ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

“Credit Default Swap” คืออะไร? เข้าใจ CDS ง่ายๆ ใน 1 นาที

“Credit Default Swap” หรือ “CDS” เป็นหนึ่งใน รูปแบบอนุพันธ์ทางการเงิน (Derivatives) ที่นักลงทุนฝั่งซื้อ (Buyer) ใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการโดนผิดนัดชำระหนี้ (Default) หรือความเสี่ยงด้านการเงินประเภทอื่นๆ โดยในวันนี้ เรามีตัวอย่างเหตุการณ์ Credit default swap ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 มาให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบัน CDS เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ระบุว่าผู้ขายจะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดให้ผู้ซื้อ รวมถึงจ่ายเงิน Premium หากผู้ออกสัญญามีการเบี้ยวหนี้

None

บทความวันนี้จะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจ Credit default swap แบบละเอียด พร้อมตัวอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้ในตลาดการเงินได้จริง ที่สำคัญเราจะมาพูดถึงความเสี่ยงที่ควรระวังจากการใช้ Credit default swap โดยเฉพาะในมุมมองของผู้ซื้อ ถ้าพร้อมแล้ว ไปหาคำตอบพร้อมกันเลยครับ

Credit Default Swap คืออะไร?

เมื่อท่านซื้อสัญญา Credit Default Swap นั่นหมายความว่าท่านยินยอมที่จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามระยะเวลาที่กำหนดจนกระทั่งเครดิตดังกล่าวถึงวันกำหนดไถ่ถอนหรือวันครบกำหนดอายุ ที่สำคัญ ตัวสัญญายังเป็นการระบุข้อตกลงว่าผู้ขายจะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด รวมถึงเงิน Premium ด้วยเช่นกันหากมีการผิดนัดชำระหนี้

เครื่องมือทางการเงินชนิดนี้เปรียบเสมือนหลักประกันที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถควบคุมความเสี่ยงของตนเองได้โดยการจ่ายเงินค่าคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเสียหายและสูญเสียเงินจำนวนมากได้

ตัวอย่าง Credit default Swap

Blythe Masters เป็นผู้นำ CDS มาใช้ในตลาดการเงินเป็นครั้งแรกในปี 1994 แต่เครื่องมือนี้กลับเพิ่งมาได้รับความนิยมมากในปี 2008 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตทางการเงินและยังไม่มีสัญญาใดคุ้มครองหรือรองรับการ Swap นั่นเอง โดยในปีดังกล่าว CDS มีมูลค่าสูงถึง 62.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ไม่กี่ปีต่อมามูลค่ากลับลดลงกว่า 50% เลยทีเดียวครับ

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

สาเหตุที่นักลงทุนควรซื้อ CDS

นอกจากเป็นหลักประกันทางการเงินและป้องกันการสูญเสียเงินแล้ว นักลงทุนยังสามารถใช้ CDS เป็นตัวช่วยทำกำไรซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักในการลงทุนได้อีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น นักลงทุนอาจซื้อ Credit default swap เพื่อ:

  1. เก็งกำไร หลักการง่ายๆ คือการซื้อสินทรัพย์มาขายในราคาที่แพงกว่านั่นเองครับ โดยในขณะที่นักลงทุนรายอื่นๆ อาจซื้อ CDS เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเครดิตหรือความน่าเชื่อถือของบริษัทหรือผู้ออกตราสาร แต่ท่านอาจขาย CDS เพื่อเป็นสัญญาคุ้มครองให้กับผู้ซื้อรายอื่นๆ ได้เช่นกัน หากท่านค่อนข้างมั่นใจว่าบริษัทหรือผู้ขายมีความน่าเชื่อถือมากเพียงพอ จะเห็นได้ว่า CDS เป็นเครื่องมือในการประเมินความน่าเชื่อถือได้นั่นเอง
  2. อาร์บิทราจ การทำอาร์บิทราจเป็นเทคนิคในการซื้อเพื่อขายสินทรัพย์ในทันที แต่เป็นการขายในตลาดอื่นแทน โดยหลักการสำคัญคือการเน้นทำกำไรจากส่วนต่างราคาในระยะสั้นๆ เอาล่ะ แล้วมันเกี่ยวข้องกับ CDS ยังไง? ง่ายมากครับ หากหุ้นราคาขึ้น CDS ก็จะแคบขึ้น ในขณะเดียวกัน หากบริษัทไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นและราคาหุ้นตกฮวบ CDS ก็จะแคบเช่นกัน
  3. การ Hedging กลยุทธ์การ Hedging เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการตั้งประกันคุ้มครองการลงทุน โดยนักลงทุนจะใช้เทคนิคนี้ในป้องกันการขาดทุนจากความเคลื่อนไหวของราคาที่คาดเดาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการทางการเงินหรือธนาคารอาจใช้ CDS เป็นข้อตกลงกับผู้ซื้อเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ โดย Credit default swap ช่วยให้ธนาคารสามารถกระจายความเสี่ยงได้โดยไม่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารและผู้กู้ยืม

ความเสี่ยงจากการใช้ CDS

ความเสี่ยงที่ชัดเจนของการใช้ CDS คือโอกาสที่ผู้ซื้อจะเบี้ยวหนี้นั่นเองครับ โดยหากผู้ซื้อมีการผิดสัญญา ผู้ขายก็ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากหาผู้ซื้อรายใหม่หรือส่งต่อ CDS ให้คนอื่นดูแลต่อเพื่อเอาเงินลงทุนตั้งต้นกลับคืนมา แต่ก็แน่นอนว่าเมื่อราคา Credit default swap ใหม่นั้นมีราคาที่ถูกกว่า ผู้ขายก็ไม่สามารถขายเพื่อเอากำไรได้ แต่ต้องทำใจขายสัญญาเก่าในราคาที่ขาดทุน

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน