ในตลาดหุ้น “IPO” นั้นย่อมาจาก “Initial Public Offering” หรือ “การเสนอขายหุ้นให้สาธารณชนครั้งแรก” ซึ่งเป็นจังหวะที่บริษัทเจ้าของหุ้นได้ออกหุ้นออกมาให้ประชาชนหรือนักลงทุนทั่วไปได้ซื้อหุ้นนั้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นหุ้นที่บริษัทเป็นผู้ขายเองโดยตรงผ่านตลาดหุ้น (Stock exchange) นั่นเอง
นักลงทุนส่วนใหญ่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หุ้น IPO เป็นโอกาสดีในการลงทุนและสร้างผลกำไรมหาศาล แต่ก็ยังมีนักลงทุนบางกลุ่มที่มองว่าลงทุนหุ้น IPO นั้นเสียเวลาเปล่า จริงอยู่ที่ว่าหุ้น IPO เป็นหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ แต่ใช่ว่าหุ้น IPO ทุกตัวจะเหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาว และบางครั้งการซื้อหุ้น IPO ก็อาจมาพร้อมความเสี่ยงได้เช่นกัน
สิ่งสำคัญอย่างแรกที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับหุ้น IPO ก็คือขั้นตอนในการเปิดขายหุ้น ซึ่งกระบวนการในการที่หุ้นตัวหนึ่งจะออกมาขายให้คนทั่วไปอย่างเราได้ซื้อกันนั้นต้องผ่านหลายขั้นตอน ไมว่าจะเป็นการรวบรวมเอกสาร การยื่นเรื่องให้ตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท จากนั้นเมื่อผ่านการตรวจสอบแล้วบริษัทก็จะเตรียมการในการประกาศขายหุ้นดังกล่าว
แต่เพื่อหลีกเลี่ยงความซับซ้อนวุ่นวายเหล่านั้น บริษัทเจ้าของหุ้นก็จะมีการติดต่อกับ “ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์” (Underwriter) ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการอนุญาตให้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์เพื่อเสนอขายหุ้นไอพีโอ (IPO) สู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรกนั่นเองครับ โดยบริษัทผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์จะทำการรวบรวมเอกสารที่บริษัทเจ้าของหุ้นต้องใช้ เอกสารข้อมูลต่างๆ ที่ต้องนำเสนอให้กับนักลงทุน และจัดตารางการประชุมต่างๆ เพื่อประกาศความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับหุ้นนั้นๆ
ในที่สุด เมื่อบริษัทมีการกำหนดราคาหุ้น IPO เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหล่าอันเดอร์ไรท์เตอร์ก็จะออกหุ้นในนามของบริษัทสู่สาธารณะ เพื่อให้นักลงทุนสามารถเข้าซื้อหุ้นและเทรดหุ้นนั้นได้ในตลาดหุ้น
หากท่านกำลังสนใจที่จะลงทุนหุ้น IPO เราขอแนะนำให้ท่านศึกษาและทำความเข้าใจความหมายคำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับหุ้น IPO ดังนี้:
หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน (Preliminary prospectus) – หนังสือชี้ชวนจะมีรายละเอียดการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ, ข้อมูลทางการเงินย้อนหลัง, รายงานบัญชีต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เป็นต้น
แน่นอนว่าทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเป็นเรื่องธรรมดา หุ้น IPO เองก็อาจมาพร้อมความเสี่ยงหากนักลงทุนไม่ได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหุ้นให้ดีเสียก่อน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนหุ้นต่างประเทศจะต้องเลือกบริษัทจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เชื่อถือได้ และอ่านข้อมูลของบริษัทให้ละเอียดเพื่อหลักเลี่ยงความเสี่ยงในการซื้อหุ้น IPO ของบริษัทนั้นๆ
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน