ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

อัตราแลกเปลี่ยนทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่งผลต่อตลาด Forex อย่างไร?

ในการเทรด Forex จะคำสั่งราคาอัตราแลกเปลี่ยนออกเป็น 2 แบบ นั่นก็คือ อัตราแลกเปลี่ยนทางตรงและทางอ้อม

None

โดยอัตราแลกเปลี่ยนทางตรงเป็นวิธีที่พบได้บ่อยกว่าเมื่อแสดงสกุลเงินต่างประเทศ 1 หน่วยในสกุลเงินในประเทศ 1 หน่วย ในทางกลับกัน ราคาทางอ้อมแสดงสกุลเงินในประเทศ 1 หน่วยที่แสดงเป็นสกุลเงินต่างประเทศ

ในบทความวันนี้ เราจะมาอธิบายถึงหลักการของคำสั่งทั้งทางตรงและทางอ้อมในตลาด Forex รวมถึงวิธีคำนวณโดยใช้สูตรแบบง่ายๆ

อัตราแลกเปลี่ยนทางตรงและทางอ้อมต่างกันอย่างไร?

อัตราการแปลงสกุลเงินสามารถแสดงได้สองวิธี เมื่อใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบทางอ้อม เราจะพิจารณาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคงที่ในขณะที่สกุลเงินในประเทศอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเทศและสถานที่ตั้งที่เกิดการแลกเปลี่ยน

อัตราแลกเปลี่ยนโดยตรง เป็นอัตราราคาที่ลูกค้าและนักเทรดมือใหม่เข้าใจได้ไม่ยาก เนื่องจากเป็นการเทียบราคาของสกุลเงินหนึ่งกับอีกสกุลเงินหนึ่งเทียบกัน หากอัตราแลกเปลี่ยนต่ำ ค่าเงินท้องถิ่นก็จะพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ แต่ถ้าหากอัตราแลกเปลี่ยนสูง มูลค่าของสกุลเงินท้องถิ่นก็จะลดทอนลงในตลาด Forex

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

สูตรคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนทางตรงและทางอ้อม

ในการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนทางตรง ท่านจะต้องนำจำนวนค่าเงินท้องถิ่นมาหารกับจำนวนสกุลเงินต่างประเทศ ท่านก็จะได้อัตราแลกเปลี่ยนในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ 1 หน่วย

ตัวอย่างการใช้อัตราแลกเปลี่ยนทางตรงในตลาด Forex

คำสั่งอัตราแลกเปลี่ยนทางตรงเป็นตัวเลือกที่นิยมมากที่สุดและง่ายที่สุดในการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศ อย่างไรก็ดี มักจะใช้เฉพาะกับค่าเงินที่มีมูลค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินตรงข้าม

ตัวอย่างเช่น หากท่านต้องการใช้เงิน 72 รูปี (INR) ในการซื้อ 1 ดอลลาร์ (USD) กรณีนี้จะเป็นตัวอย่างของอัตราแลกเปลี่ยนทางตรง เนื่องจากดอลลาร์เป็นหน่วยค่าเงินที่คงที่ ขณะที่ INR เป็นค่าเงินตัวแปร หรือพูดง่ายๆ คือ USD จะเป็นค่าเงินพื้นฐานหรือตั้งต้น และจะมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับสกุลเงิน INR

จุดแตกต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนโดยตรงและโดยอ้อม

อัตราแลกเปลี่ยนทั้งสองแบบมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่ก็มีข้อแตกต่างบางอย่าง ดังนี้

  • “อัตราแลกเปลี่ยนโดยตรง” หมายถึง การเทียบ 1 หน่วยของสกุลเงินต่างประเทศกับสกุลเงินท้องถิ่น แต่ถ้าหากเทียบ 1 หน่วยของสกุลเงินท้องถิ่นกับสกุลเงินต่างประเทศ ก็จะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนโดยอ้อมนั่นเอง
  • ประเภทอัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ในการแลกเปลี่ยนเงินตรา ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนทางตรงจะเป็นการเทียบสกุลเงินท้องถิ่นในการไปซื้อสกุลเงินต่างประเทศ ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนแบบอ้อมจะเป็นการนำสกุลเงินต่างประเทศมาซื้อสกุลเงินท้องถิ่นนั่นเอง
  • หากอัตราแลกเปลี่ยนลดลงสำหรับวิธีการแลกเปลี่ยนทางตรง เป็นสัญญาณว่าสกุลเงินท้องถิ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่หากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น แสดงว่ามูลค่าของสกุลเงินท้องถิ่นจะลดลง

ข้อดีของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งทางตรงและทางอ้อม

นักเทรดส่วนใหญ่จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบโดยตรงมากกว่า เพราะเป็นวิธีที่ง่ายกว่าในการกำหนดมูลค่าสกุลเงิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีข้อดีบางอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่:

  1. อัตราแลกเปลี่ยนโดยตรงช่วยวัดมูลค่าของสกุลเงินท้องถิ่นเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ต่างประเทศ เป็นข้อดีสำหรับผู้คนทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้สกุลเงินต่างประเทศ ส่วนเทรดเดอร์ Forex ก็สามารถทำกำไรได้
  2. อัตราแลกเปลี่ยนทางตรงทำให้นักเทรดรู้ได้ว่าประเทศใดมีค่าสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดและมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินท้องถิ่น
  3. นักเทรดสามารถติดตามประสิทธิภาพของสกุลเงินท้องถิ่นได้แบบเรียลไทม์ เนื่องจากคำสั่งอัตราแลกเปลี่ยนโดยตรงจะแสดงมูลค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ อีกทั้งยังสามารถติดตามสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้อีกด้วย

เมื่อพิจารณาจากทั้งหมดที่กล่าวมา นักเทรดส่วนใหญ่ใช้อัตราการแลกเปลี่ยนโดยตรงเนื่องจากง่ายต่อการทำความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นนักเทรดมือใหม่ในตลาด Forex เพราะวิธีดังกล่าวช่วยให้อ่านอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างๆ ได้ง่าย ตลอดจนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่างๆ ในบางจุด ท่านอาจต้องการข้อมูลในอดีตเพื่อเปรียบเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันเพื่อดูภาพรวม

ใครเป็นคนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน?

อย่างที่ทราบกันดีว่าตลาด Forex นั้นไม่มีการควบคุมและกระจายอำนาจ ว่าแต่… ใครเป็นคนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน? โบรกเกอร์และนักเทรดจะได้รับราคาที่ไหน? ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน สถานการณ์ทางการเมือง ข่าวสาร และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อราคาสกุลเงิน ยิ่งไปกว่านั้น อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มที่จะผันผวนตลอดเวลา

ในขณะเดียวกัน อัตราแลกเปลี่ยนยังขึ้นอยู่กับอัตราที่นักเทรดพอใจที่จะซื้อสกุลเงินหนึ่งเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง ขณะที่อัตราการขายขึ้นอยู่กับความเต็มใจของนักเทรดที่จะขายสกุลเงินที่มีอยู่ในอัตราที่กำหนด

อัตราแลกเปลี่ยนจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยมูลค่าของสกุลเงินอย่างน้อยหนึ่งคู่จะแตกต่างกันในบางครั้งหรือที่เรียกว่า "ความผันผวน" นั่นเอง ดังนั้น สินทรัพย์ที่เคยมีมูลค่าสูงสามารถคิดค่าเสื่อมราคาได้ทันที ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ เช่น อุปสงค์และอุปทาน เป็นต้น

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน