ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

เทคนิคเทรดด้วยเครื่องมือ Donchian Channel Indicator วัดแรงแนวโน้ม

อินดิเคเตอร์ Donchian Channel ช่วยให้เทรดเดอร์จับจังหวะที่ราคากำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นและขาลง และมีโอกาสที่ราคาจะพุ่งทะลุ (Breakout), กลับตัว (Reversal), เปลี่ยนเทรนด์ และเริ่มเทรนด์ใหม่ (Emerging trend) อีกทั้งยังช่วยระบุระดับของราคาสูงสุด (High) และราคาต่ำสุด (Low) โดยเครื่องมือนี้ถูกคิดค้นและพัฒนาโดย Richard Donchian ในช่วงเริ่มต้นของยุค 80 จึงเป็นที่มาของชื่อ Donchian Indicator นั่นเอง ซึ่งอินดิเคเตอร์ชนิดนี้มีองค์ประกอบสำคัญหลายอย่างที่เทรดเดอร์ควรรู้ เพื่อเทรดโดยใช้ Donchian Channel ให้ได้ผลและได้กำไรจริงๆ

None

ในบทความวันนี้ เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้งาน Donchain indicator พร้อมคลายข้อสงสัยว่าอินดิเคเตอร์ชนิดนี้ ต่างจาก Bollinger Bands อย่างไร และที่สำคัญเรายังมีเทคนิคเทรดแบบมือโปรที่จะช่วยให้ท่านใช้เครื่องมือเทรดนี้ได้อย่างถูกต้องและไม่ผิดพลาด ถ้าพร้อมแล้วล่ะก็… ไปลุยกันเลย!

Donchian Channel Indicator คืออะไร?

อินดิเคเตอร์นี้ถูกคิดค้นพัฒนาขึ้นมาโดย Richard Donchian และเริ่มนำมาใช้งานกันจริงจังประมาณ 20 ปีก่อน แต่อินดิเคเตอร์ Donchian Channel ก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่เป็นที่นิยมในหมู่เทรดเดอร์และนักลงทุนแทบทุกระดับ อย่างไรก็ตาม เครื่องมือนี้อาจมีความซับซ้อนเล็กน้อยสำหรับนักเทรดมือใหม่ แต่หากลองศึกษามันดูดีๆ ท่านก็อาจเข้าใจหลักการของอินดิเคเตอร์ Donchian Channel และวิธีใช้อินดิเคเตอร์ชนิดนี้ในเวลาเพียงไม่นาน

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่างของอินดิเคเตอร์ Donchain Channel กันก่อนดีกว่า ซึ่งองค์ประกอบที่ว่านั้นก็คือเส้น 3 เส้นที่วาดขึ้นมาจากการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) นั่นเอง:

  1. เส้นด้านบน (Upper band) (ส่วนใหญ่จะเป็นราคา high ในรอบ 20 วัน)
  2. เส้นด้านล่าง (Lower band) (ตรงข้ามกับเส้นด้านบน บอกราคา Low ในรอบ 20 วัน)
  3. เส้นกลาง (Middle band) ค่าเฉลี่ยจากเส้นด้านบนและเส้นด้านล่าง

บริเวณเส้นตรงกลางจะเป็นตำแหน่งของอินดิเคเตอร์ Donchian Channel นั่นเองครับ

อินดิเคเตอร์ Donchian Channel บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับการเทรด?

จุดประสงค์หลักที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือ Donchian Channel ก็เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างกรอบราคาและราคา ณ ปัจจุบัน เทียบกันในกรอบเวลา (Timeframe) ต่างๆ โดยอาศัยการคำนวณจากค่าตัวเลขทั้งหมด 3 ค่าที่เราได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อสร้างรูปแบบแผนภาพราคา (หลักการแบบเดียวกับ Bollinger Bands แต่มีรายละเอียดและผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน)

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เทรดเดอร์เห็นขอบเขตของราคาทั้งขาขึ้นและขาลงใน timeframe ที่ต้องการได้ โดยหากเทรดเดอร์ต้องการดูแนวโน้มหรือแรงขาขึ้น ท่านจะต้องพิจารณาเส้นด้านบนสุด และในขณะเดียวกันหากต้องการดูแรงขาลง ก็ต้องอาศัยเส้นด้านล่างนั่นเอง

ข้อผิดพลาดที่ควรระวังเมื่อใช้ Donchian Channel Indicator

เทรดเดอร์มือใหม่บางรายอาจใช้อินดิเคเตอร์นี้แบบผิดๆ โดยไม่รู้ตัว บางคนอาจคิดว่าราคาจากเส้นด้านบนเป็นตัวบ่งบอกว่าตลาดกำลังอยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) จึงเป็นไปได้ที่ราคาจะกลับตัวลงไป ทำให้พวกเขาเลือกที่จะเปิดออเดอร์ขาย Short 

นั่นผิดเต็มๆ! เพราะในความเป็นจริงแล้ว เมื่อกราฟกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นนานๆ แทนที่ราคาจะกลับตัว ราคาอาจจะแกว่งตัวอยู่บริเวณเส้นด้านบนเป็นเวลานานยิ่งกว่าเดิม หรือพูดง่ายๆ ว่าสิ่งที่เทรดเดอร์ควรระวังก็คือ อินดิเคเตอร์ Donchian Channel ไม่สามารถใช้บอกสภาวะ Overbought หรือ Oversold ของตลาดได้นั่นเอง

ข้อแตกต่างระหว่าง Donchian Channel และ Bollinger Bands

ส่วนใหญ่แล้ว Bollinger Bands จะอาศัยการวิเคราะห์ความผันผวนของตลาดและมีการคำนวณปรับเปลี่ยนค่าตัวเลขใหม่ แต่อินดิเคเตอร์ Donchian Channel จะมีค่าตัวเลขที่คงที่ตามราคา high และ low ในแต่ละ timeframe

สรุปง่ายๆ เกี่ยวกับ Donchian Channel Indicator

สรุปจากบทความนี้ได้สั้นๆ ว่าอินดิเคเตอร์ Donchian Channel จัดอยู่ในประเภทตัวชี้วัดตามแนวโน้ม (Trend-following indicator) โดยอินดิเคเตอร์นี้มีส่วนประกอบเป็นเส้น 3 เส้นที่จะช่วยบ่งบอกได้ว่าแรงขาขึ้นและขาลงเป็นอย่างไร แต่ Donchian Channel เองก็มีข้อจำกัดบางอย่างที่เทรดเดอร์ควรระวัง และบางครั้งก็อาจส่งสัญญาณหลอก (False signal) ที่อาจทำให้นักเทรดตีความผิดได้

อย่าลืมนะครับ! ขอย้ำเตือนอีกครั้งว่า Donchian Channel Indicator ใช้บอกสภาวะตลาด overbought และ oversold ไม่ได้นะครับ หากท่านต้องการใช้สภาวะตลาดเหล่านั้นในการวิเคราะห์ร่วมกับ Donchian Channel เราขอแนะนำให้ท่านใช้ตัวชี้วัดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ATR เป็นต้น เพื่อให้ท่านสามารถจับจังหวะที่ราคาจะเบรคเอาท์หรือกลับตัวได้อย่างแม่นยำ และทุกครั้งที่เทรดก็อย่าลืมใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยล่ะครับ ยกตัวอย่าง Trailing stop loss ก็เป็นหนึ่งในตัวเลขที่ดีเลยล่ะ!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน