็นความจริง
แม้ว่าวันนี้จะมีข้อมูลเศรษฐกิจเปิดเผยไม่มากนัก ซึ่งอาจทำให้เทรดเดอร์ยังคงเทรดตามทิศทางราคาเปิดตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวเลขยอดค้าปลีกของยูโรโซนประจำเดือนมีนาคมและดัชนีชี้วัด PMI ด้านการผลิตของแคนาดาประจำเดือนเมษายน (Ivey PMI) รวมไปถึงการติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ก็ยังคงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความกังวลระหว่างวันได้ ทั้งนี้ เทรดเดอร์จะให้สนใจมากขึ้นกับการยืนยันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯในเดือนกันยายน ซึ่งหากได้รับการยืนยัน ก็อาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และช่วยหนุนให้สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงสกุลเงิน Antipodeans สามารถขยายการพุ่งสูงขึ้นก่อนหน้านี้ได้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !