ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

“รายจ่ายการลงทุน” (Capital Expenditures) คืออะไร? มีกี่ประเภท? มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง?

“Capital expenditures” หรือที่เรียกสั้นว่าๆ “CapEx” คือ รายจ่ายของบริษัทที่นำไปใช้ในการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อ, ทำนุบำรุง หรือการปรับปรุงและพัฒนาสินทรัพย์ต่างๆ ในระยะยาว โดยเงินทุนที่ถูกนำไปใช้นี้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจต่อไปนั่นเองครับ

None

Capital expenditures หรือที่คนไทยเรียกกันว่า “รายจ่ายฝ่ายทุนเพื่อการลงทุน” แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น สินทรัพย์ที่บริโภคไม่ได้ (Non-consumable asset) หรือสินทรัพย์ถาวร (Fixed asset) ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์ต่างๆ, ที่ดิน, การก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่นๆ ที่ส่งผลให้บริษัทมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีสภาวะการเงินหรือรายได้ที่เติบโตขึ้น

ตัวอย่างรายจ่าย CapEx มีอะไรบ้าง?

เนื่องจากค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน หรือ Capital expenses จะมีผลสำคัญต่อการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของบริษัทหรือธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้องค์กรต่างๆ มักร่วมกันวิเคราะห์และไตร่ตรองอย่างรอบคอบเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการลงทุนให้ดีที่สุด เพื่อรักษารายได้ของบริษัทในระยะยาว เอาล่ะ! หลายท่านคงสงสัยแล้วว่ารายจ่าย CapEx ที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง? รายจ่ายการลงทุน ได้แก่:

  • อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักรใหม่ๆ
  • ที่ดินและพืชผลทางการเกษตร
  • อาคารหรือโกดัง
  • ยานพาหนะเพื่อธุรกิจ
  • ใบอนุญาติหรือสิทธิบัตร (สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือ Intangible asset)
  • ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
  • ของตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ รายจ่ายการลงทุนที่ได้ยกตัวอย่างมาด้านบนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

รายจ่ายการลงทุนประเภทหลัก

ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนแบ่ง Capital expenditures ออกเป็น 2 ประเภททั่วไป ได้แก่:

  1. รายจ่ายการลงทุนที่ช่วยประคับประคองและรักษาผลการดำเนินงานในปัจจุบันของบริษัท
  2. รายจ่ายการลงทุนที่ช่วยต่อยอดขยายรายได้ของบริษัท และทำให้บริษัทเติบโตมากขึ้น

ข้อควรรู้: รายจ่ายด้านการลงทุนจะไม่รวมค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาสินทรัพย์ต่างๆ แต่จะยึดตามรายงานผลประกอบการ


ทำไมรายจ่ายการลงทุนจึงมีความสำคัญ?

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการตัดสินใจบริหาร CapEx นั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำงบการลงทุนนั้นมาเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจากรายจ่ายการลงทุนมีความสำคัญตรงที่ว่า:

  1. ส่งผลกระทบในระยะยาว – การลงทุนด้วยรายจ่าย Capital expenditures มักมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายกิจการของบริษัทให้เติบโตยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิภาพของบริษัทในอนาคต เช่นเดียวกับที่การดำเนินการทางธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปตามการวางแผนใช้จ่ายทุนที่ผ่านมา ดังนั้น การตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมจะทำให้แผนการเงินและเป้าหมายธุรกิจของบริษัทชัดเจนมากขึ้น
  2. แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ – หากบริษัทไม่ได้รับความเสียหายหรือสูญเสียใดๆ ก็จะไม่มีทางได้รับค่าใช้จ่ายการลงทุนคืน ไม่ว่าบริษัทจะดำเนินการแล้วได้กำไรหรือขาดทุน
  3. ค่าใช้จ่ายสูง – CapEx มักมีมูลค่าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิต, การผลิตน้ำมัน, การขุดเจาะ, สาธารณูปโภค และโทรคมนาคม เป็นต้น และด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ค่าใช้จ่าย CapEx ยิ่งพุ่งสูงขึ้นตาม
  4. มูลค่าที่ลดลง – กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทเริ่มใช้ CapEx ซึ่งจะส่งผลให้รายจ่ายสำหรับการลงทุนลดลงเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไป

ข้อควรระวังเกี่ยวกับรายจ่ายการลงทุน

แน่นอนว่าว่าการใช้ CapEx นั้นมีความสำคัญอย่างมาก การตัดสินใจใช้ CapEx ให้มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญมากๆ แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างที่บริษัทต่างๆ จะต้องระมัดระวังในการตัดสินใจ ได้แก่:

1. การวัดผลที่ค่อนข้างยาก

ขั้นตอนในการวิเคราะห์ CapEx หลายๆ ขั้นตอนนั้นค่อนข้างมีความซับซ้อน ไม่ใช่แค่วัดหรือประเมินผลอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องระบุ ประเมิน และคาดการณ์ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ CapEx อีกด้วย

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

2. คาดการณ์ยาก

แน่นอนว่าทุกบริษัทต่างก็พยายามอย่างหนักเพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์จากการใช้ CapEx หรือใช้ค่าใช้จ่ายการลงทุนปริมาณมากๆ แต่ก็ไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่าผลลัพธ์จากการลงทุนนั้นจะเป็นอย่างไร มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะขาดทุน ทำให้นักลงทุนหลายๆ ท่านค่อนข้างกังวลและไม่มั่นใจว่าจะลงทุนโดยใช้ CapEx อย่างไรดี การวางแผนงบการเงินก่อนตัดสินใจใช้ CapEx จึงเป็นสิ่งสำคัญ

3. ส่วนต่างผลตอบแทน

ค่าใช้จ่ายในการลงทุนนั้นและโอกาสในการรับผลตอบแทนนั้นต้องใช้เวลานาน ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหาเมื่อมีการลดอัตราต่างๆ หรือมีการปรับสมดุลราคา

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน