ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

“Stop Loss” คืออะไร? จะตั้ง stop loss ตรงไหนดี?

เชื่อว่าเทรดเดอร์ทุกๆ ท่านคงวาดฝันว่าจะมีแผนสำรองที่ใช้ได้ผลในการจำกัดความเสี่ยงสำหรับการเทรดในแต่ละครั้ง การออกออเดอร์ Stop loss จึงกลายเป็นทางออกสำคัญที่จะช่วยป้องกันการขาดทุนของท่านในที่สุด โดยหลักการนั้นแสนง่าย เทรดเดอร์จะต้องตั้งจุดออก ณ ระดับราคาหนึ่งๆ ที่จะช่วยปกป้องพวกเขาจากความเสี่ยงที่ไม่อาจคาดถึง!

None

แม้ในความเป็นจริงแล้ว มันอาจไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ตัวอย่างเช่น หากท่านตั้ง stop loss ไกลเกินไป ท่านก็จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขาดทุนนั้นได้ หรือการตั้งจุดตัดขาดทุนใกล้จนเกินไป ก็อาจพลาดจังหวะทำ position ที่ควรจะได้กำไรนั้นหลุดมือ ดังนั้น จะตั้งจุด stop loss อย่างไร ให้สามารถลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้ แต่ยังคงโอกาสในการทำกำไรเอาไว้? บทความนี้มีคำตอบ พร้อมอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กลยุทธ์ stop loss, ขั้นตอนการตั้ง stop loss, ตัวเลือกในการตั้ง stop loss และหัวข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีประโยชน์สำหรับทั้งเทรดเดอร์มือใหม่และมือโปรเลยทีเดียวครับ!

ออเดอร์ Stop Loss คืออะไร?

อย่างที่เทรดเดอร์ได้เรียนรู้มาแล้วเบื้องต้นจากบทนำ ออเดอร์ stop loss ก็คือ จุดในการเข้าเทรดสำหรับนักลงทุนที่ต้องการขายสินทรัพย์ต่างๆ ณ จังหวะที่ราคาของสินทรัพย์นั้นไปถึงระดับราคาที่กำหนด หลักการสำคัญคือ การลดปริมาณการขาดทุนและเพิ่มความปลอดภัยในการถือ position รูปภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับ stop loss แบบง่ายๆ โดยการตั้ง stop loss ด้านล่างราคาปัจจุบันและระดับในการทำกำไร เพื่อป้องกันการขาดทุนจากราคาที่เกิดการกลับตัวเป็นอย่างรวดเร็ว

None

โดยปกติแล้ว เทรดเดอร์มักจะไม่อยากขาดทุนมากเกินกว่า 10% ของราคาตั้งต้นของสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไป พวกเขาจึงมักต้องการออกออเดอร์ stop loss ที่ต่ำกว่า 10% ของราคาปัจจุบัน เพื่อจำกัดการขาดทุนไว้ที่ 10% ในกรณีที่ราคานั้นเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่แย่ลงนั่นเองครับ

ประเภทออเดอร์ Stop Loss

แน่นอนล่ะครับว่า หากทำได้ง่ายๆ ก็คงไม่ใช่การเทรด จริงไหมครับ? ดังนั้น ก่อนจะตั้ง stop loss เทรดเดอร์จะต้องพิจารณาประเภทออเดอร์ stop loss หลายๆ ประเภท แล้วตัดสินใจเลือกประเภทออเดอร์ stop loss ที่เหมาะสมตรงตามกลยุทธ์ในการเทรดของท่านมากที่สุด

  • มาเก็ตออเดอร์ (Market Order) – การตั้ง stop loss ด้วยมาร์เก็ตออเดอร์ เป็นประเภทการออกออเดอร์ที่ใช้งานกันโดยทั่วไป โดยจะใช้เมื่อราคาไปถึง $19.50 ไม่ว่าเป็นราคาจากการ ask, bid, หรือระดับที่ราคาแตะถึง อย่างไรก็ตาม หากไม่มีผู้สนใจที่จะซื้อสินทรัพย์นั้นๆ เทรดเดอร์อาจจะขายออกไปในระดับราคาที่ต่ำกว่านั้น เหตุการณ์นี้เรียกว่า "Slippage" หรือ ความแตกต่างระหว่างราคาที่ต้องการและราคาที่ดำเนินการจริง แต่ถึงอย่างนั้น กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก หากท่านเทรดวอลุ่มปริมาณมาก
  • ลิมิตออเดอร์ (Limit Order) – การตั้ง stop loss ด้วยลิมิตออเดอร์จะแตกต่างออกไป เมื่อราคาไปถึงระดับราคาที่กำหนดไว้ โบรกเกอร์ของท่านจะส่งลิมิตออเดอร์ออกไปโดยอัตโนมัติ โดยจะทำให้เกิดการปิด position ณ จุดก่อนจังหวะราคาที่กำหนดไว้ หรืออาจจะปิดในราคาที่ดีกว่าที่กำหนดไว้

โปรดทราบ: ความแตกต่างระหว่าง 2 ประเภทของออเดอร์ คือ มาร์เก็ตออเดอร์นั้นเป็นการปิด position ที่ราคาใดๆ ก็ตาม ในขณะที่ลิมิตออเดอร์จะปราศจากผลเสียจาก slippage ซึ่งทำให้การตั้ง stop loss นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือบางครั้งยังสามารถทำกำไรได้ด้วยเช่นกันครับ ยิ่งไปกว่านั้น การเทรดกับโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือจะช่วยป้องกันตัวท่านจากโอกาสความเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางตรงกันข้ามกับความต้องการของท่าน

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

การตั้ง Stop Loss ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?

แม้ว่าออเดอร์ stop loss นั้นจะมีประโยชน์กับเทรดเดอร์เป็นอย่างมาก แต่ใช่ว่าจะใช้ได้ผลเช่นเดียวกันกับเทรดเดอร์ทุกท่านเสียเมื่อไหร่ ด้วยเหตุผลนี้เอง เทรดเดอร์ต้องพิจารณาประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้:

  1. เทรดเดอร์เชิงรุก (Active Trader) ควรหลีกเลี่ยงการใช้ออเดอร์ stop loss
  2. หากท่านเทรดหุ้นปริมาณมากๆ stop loss อาจทำให้เกิดการขาดทุนมากขึ้นในระยะยาว
  3. อย่าลืมพิจารณาค่าธรรมเนียมในการออกออเดอร์ stop loss แต่ละประเภทที่ต่างกัน จากโบรกเกอร์แต่ละเจ้า

พึงระลึกไว้เสมอว่า ออเดอร์ต่างๆ จะไม่สมบูรณ์ หากคำสั่งออเดอร์ของท่านไม่ได้รับการยืนยัน

วิธีการตั้ง Stop Loss

มือใหม่หัดเทรดอาจจะใช้วิธีการง่ายๆ ทั่วไป หากเพิ่งเริ่มต้นเทรด โดยวิธีการเหล่านั้นหมายถึงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ที่เราได้กล่าวไปข้างต้น อย่างไรก็ตาม มีวิธีการที่ซับซ้อนกว่านั้นซึ่งได้แก่ Hard stop หรือการกำหนด stop loss เมื่อเริ่มต้นเทรด รวมถึงการการตัดขาดทุน ณ จังหวะพฤติกรรมราคาที่กำหนด ไม่ว่าท่านจะซื้อหรือขายสินทรัพย์ใดๆ ก็ตาม มาลองเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ที่อาจนำไปใช้ได้ตามสไตล์การเทรดของท่าน!

ตั้ง Stop Loss ขณะซื้อ

จำไว้ให้ขึ้นใจว่า ท่านจะต้องไม่ตั้ง stop loss แบบสุ่มสี่สุ่มห้าโดยเด็ดขาด ขณะเดียวกัน ท่านจะต้องมีจังหวะระยะห่างของราคามากพอในกรณีที่เกิดความผันผวน โดยจะต้องมั่นใจว่า stop loss นั้นจะพาท่านออกจากตลาดและทำให้ท่านสามารถปิด position ได้เมื่อตลาดหรือราคาไม่ได้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ท่านคาดหวัง เมื่อท่านซื้อสินทรัพย์ใดๆ ก็ตาม วิธีที่ดีที่สุดคือ การตั้ง stop loss ต่ำกว่าระดับ swing low หรือราคาที่มีการแกว่งต่ำ ซึ่งหมายถึงจังหวะที่ราคาย่อตัวลงแล้วเด้งกลับขึ้นไปนั่นเอง

หากท่านคิดว่าตัวท่านเองพร้อมที่จะใช้ stop loss แล้วล่ะก็ เปิด บัญชีทดลอง กับเรา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แถมยังมีเงินจำลองให้อีก $5,000 เพื่อเทรดในภาวะตลาดจริงๆ โดยไร้ความเสี่ยง

ตั้ง Stop Loss ขณะขาย

หากท่านตัดสินใจที่จะขายชอร์ต (Short sell) ล่ะก็ อย่าลืมทำเช่นเดียวกับขณะขาย นั่นคือ การไม่ตั้ง stop loss แบบสุ่มๆ โดยความแตกต่างจากการขายก็คือ จะต้องตั้ง stop loss เหนือกว่าระดับ swing high หรือการแกว่งของราคาสูงๆ ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถรองรับ position ของท่านเมื่อราคาดิ่งลงไปยังระดับต่ำๆ เทคนิคนี้จะได้ผลดีสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเทรดในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวโน้ม ขณะที่ราคากำลังพุ่งขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ระดับราคาสูงขึ้น

ตัวเลือกการออกออเดอร์ Stop Loss

โปรดทราบว่า ตัวอย่างที่เราได้ยกมาด้านบนไม่ใช่สิ่งที่ท่านควรต้องทำตาม เพราะการตั้ง stop loss ในการเทรดจริงๆ นั้นต่างกันไปตามความยืดหยุ่นของตลาดและการคาดการณ์ล่วงหน้า โดยตัวอย่างดังกล่าวเป็นเพียงแค่การช่วยให้ท่านเข้าใจว่า stop loss ทำงานอย่างไรในภาวะตลาดนั้นๆ เทรดเดอร์สามารถเลือกจังหวะในการตั้งออเดอร์ stop loss ที่หลากหลายได้เอง โดยขึ้นอยู่กับราคาเริ่มต้นที่ท่านได้ลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ และปัจจัยอื่นๆ

ตัวอย่างเช่น ท่านอาจใช้อินดิเคเตอร์เชิงวิเคราะห์ ซึ่งก็เป็นการตั้ง stop loss หรือลดโอกาสเสี่ยงในการขาดทุนได้เช่นกัน โดยอินดิเคเตอร์เหล่านั้นจะช่วยส่งสัญญาณในการ long หรือการซื้อ ซึ่งหมายความว่าบางออเดอร์จะถูกตั้งไว้ ณ ตำแหน่งที่อินดิเคเตอร์ไม่สามารถแสดงไปถึงได้ ความผันผวนก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับการใช้เป็นจุดออกออเดอร์ stop loss แต่ที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ อย่าลืมใช้กลยุทธ์การเข้าเทรดอีกครั้ง (Re-entry) เพื่อป้องกันไม่ให้การเทรดของท่านขาดทุน!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน