ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-04-25

USDJPY ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ราวๆ 155.00 ก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ และการประชุมนโยบายการเงินของ BoJ

USDJPY ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ราวๆ 155.00 ก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ และการประชุมนโยบายการเงินของ BoJ

การพร้อมรับความเสี่ยงในตลาดถดถอยลงในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ในตะวันออกกลางร่วมกับความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูล รวมถึงแนวโน้มที่คาดการณ์ไว้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด

เมื่ออ้างอิงกับสถานการณ์เหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) พยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ ในขณะที่ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ขยับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม คู่เงิน USDJPY ได้รับความสนใจจากการพุ่งสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่นับตั้งแต่ปี 1990 ก่อนการประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZUSD พุ่งสูงขึ้นเป็นวันที่สี่ติดต่อกัน ท่ามกลางการมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวต่อไปของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) โดย คู่เงิน USDCAD ชะลอตัวจากการดีดตัวขึ้นของวันก่อนหน้าท่ามกลางราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยไม่ตอบสนองต่อปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจของแคนาดาที่ตกต่ำลง ในขณะที่ คู่เงิน USDCHF แกว่งตัวอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023

ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำยังคงซบเซาหลังจากร่วงลงติดต่อกันสามวัน โดยท้าทายแนวรับสำคัญระยะสั้น ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯขยับตัวสูงขึ้น ส่วนหุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกปรับลดลง

นอกจากนี้ BTCUSD และ ETHUSD ฟื้นตัวจากการร่วงลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ในวันก่อนหน้า ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับการอนุมัติ spot Ethereum ETF

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) พลิกกลับการดึงกลับของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ โดยมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยที่ประมาณ $88.20
  • ทองคำ (Gold) ยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณ $2,318-20 หลังจากร่วงลงติดต่อกัน 3 วัน
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) พลิกกลับมาปรับลดลงอีกครั้งหลังจากที่ฟื้นตัวเมื่อวานนี้ โดยลดลง 0.16% อยู่ที่ประมาณ 105.65
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสมเช่นเดียวกันกับ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังขาดทิศทางที่ชัดเจนในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD พลิกกลับการร่วงลงของวันก่อนหน้าโดยพุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ $64,500 และ $3,170
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

USDJPY ได้รับความสนใจโดยเข้าใกล้ระดับ 160.00...

ไม่ว่าจะเป็นการที่คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นจนแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี หรือท่าทีของผู้กำหนดนโยบายญี่ปุ่นที่ปฏิเสธที่จะยอมรับการอ่อนค่าของค่าเงินเยน รวมไปถึงความกังวลก่อนการเปิดเผยตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของสหรัฐฯ การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และตัวเลขดัชนีราคาค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลที่ไม่รวมอาหารและพลังงาน (Core PCE Price Index) ล้วนทำให้คู่เงินเยนกลายเป็นจุดสนใจในช่วงนี้ สิ่งที่น่าสังเกตคือ การที่คู่เงิน USDJPY พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 34 ปี สอดคล้องกับปัจจัยสนับสนุนหลายอย่างตั้งแต่การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ไปจนถึงความวิตกกังวลของตลาด รวมไปถึงแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะดำเนินนโยบายการเงินที่แตกต่างกันออกไปในระยะยาว

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯในเดือนมีนาคมมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยเพิ่มขึ้น 2.6% MoM เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.5% และการรายงานก่อนหน้าที่ 1.3% (แก้ไข) นอกเหนือไปจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้นแล้ว สภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงยังช่วยหนุนดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ที่ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คำสั่งซื้อสินค้าคงทนหลักและการทรงตัวก่อนการรายงานตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 1 ของสหรัฐฯอาจจะท้าทายแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯได้ในภายหลัง

เมื่อพูดถึงปัจจัยเร่งความเสี่ยงที่สำคัญ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของสหราชอาณาจักรรายงานว่าสินค้าที่ผ่านคลองสุเอซลดลง 66% ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2023 ถึงต้นเดือนเมษายน 2024 และส่งสัญญาณถึงปัญหาเงินเฟ้อ นอกจากนี้ สำนักข่าว Reuters ยังได้อ้างอิงภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อรายงานข่าวที่ชี้ว่า จีนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้ท่าเทียบเรือที่เชื่อมโยงกับการขนย้ายอาวุธระหว่างเกาหลีเหนือและรัสเซีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการเยือนประเทศจีนของรัฐมนตรีการต่างประเทศสหรัฐฯ Antony Blinken ในแถลงการณ์เบื้องต้นของการเยือนประเทศจีนครั้งนี้ Blinken กล่าวว่าสหรัฐอเมริกาแสวงหาการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรมกับจีนแผ่นดินใหญ่ (PRC) และสนามแข่งขันที่เท่าเทียมกันสำหรับแรงงานและบริษัทสหรัฐฯที่ดำเนินงานในจีน

ในขณะที่การฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD ในวันพุธที่ผ่านมา คู่สกุลเงินหลักกลับฟื้นตัวขึ้นในช่วงต้นวันพฤหัสบดี ท่ามกลางความคิดเห็นที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และข้อมูลเศรษฐกิจเชิงบวกจากเยอรมนี โดย ประธาน Deutsche Bundesbank และสมาชิกสภาปกครอง ECB Joachim Nagel ได้ออกมากล่าวว่า “การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนนั้นไม่จำเป็นต้องตามมาด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม” นอกจากนี้ ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจ IFO ของเยอรมนี (IFO Business Climate Index) ในเดือนเมษายนมีการรายงานอยู่ที่ 89.4 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 88.8 และการรายงานก่อนหน้าที่ 87.9 อีกทั้ง ตัวชี้วัดด้านสถานการณ์ปัจจุบันและการคาดการณ์ในอนาคตของ IFO ก็ยังเพิ่มขึ้นสูงกว่าตัวเลขที่มีการรายงานก่อนหน้าและตัวเลขที่ตลาดมีการคาดการณ์ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถช่วยพยุงค่าเงินยูโรเอาไว้ได้

ในทางกลับกัน คู่เงิน GBPUSD เพิกเฉยต่อการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ เช่นเดียวกับข้อมูลเศรษฐกิจในสหราชอาณาจักรที่ตกต่ำโดยแตะจุดสูงสุดในรอบสัปดาห์ และยังขยับตัวสูงขึ้นในภายหลัง ถึงกระนั้น การคาดการณ์คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของ CBI ของสหราชอาณาจักรในเดือนเมษายนร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสามเดือนที่ -23 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ -16 และการรายงานก่อนหน้านี้ที่ -18 สาเหตุอาจสืบเนื่องมาจากแถลงการณ์เมื่อต้นสัปดาห์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE) ที่คลายความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

อีกทางด้านหนึ่ง สมาชิกอาวุโสของคณะกรรมการกิจการการเงินของสภาผู้แทนราษฎรของญี่ปุ่น Takao Ochi กล่าวว่าการเคลื่อนไหวของคู่เงิน USDJPY ไปที่ 160 (หรือ 170) อาจกระตุ้นให้ผู้กำหนดนโยบายมีการดำเนินการบางอย่าง เนื่องจากพวกเขาจะเห็นว่าสิ่งนั้น "มากเกินไป" ในขณะเดียวกันคือความคิดเห็นจากหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น Yoshimasa Hayashi ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ FX ซึ่งไม่เป็นที่พึงปรารถนา ดังนั้น ความคิดเห็นที่ท้าทายช่วงขาขึ้นของคู่เงินเยนดูเหมือนจะมีบทบาทก่อนการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญ แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน USDJPY มีความหวังก็ตาม

แม้ข้อมูลสำรองน้ำมันดิบสหรัฐฯประจำสัปดาห์จะชี้ว่ามีการดึงน้ำมันออกจากคลังมากขึ้นเมื่อเทียบกับการสะสมก่อนหน้านี้ แต่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นก็ยังคงกดดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับลดลง นอกจากนี้ ราคาทองคำก็ปรับตัวลงด้วยเช่นกัน สาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ลดน้อยลง รวมไปถึงการที่ตลาดเตรียมพร้อมสำหรับการรายงานตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 1 ที่จะประกาศในวันนี้และดัชนีราคา PCE พื้นฐานของสหรัฐฯในวันศุกร์ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ให้ความสำคัญ

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDCAD พลิกกลับมาพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยยุติการร่วงลงติดต่อกัน 5 วัน สืบเนื่องมาจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาปรับตัวลง รวมไปถึงข้อมูลเศรษฐกิจที่ถดถอยลงของแคนาดาและธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ที่ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงิน ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกของแคนาดาอยู่ที่ -0.1% ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ +0.1% และการรายงานก่อนหน้านี้ที่ -0.3% ในขณะที่รายงานการประชุม BoC ระบุว่าผู้กำหนดนโยบายเห็นพ้องกันว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงินใดๆ ก็ตามอาจจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯอยู่ในความสนใจ...

แม้ว่า คู่เงิน USDJPY จะเป็นคู่เงินสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรดที่ต้องจับตามอง แต่การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะยังคงกระตุ้นนักลงทุนในตลาดเช่นเดียวกัน โดยการรายงานค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกของสหรัฐฯประจำปี 2024 จะได้รับความสนใจอย่างมาก สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ตัวเลขผู้คนยื่นขอรับประกันการว่างงานรายสัปดาห์และการรายงานยอดขายบ้านที่รอดำเนินการของสหรัฐฯรายเดือน รวมไปถึงดัชนีกิจกรรมการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแคนซัส

เมื่อพิจารณาแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด ซึ่งได้รับแรงหนุนกับข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงมีทิศทางดีที่ขึ้นต่อเนื่อง ดอลลาร์สหรัฐฯอาจจะสามารถชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์และสร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยราคาทองคำเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องติดตาม หากราคาทองคำร่วงลงต่ำกว่าระดับราคาที่ราวๆ $2,298 อาจจะกระตุ้นให้ราคาโลหะมีค่าปรับลดลงอย่างรุนแรงก่อนการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในสัปดาห์หน้า

นอกจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆที่ต้องติดตามในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในช่วงเช้าวันศุกร์และตัวเลขดัชนีราคาค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลที่ไม่รวมอาหารและพลังงาน (US Core PCE Price Index) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯให้ความสำคัญ ปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลต่อคู่เงิน USDJPY ได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลให้คู่เงินเยน (Yen pair) เกิดการดึงกลับตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ แต่หากตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นก็อาจจะช่วยหนุนราคาคู่เงิน USDJPY ด้วยเช่นกัน

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !