นักลงทุนในตลาด Forex กำลังเผชิญกับสัญญาณที่ผันผวนในช่วงเช้าของวันอังคาร สืบเนื่องมาจากความกลัวทางภูมิรัฐศาสตร์และความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางดีขึ้นและความหวังที่จะได้เห็นอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงจากธนาคารกลางหลัก
ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยังคงผันผวนอยู่ที่ประมาณ 103.50-55 ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีและ 30 ปีร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ นอกจากนี้ แม้ว่าตลาดหุ้นวอลล์สตรีทจะปิดในแดนบวก แต่ตลาดหุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกกลับปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ไม่ตอบสนองต่อการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY ยังคงดึงดูดแรงเทขายจากวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงเคลื่อนไหวในแดนลบท่ามกลางสัญญาณที่หลากหลายจากจีนและปัจจัยลบในประเทศ ส่วนทางด้าน คู่เงิน USDCAD ยังคงปรับตัวลดลงเป็นวันที่สี่ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดเมื่อเร็วๆนี้ก็ตาม
นอกจากนี้ ราคาทองคำยังเผชิญอุปสรรคสำคัญในช่วงการรีบาวน์สองวัน ขณะที่ราคาน้ำมันร่วงลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน เนื่องจากนักลงทุนในตลาดประเมินความตึงเครียดในตะวันออกกลางอีกครั้ง
อีกทางด้านหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD ทะลุจุดสูงสุดในรอบสัปดาห์ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้นในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี เนื่องจากปริมาณการแลกเปลี่ยนของ Bitcoin และ Ethereum ลดลงอย่างมาก
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดอลลาร์สหรัฐฯเริ่มต้นสัปดาห์สำคัญด้วยการฟื้นตัวจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลงและความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้น การพูดคุยเกี่ยวกับการอนุญาตให้ปฏิบัติการทางทหารในตะวันออกกลางของประธานาธิบดี Joe Biden ของสหรัฐฯได้กระจายความกลัวของตลาดและพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลงและข่าวความเสี่ยงเชิงบวกจากจีนยังช่วยให้แรงเทซื้อทองคำสามารถลดการร่วงลงที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางตลาดหุ้นที่แข็งแกร่งขึ้นและการเตรียมตัวของนักลงทุนสำหรับการประชุม FOMC ในสัปดาห์นี้ และการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ของสหรัฐฯ
อีกทางด้านหนึ่ง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯลดลงในวันจันทร์ หลังจากที่กระทรวงการคลังเปิดเผยแผนการกู้ยืมเงิน 760 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสนี้ โดยลดลงจากการประมาณการที่ 816 พันล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม ข่าวดังกล่าวช่วยเสริมความเชื่อมั่นของตลาดเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้จากภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งในทางกลับกัน ได้ส่งผลกระทบต่อความต้องการดอลลาร์สหรัฐฯในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
นอกจากนี้ ค่าจ้างเฉลี่ยใน 38 เมืองของจีน ลดลง 1.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (YoY) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ตามรายงานของ Wall Street Journal (WSJ) ในเชิงบวก ซูโจ เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในมณฑลเจียงซู ทางภาคตะวันออกของจีนยกเลิกข้อจำกัดการซื้อบ้านทั้งหมด และพยายามช่วยเหลือเหล่านักลงทุนในตลาดหุ้นจีน หลังจากประสบกับภาวะตลาดร่วงดิ่งลงอย่างหนัก
และเป็นที่น่าสังเกตว่า François Villeroy de Galhau ผู้ว่าการธนาคารแห่งฝรั่งเศสและสมาชิกสภากำกับดูแลธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แถลงการณ์ในช่วงสุดสัปดาห์ว่าพวกเขาจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายยังปฏิเสธที่จะระบุวันที่แน่นอนพร้อมเสริมว่า “ทุกอย่างจะเปิดเผยในการประชุมครั้งต่อไปของเรา”
ในขณะเดียวกัน Luis de Guindos รองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้กล่าวถึงความเสี่ยงขาลงต่ออัตราเงินเฟ้อ และสนับสนุนแนวโน้มที่ธนาคารกลางยุโรปจะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งในทางกลับกัน จะท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินยูโร แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลงก็ตาม
นอกจากนี้ เมื่อวันจันทร์ ข้อมูลของสมาคมค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร (BRC) เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อราคาสินค้าในร้านค้า บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 โดยลดลงเหลือ 2.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในเดือนมกราคม และเมื่อเทียบกับตัวเลข 4.3% ในเดือนธันวาคม ข้อมูลดังกล่าวยิ่งทำให้ตลาดเรียกร้องให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และยังท้าทายแรงเทซื้อคู่เงิน GBPUSD แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะพยายามรักษาระดับช่วงขาขึ้นก่อนหน้าก็ตาม
นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกของออสเตรเลียในเดือนธันวาคมลดลง - 2.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ -0.9% และสูงกว่าที่รายงานไว้ก่อนหน้าที่ +2.0% ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับความกังวลที่หลากหลายเกี่ยวกับจีนและบรรยากาศตลาดที่ระมัดระวัง ซึ่งจะจำกัดการเคลื่อนไหวของคู่เงิน AUDUSD ในเร็วๆนี้
ในอีกทางหนึ่ง นายกรัฐมนตรี Fumio Kishida ของญี่ปุ่นกล่าวในรัฐสภาว่าพวกเขาจะทำ "ทุกวิถีทาง" เพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือน โดยข่าวนี้จุดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อและการสิ้นสุดนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เร็วขึ้น ซึ่งส่งผลให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลง
ตลอดสัปดาห์นี้มีปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่ต้องจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นการรายงานข้อมูลเบื้องต้นของ GDP ไตรมาสที่ 4 ของเยอรมนีและยูโรโซน หรือข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB ของสหรัฐฯ รวมไปถึงตัวเลขที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯและตำแหน่งงานว่างของ JOLTS ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อแรงเทซื้อของนักเทรดสายโมเมนตัม และมีส่วนช่วยการคาดการณ์ปัจจัยสำคัญประจำสัปดาห์นี้ นั่นคือ การประชุม Fed และตัวเลขการจ้างงาน NFP ของสหรัฐฯ สิ่งที่น่าสังเกต ก็คือ ทิศทางเชิงบวกของข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯรวมถึงตัวเลข GDP ที่ถดถอยลงของยูโรโซนและเยอรมนีจะยิ่งเสริมแนวโน้มการคาดการณ์การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ซึ่งจะส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯกลับมาสู่เรดาร์ของแรงเทซื้ออีกครั้ง
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !