MTrading ขอเสนอ บัญชีเดโม่ พร้อมเงิน $5,000 แบบฟรีๆ! ให้ท่านได้ทดลองเทรดภายใต้เงื่อนไขและภาวะตลาดแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับท่านก่อนเปิดบัญชีจริง
คุณเป็นคน "หลีกเลี่ยงการขาดทุน" ใช่ไหม?
ลองถามตัวท่านเองว่าอะไรสำคัญมากกว่ากัน ระหว่าง: หลีกเลี่ยงจะเสียเงิน 1,000 เหรียญ หรือ ทำเงินได้ 1,000 เหรียญ? หากท่านเลือกข้อแรก นั่นแสดงว่าท่านเป็นเทรดเดอร์ผู้หลีกเลี่ยงการขาดทุน หรือจะพูดให้ง่ายก็คือ ความกลัวมีอิทธิพลต่อความคิดของท่านมากจนเกินไป โดยเฉพาะเมื่อตลาดอยู่ในภาวะตกต่ำ แล้วถ้าหากท่านกลัวจนหลังชนฝา แล้วจะหาเงินได้ยังไงเวลาที่พายุโหมกระหน่ำล่ะครับ?
ขั้นแรกคือ ท่านไม่ควรขายหุ้นทิ้งทั้งหมดตั้งแต่เมื่อสัญญานแห่งหายนะเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น ลำดับต่อมาคือ อย่าตื่นตูมและรีบเร่งลงทุนในตราสารอื่นๆ เพื่อป้องกันการสูญเสีย เรามักพบเจอสัญชาตญานพื้นฐานในการเทรดที่เทรดเดอร์น้อยคนนักจะเอาชนะได้
ตัวอย่าง การหลีกเลี่ยงการขาดทุน
ท่านอาจจะป้องกันตัวเองจากความเจ็บปวดในการขาดทุนด้วยการหนีจากการเทรดไปเสีย เหมือนที่เทรดเดอร์เจ้าอารมณ์ทำกันเป็นประจำ (อุ้ปส์!) แต่นั่นแทบไม่ใช่การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลเลยแม้แต่นิด เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต เทรดเดอร์ไม่น้อยวิ่งหนีอย่างคลุ้มคลั่งท่ามกลางราคาหุ้นที่ร่วงลงอย่างรุนแรง
หนึ่งในทางออกที่ดีก็คือ การเปลี่ยนไปลงทุนในตราสารอื่นๆ ที่มั่นคงและปลอดภัยกว่า เช่น คู่เงิน หรือตราสารเทียบเท่าเงินสด เช่น ทอง เป็นต้น
เทรดในภาวะตลาดขาลงและทำกำไรในช่วงวิกฤต
หากเราสามารถช่วยให้ท่านเอาชนะความกลัวในการเทรดได้สำเร็จ ขอแนะนำเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ท่านทำเงินในช่วงวิกฤตได้ แต่ก่อนอื่นมาลองดูวิธีทำกำไรจากการเทรด forex กันก่อน

ช่วงวิกฤตเป็นโอกาสที่ท่านสามารถซื้อสินทรัพย์ที่ถูกลงจากนักลงทุนที่กระสับกระส่ายด้วยความกลัวที่จะขาดทุน อย่างที่เราได้บอกไว้ ความกลัวเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่มีอิทธิพลต่อตลาดมากๆ ดังนั้น นี่จึงเป็นโอกาสทองที่เทรดเดอร์ผู้มีตรรกะจะซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
หลักการสำคัญ: ในขณะที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่กำลังสั่นระริกด้วยความกลัว นักเทรดมืออาชีพจะเฝ้ามองราคาที่ลดลงอย่างใจเย็น เราเรียกจังหวะนี้ว่า "โอกาสทองในการซื้อ" ไม่บ่อยนักที่ท่านจะพบจังหวะในการซื้อหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ในราคาที่ต่ำที่สุดในตลาด
และนี่คือ 3 องค์ประกอบหลัก ที่จะทำให้กลยุทธ์นี้สำเร็จ
- วินัยในการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
- ความอดทนในการรอให้ราคาลดลง
- เงินทุนในการเทรดสินทรัพย์สภาพคล่อง
เมื่อวิกฤตปะทุตัวขึ้น ตลาดกลายเป็นเถ้าถ่าน ตราสารการเทรดถูกทอดทิ้ง สิ่งที่ท่านต้องทำคือ รอเพียงอึดใจเดียว เมื่อสถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติราคาก็จะเด้งกลับอย่างรวดเร็วมายังมูลค่าก่อนที่จะเกิดความตกต่ำ!
ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์อย่างละเอียดเกี่ยวกับผลลัพธ์หลังจาก 28 เหตุวิกฤตที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ ซึ่งรวมถึงสงครามโลกครั้งที่ 2, วินาศกรรม 9/11, ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และเหตุการณ์อื่นๆ อีกมากมาย พบว่าราคาตลาดมักหวนกลับมายังราคาก่อนหน้าที่จะมีเหตุวิกฤตเกินขึ้นเสมอ นักลงทุนที่ใจร้อนขายสินทรัพย์ทิ้งไปเพราะความกลัวจะต้องเสียใจยิ่งกว่าเดิมเมื่อต้องซื้อสินทรัพย์นั้นกลับคืนมาในพอร์ตในราคาที่สูงขึ้น!
ตัวอย่าง การเทรด forex ในภาวะตลาดวิกฤติ
มาลองดูตัวอย่างสถานการณ์ตลาด forex หลังการโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ดัชนี S&P 500 ทำให้เกิดช่องว่างราคา ณ ขณะที่ดัชนีร่วง 4% และเมื่อดัชนีร่วงอีกกว่า 14% นักลงทุนจึงขายสินทรัพย์ที่พวกเขามีอยู่ด้วยความกลัว แต่แล้วฟ้าหลังฝนก็ย่อมสดใสขึ้นเสมอ ในปี ค.ศ. 1945 ดัชนีฟื้นกลับมากว่า 25% ซึ่งเพิ่มขึ้นเกินกว่าจุดตกต่ำในช่วงวิกฤตเสียอีก
เทคนิคการเทรด ช่วงตลาดขาลง
จากทฤษฎีสู่การลงสนามจริง ได้เวลาแล้ว! ที่ท่านจะทำกำไรจากเทคนิคการเทรดในช่วงวิฤต
- เลือกหุ้นที่ดี – ในขณะที่หุ้นของบริษัทที่ทั้งดีและแย่มีแนวโน้มราคาตกในช่วงวิกฤต มีเพียงหุ้นที่ดีที่จะสามารถฟื้นตัวกลับได้ ดังนั้น ถือหุ้นของบริษัทที่มั่นคงเอาไว้จะดีกว่า
- พิจารณาเงินปันผล – ใช่แล้ว ก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึงเงินปันผลที่ต่ำจนแทบจะเป็นศูนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดสั่นคลอน แต่อย่างน้อยๆ ก็ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ว่าไหม?
- สับเปลี่ยนกลุ่มลงทุน – อย่ายึดติดอยู่กับการลงทุนเพียงกลุ่มเดียว ลองเปลี่ยนไปลงทุนในตราสารอื่นๆ ดูบ้าง กองทุนรวม ETF ก็ถือเป็นตัวอย่างตราสารที่ดีเลยทีเดียว พยายามสังเกตพฤติกรรมของตราสารแต่ละกลุ่มในช่วงตลาดขาลงเอาไว้
- ใช้ margin ให้เป็นประโยชน์ – margin เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหากใช้งานอย่างรอบคอบ เทรดเดอร์ที่สบประมาทการใช้ margin มักเผชิญกับความเสี่ยงอย่างเลี่ยงไม่ได้
- จงอดทน – ย้ำอีกครั้ง! ทำใจให้สงบ อย่าตื่นตระหนกตามเทรดเดอร์คนอื่นๆ อดใจรอสักช่วงหนึ่ง คว้าโอกาสของท่านไว้ให้ดี ซื้อสินทรัพย์ตามที่เราแนะนำ และจดจ่อสังเกตการฟื้นตัวของตลาดที่จะกลับมาพร้อมนำพาความมั่งคั่งร่ำรวยมาให้ท่านในคราวเดียวกัน!
หากท่านยังไม่เชื่อว่า ท่านสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ MTrading มีตัวอย่างเหตุการณ์จริงมาพิสูจน์ แล้วท่านจะพบว่าเทคนิคที่เราได้กล่าวไปเบื้องต้นได้ช่วยให้เหล่านักธุรกิจกลายเป็นเศรษฐีพันล้านมาหลายรายแล้ว!
3 อันดับนักลงทุนของโลก ที่ทำเงินได้แม้ในช่วงตลาดขาลง
ยังคงไม่มั่นใจที่จะเข้าร่วมตลาด forex ในช่วงที่ตลาดแลดูสิ้นหวังใช่ไหม? ลองอ่านเรื่องราวของ 3 นักลงทุนอันดับต้นๆ ของโลกที่ใช้โอกาสในช่วงวิกฤตสร้างรายได้มหาศาลและกลายเป็นเศรษฐีพันล้านของโลก
1. Warren Buffet

บัฟเฟตต์ได้ลงทุนกับหุ้นเด่นๆ หลายตัวในช่วงวิกฤตปี 2008 เขาซื้อหุ้นมูลค่ารวม 5 พันล้านเหรียญ และได้รับอัตราดอกเบี้ย 10% รวมทั้งยังได้หลักประกันอีกด้วย เขาลงทุนเช่นนี้กับบริษัทหลายแห่งที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือ ได้แก่ General Electrics, Goldman Sachs และ Dow Chemical
2. John Paulson

จอห์นได้สร้างชื่อเสียงหลังจากการวางเดิมพันครั้งสำคัญกับตลาดการเคหะในสหรัฐ ช่วงวิกฤตปี 2009 การเดิมพันในเวลาอันประจวบเหมาะครั้งนั้น ทำให้พอลสันและบริษัทของเขาทำเงินได้ถึง 15 พันล้านเหรียญเลยทีเดียว เป็นผลให้จอห์น มีสัญญาเทรดมูลค่านับพันล้านกับหนึ่งในธนาคารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอเมริกา
3. Jamie Dimon

หนึ่งในตัวอย่างที่ดีของการใช้ประโยชน์จากความกลัวในช่วงวิกฤตสินเชื่อ หลังจากที่ไดมอนได้ทำรายได้มหาศาลให้ JP Morgan เขายังได้อุ้ม Bear Stearns และ Washington Mutual เอาไว้ในขณะที่สถาบันการเงินทั้งสองกำลังจะล้มลง เขาซื้อหุ้นแต่ละตัวในราคาไม่ถึง 10 เหรียญ ปัจจุบัน เขากลายเป็นมหาเศรษฐีพันล้าน
เราหวังว่าตัวอย่างของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ จะทำให้ท่านมั่นใจในการตัดสินใจลงทุนในตลาดช่วงวิกฤตมากยิ่งขึ้น
อยากเทรดแบบมือโปรไหม? เรามีทางออกให้กับเทรดเดอร์ทุกคน! บริการ Copy Trading คัดลอกการเทรดเลียนแบบนักเทรดมืออาชีพโดยอัตโนมัติ หากสนใจ หาข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่
อยากเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเทรดมากยิ่งขึ้น? ติดตามบทเรียนการเทรดอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี่
- 4 จิตวิทยาการเทรด
- 6 วิธีจัดการความเครียดจากการเทรด
- Stop Loss คืออะไร?
บทความนี้ไม่มี และไม่ควรถูกพิจารณาว่ามี คำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน