ตลาดมีความผันผวนในช่วงต้นวันอังคาร โดยยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจนนักจากช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ ขณะที่ความคาดหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นจากจีนและการขยายเวลาการหยุดยิงของอิสราเอล-ฮามาสส่งผลให้นักลงทุนในตลาดยังคงมีความเชื่อมั่นที่ดี แต่ข้อมูลเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ตกต่ำลงจากเขตพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญกลับส่งสัญญาณถึงความกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ สถานการณ์ช่วงก่อนการรายงานข่าวประจำสัปดาห์นี้ทำให้นักลงทุนต้องเผชิญกับความตึงเครียดและส่งผลให้มีท่าทีระมัดระวังอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะซบเซาก็ตาม ในขณะที่หุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกปรับตัวลดลง หุ้นฟิวเจอร์สของสหรัฐฯกลับปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
ถึงกระนั้น คู่เงิน USDJPY ได้ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในหนึ่งสัปดาห์ ส่วนทางด้านคู่เงิน AUDUSD กลับพุ่งสูงขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ร่วงลงเล็กน้อย เช่นเดียวกันกับคู่เงิน USDCAD แต่คู่เงิน USDCHF ยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ แรงเทซื้อทองคำยังพยายามเอาชนะอุปสรรคสำคัญของช่วงขาขึ้นที่ราวๆ $2,020 ขณะที่ราคาน้ำมันดิบไม่ได้รับผลกระทบจากข้อกังวลของ OPEC+ ท่ามกลางความกังวลว่าอุปสงค์พลังงานจะถดถอยลง
ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงเป็นวันที่สามติดต่อกัน เนื่องจากความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ Spot ETF ถดถอยลง รวมไปถึงการควบรวมกิจการในช่วงปลายเดือนได้เริ่มต้นขึ้น
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
แม้ว่าตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่น่าผิดหวังจะยังคงสร้างแรงกดดันด้านลบต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ด้วยโอกาสในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของ Fed ที่เพิ่มขึ้น ความวิตกกังวลของตลาดก่อนการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญประจำสัปดาห์และการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจนอกสหรัฐฯที่ตกต่ำลงนั้นจะกระตุ้นช่วงแนวโน้มขาลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกทั้งยังท้าทายความเชื่อมั่นและลดความต้องการสินทรัพย์ไร้ความเสี่ยงอีกด้วย
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังจากรอยเตอร์มีการรายงานโดยอ้างอิงจากกาตาร์ว่าการพักรบในฉนวนกาซาได้รับการขยายออกไปอีก 2 วัน ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี Li Qiang ของจีนก็ได้แสดงถึงความพร้อมที่จะสร้างการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับทุกประเทศ และหนุนความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรการค้าทั่วโลก รวมไปถึงการต่อสู้กับความหวาดกลัวการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน นอกจากนี้ Pan Gongsheng ผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีน (PBoC) ยังกล่าวอีกว่าเศรษฐกิจของจีนยังคงเติบโตในขณะที่ "อัตราเงินเฟ้อถึงที่จุดต่ำสุดแล้ว" ซึ่งในทางกลับกันก็ช่วยให้ความเชื่อมั่นยังไปในใทิศทางบวกแม้จะมีสถานการณ์จะยังมีความยากลำบากก็ตาม
เมื่อไม่นานมานี้ ยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯลดลงเหลือ 0.679M ในเดือนตุลาคม จาก 0.719M ของการรายงานก่อนหน้า และเมื่อเทียบกับ 0.725M ที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ดัชนีธุรกิจภาคการผลิตของ Dallas Fed ลดลงเหลือ -19.9 ในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบกับ -19.2 ที่มีการรายงานเมื่อเดือนที่แล้ว
ส่วนทางด้าน Christine Lagarde ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ออกมากล่าวว่ากิจกรรมเศรษฐกิจในเขตยูโรซบเซาลงในไตรมาสล่าสุดและมีแนวโน้มที่จะยังคงอ่อนแอในช่วงที่เหลือของปี โดยที่มีข่าวลือว่า Lagarde ได้ส่งสัญญาณให้ยุติการซื้อพันธบัตรเร็วขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดการท้าทายแรงเทซื้อเงินยูโรเมื่อวันก่อนและจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าข่าวจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) ยังส่งสัญญาณถึงความกลัวการแพร่กระจายของไวรัส หลังจากที่ UKHSA พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้ว 1 รายว่าพบเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่มีความคล้ายคลึงกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่แพร่กระจายอยู่ในสุกรในสหราชอาณาจักร ณ ขณะนี้ อีกทั้ง การปรับลดลงของดัชนีหุ้นปักกิ่งและการเรียกร้องของผู้กำหนดนโยบายให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่ทำการเทขายหุ้นในปริมาณมากของพวกเขานั้นยังขยายความความหวาดกลัวของตลาดที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในจีนซึ่งยังช่วยสนับสนุนอุปสงค์ของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ความต้องการกระแสเงินสดที่เพิ่มสูงขึ้นในฮ่องกงยังทำให้ตลาดเอเชียเผชิญกับตึงเครียดและช่วยให้ USD ฟื้นตัวได้อีกด้วย
ในอีกทางหนึ่ง การคาดการณ์เกี่ยวกับการอภิปรายของ OPEC+ เรื่องการปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมสัปดาห์นี้ยังช่วยพยุงระดับราคาน้ำมันไม่ให้ลดลงต่ำกว่าราคาน้ำมันของวันก่อนหน้า แต่ไม่สามารถรักษาระดับราคาน้ำมันดิบไว้ได้ท่ามกลางความกังวลด้านอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ตัวเลขข้อมูลค่าดัชนีการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในร้านค้าของ BRC (UK BRC Shop Price Inflation) ยังปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2022 โดยลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกันที่ 4.3% ในเดือนพฤศจิกายนเมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้าที่ 5.2% ถึงกระนั้น David Ramsden รองผู้ว่าการธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE) ก็ยังออกมากล่าวว่ายังคงมีแนวโน้มที่จะต้องขยายระยะเวลาการดำเนินการนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายที่ 2%
อีกทางด้านหนึ่ง ยอดค้าปลีกของออสเตรเลียในเดือนตุลาคมลดลงเหลือ -0.2% MoM เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 0.1% และ 0.9% ของการรายงานก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจออสเตรเลียที่ตกต่ำและความคิดเห็นที่ไม่น่าประทับใจนักจากผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) Michele Bullock ยังส่งผลกระทบต่อดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) โดย Bullock ยังอ้างถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในระหว่างการแถลงการณ์ของเธอเมื่อวันอังคารอีกด้วย
นอกจากนี้ ความกังขาเกี่ยวกับอนาคตของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และสถานการณ์เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆนี้ยังส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรตกต่ำลงซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาคู่เงิน USDJPY แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะดีดตัวสูงขึ้นก็ตาม
ท่ามกลางสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนี้ นักลงทุนยังคงมีข้อกังวลด้านนโยบายการเงินของ Fed และมองหาสัญญาณเพิ่มเติมเพื่อหาทิศทางของตลาดจากการรายงานตัวเลขข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB ของสหรัฐฯ, ดัชนีภาคการผลิตของ Richmond Fed และดัชนีราคาที่อยู่อาศัย รวมถึงการพูดคุยกันของ Fed ในวันนี้ ซึ่งหากข้อมูลเศรษฐกิจ/การอัปเดตของสหรัฐฯสามารถลดความกังวลเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ได้ เราอาจได้เห็นการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯต่อไป อย่างไรก็ตาม ความสนใจหลักจะยังมุ่งเน้นไปที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯในวันพฤหัสบดีและการแถลงการณ์ของประธาน Fed Jerome Powell ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !