ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

ข้อแตกต่างระหว่าง IB (Introducing Broker) และ White Label

การเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุดคือความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับโบรกเกอร์ผู้ให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ นอกเหนือจากวิธีการและช่องทางการตลาดแบบดั้งเดิม (SEO, โซเชียลมีเดีย, โฆษณา ฯลฯ) โบรกเกอร์ยังใช้ตัวแทนในการทำธุรกิจอีก 2 ประเภท: คือ ผู้แนะนำโบรกเกอร์ (IB) และ White Labels

None

ตัวแทนทั้ง 2 ประเภทจะช่วยให้โบรกเกอร์ได้ขยายฐานลูกค้า โดย IB จะเป็นพาร์ทเนอร์ของโบรกเกอร์ Forex ขณะที่ WL จะได้รับค่าคอมมิชชั่นและผลตอบแทน แม้ทั้งสองจะมีหน้าที่คล้ายๆ กัน แต่ก็มีลักษณะงานบางอย่างที่แตกต่างกัน ในบทความวันนี้ เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างการทำงานผ่านโปรแกรมพาร์ทเนอร์ Forex แบบทั่วไปกับการทำงานแบบ White Label

Introducing Broker (หรือ IB) ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

การเป็น IB ผู้แนะนำโบรกเกอร์นั้นง่ายมากๆ ใครๆ ก็สามารถเป็น Forex IB ได้ โดยมีหลักการง่ายๆ คือความร่วมมืออย่างโปร่งใสระหว่างโบรกเกอร์และบุคคลที่สามที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำลูกค้าใหม่และรับผลตอบแทนสำหรับการกระทำของลูกค้าเหล่านั้น (เงินฝาก ล็อตซื้อขาย และอื่นๆ)

พูดง่ายๆ IB ก็คือผู้ที่แนะนำและนำพาลูกค้าใหม่ให้มารู้จักกับโบรกเกอร์นั่นเอง

โดยทั่วไป IB จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากรูปแบบผลตอบแทนหลายๆ รูปแบบ อาทิ:

  1. ผลตอบแทนคงที่สำหรับลูกค้าใหม่ทุกรายที่มาเทรดกับโบรกเกอร์ โดยปัจจัยเพิ่มเติมที่มีผบต่อรายได้อาจรวมถึงประเภทบัญชี จำนวนเงินฝาก เป็นต้น
  2. เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งรายได้ (จากสเปรด) ตามปริมาณธุรกรรมที่ระหว่างลูกค้าและโบรกเกอร์
  3. รูปแบบผลตอบแทนแบบอื่นๆ ได้แก่ CPA และ CPC เป็นต้น
Forex Cryptos
มีการกำกับดูแล ไม่มีการกำกับดูแล
สภาพคล่องสูง สภาพคล่องน้อยกว่า
มีความมั่นคงมากกว่า ความผันผวนสูงกว่า
ราคา Swing น้อยกว่า มีความไม่มั่นคง มีโอกาสโดนหลอกได้ง่าย
เหมาะสำหรับนักเทรดที่ไม่ชอบความเสี่ยง ต้องอาศัยการเรียนรู้, มีสินทรัพย์ให้เลือกเยอะกว่า
เหมาะสำหรับการ Day trade เหมาะสำหรับการ Day trade
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

โดยส่วนใหญ่ Introducing Broker หรือ IB ถือเป็นหุ้นส่วนของโปรแกรมพาร์ทเนอร์ Forex ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของโบรกเกอร์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบัญชี และเข้าถึงเครื่องมือส่งเสริมการขาย โฆษณา และการสนับสนุนหลายๆ ด้าน

หน้าที่หลักของ IB ที่มีต่อลูกค้า มีดังนี้

  • ผู้แนะนำส่วนตัว – IB คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในตลาดการเงินมาก่อน โดยจะเป็นผู้ช่วยโบรกเกอร์ในการแนะนำนักเทรดมือใหม่ตลอดเส้นทางการเทรด ตั้งแต่การเรียนรู้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มไปจนถึงการออกออเดอร์ครั้งแรก
  • การเทรดอย่างปลอดภัย – ในการเป็น IB ท่านจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของโบรกเกอร์ โดยเมื่อบรรลุผลแล้ว นักเทรดสามารถใช้ IB เพื่อรับประโยชน์จากการเทรดที่ปลอดภัย รวมทั้งหลีกเลี่ยงโบรกเกอร์หรือนักเทรดต้มตุ๋นที่ไม่ได้ผ่านการกำกับดูแลของโบรกเกอร์
  • ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ – โดยส่วนมาก นักเทรดมือใหม่จะยังไม่มีพื้นฐานและทักษะเพียงพอที่จะเริ่มเทรดได้ทันที ไม่มีกลยุทธ์ Forex ที่มั่นคงและต้องการคนที่จะมาช่วยฝึกฝนและสอนเกี่ยวกับการเทรด ซึ่งเป็นหน้าที่ของ IB ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตราสารและเงื่อนไขการเทรดต่างๆ รวมถึงช่วยเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดและให้ความช่วยเหลือตลอดเส้นทางการลงทุนของลูกค้า
  • การสนับสนุนลูกค้า – โบรกเกอร์จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนลูกค้า โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าดำเนินกิจกรรมการเทรดได้อย่างราบรื่น ขณะที่ IB อาจเป็นผู้ร้องเรียน ช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตอบคำถาม และอื่นๆ หากเทรดเดอร์มีปัญหาทางเทคนิค (การดำเนินการช้าที่ช้า, ข้อผิดพลาดของระบบ, การทำธุรกรรมที่ล้มเหลว และอื่นๆ) โดย IB จะเป็นผู้เสนอเรื่องให้มีการดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

สรุปง่ายๆ IB จะเปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างโบรกเกอร์กับลูกค้า โดยจะช่วยมือใหม่ในการเริ่มต้นและแนะนำพวกเขาต่อไปในการออกออเดอร์และการทำกำไรครั้งแรก ซึ่งจะทำให้ IB ได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการดำเนินการต่างๆ

แล้ว White Label (WL) มีหน้าที่อย่างไร?

ถึงแม้ WL จะทำงานในลักษณะเดียวกับ IB แต่ก็มีจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน ที่สำคัญ White Label ยังเป็นระบบที่มีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจาก WL จะให้บริการในฐานะโบรกเกอร์ด้วยตนเองผ่านรูปแบบแบรนด์แบบสแตนด์อโลน

พูดง่ายๆ White Label เป็นการสร้างและโปรโมทตนเองในฐานะโบรกเกอร์อีกหนึ่งแบรนด์ (เป็นโบรกย่อย) ไม่ใช่การดึงดูดผู้ติดตามหรือลูกค้าไปยังโบรกเกอร์หลัก โดยเป้าหมายของ WL ไม่ใช่เพื่อแนะนำลูกค้าแต่เพื่อดึงดูดนักเทรดให้มาร่วมเทรดกับโบรกเกอร์ของตัวเอง แต่ WL อาจมีการจดทะเบียนและกำกับดูแลโดยโบรกเกอร์หลักเพื่อใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้นักเทรดที่เทรดผ่าน White Label สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มการซื้อขายได้

โดยทั่วไป White Label จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่:

  1. Limited WL – เป็นโบรกเกอร์รีแบรนด์ที่ให้บริการโดยโบรกเกอร์หลัก โดยอาจมีข้อจำกัดบางประการ ตัวอย่างเช่น WL ที่จำกัดไม่สามารถรับเงินฝากได้ ซึ่งอาจลดความสะดวกของลูกค้า และมีตัวเลือกน้อยลงเพื่อให้โบรกเกอร์สามารถดำเนินงานได้ไวขึ้น
  2. Full WL – จะเป็นการสร้างแบรนด์ใหม่ทั้งหมด โดยสามารถทำธุรกรรมต่างๆ รับเงินฝากและให้ลูกค้าถอนเงินออกจากโบรกเกอร์ได้โดยตรง นอกจากนี้ Full WL ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการบัญชีของลูกค้า ข้อกำหนดในการเทรด และเงื่อนไขอื่นๆ อีกมากมาย

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง IB กับ White Label

แม้ IB และ WL ดูเหมือนจะมีหน้าที่ ความรับผิดชอบที่คล้ายคลึงกัน แต่การเป็น IB นั้นง่ายกว่าและไม่ยุ่งยากเท่ากับการเป็น WL เพียงแค่รับค่าคอมมิชชั่นและนำพาลูกค้าให้มาเทรดกับโบรกเกอร์ โดยที่ IB ไม่จำเป็นต้องจัดการกับปัญหาทางเทคนิคหรือการจัดการบัญชี เพียงช่วยให้ลูกค้าใหม่ได้เริ่มเทรดเป็น ช่วยเสนอแนะกลยุทธ์การเทรด และรับค่าคอมมิชชั่นสำหรับการดำเนินการต่างๆ ของลูกค้า

ส่วน White Label จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่มากกว่า ละเอียดกว่า โดยหน้าที่หลักคือการสร้างแบรนด์และบริการการเทรดในฐานะโบรกเกอร์แบบสแตนด์อโลน ซึ่งอาจเป็นการดำเนินที่การเนื่องจากต้องอาศัยจำนวนพนักงาน การสร้างทีม และการทำให้ลูกค้ายอมรับและเชื่อถือได้ อย่างไรก็ดี ท่านสามารถเป็นพาร์ทเนอร์ได้ง่ายๆ ด้วยเงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุดจากการเข้าร่วมโปรแกรมพาร์ทเนอร์ของโบรกเกอร์ Forex ชั้นนำอย่าง MTrading

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน