ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

ทริคการบริหารจัดการทรัพย์สิน (Asset Management) ง่ายๆ สำหรับมือใหม่

มีนักลงทุนหลายท่านที่มองหาตราสารใหม่ๆ เพื่อลงทุน ทำให้การจัดการทรัพย์สินเป็นอีกหนึ่งบริการที่นักลงทุนให้ความสนใจ เฉพาะในปี 2019 ผู้จัดการทรัพย์สินชั้นนำหลายร้อยรายทั่วโลกได้ดูแลตราสารทางการเงินต่างๆ รวมมูลค่ากว่า 104,4 ล้านล้านดอลลาร์ และเพิ่มมากขึ้นปี 2021 และ 2022 เนื่องมาจากวิกฤตโรคระบาดและสถานการณ์ทางการเมือง

None

ว่าแต่… การจัดการทรัพย์สินหรือ “Asset management” หมายความว่าอย่างไร? แล้วเราจะจัดการทรัพย์สินได้อย่างไร? ใครเป็นผู้คอยจัดการให้?

การจัดการทรัพย์สินคืออะไร?

การจัดการทรัพย์สิน (Asset management) เป็นธุรกิจที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาจัดการการเงินของลูกค้าซึ่งเป็นผู้จัดการกำหนดเป้าหมายของลูกค้าในแง่ของการลงทุน และช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายผ่านการกระจายพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio diversification) และการจัดการสินทรัพย์ พูดง่ายๆ ก็คือผู้เชี่ยวชาญจะดำเนินการซื้อขายตราสารหนี้, กองทุน, หุ้น และตราสารการเงินอื่นๆ แทนลูกค้านั่นเอง

แม้ว่าจะฟังดูคล้ายๆ โบรกเกอร์ แต่ผู้จัดการสินทรัพย์ก็มีหน้าที่ที่แตกต่างออกไปนิดหน่อย โดยพวกเขาจะดำเนินงานร่วมกับบุคคล, องค์กรการค้า, สถาบันที่ไม่แสวงหาผลกำไร และบริษัทมหาชนขนาดต่างๆ ซึ่งส่วนมากผู้ให้บริการด้านการจัดการสินทรัพย์มักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ดำเนินการด้วยคนเพียงคนเดียว

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ผู้บริหารจัดการทรัพย์สิน (Asset Manager) ทำหน้าที่อะไร?

ผู้จัดการสินทรัพย์ คือ ผู้เชี่ยวชาญหรือตัวแทนของบริษัทที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันแล้ว มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการหุ้น หลักทรัพย์ หรือเงินในนามของลูกค้า โดยภารกิจหลักคือการสร้างผลกำไรหรือเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนด

บางท่านอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับผู้จัดการทรัพย์สินในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุน (Financial and investment advisor), ผู้บริหารความมั่งคั่ง (Wealth manager), RIA และอื่นๆ อีกมากมาย โดยประเภทของผู้จัดการสินทรัพย์ที่ได้เป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่:

  1. โบรกเกอร์ด้านการลงทุน (Investment broker) คือ ผู้ดำเนินการในฐานะบุคคลที่ลงทะเบียนหรือในนามของบริษัทแนะนำ โดยจะมีการดูแลการซื้อขายตราสารการลงทุนต่างๆ และคิดค่าบริการจากค่าคอมมิชชั่นของแต่ละธุรกรรม
  2. RIA ย่อมาจาก Registered Investment Advisor หรือที่ปรึกษาทางการเงินที่มีการจดทะเบียน ซึ่งอาจเป็นตัวแทนบริษัทหรือบุคคลที่ลงทะเบียน โดยหน้าที่หลักคือการแบ่งปันคำแนะนำด้านการลงทุน รวมถึงวิธีจัดการสินทรัพย์ที่ถืออยู่ ซึ่ง RIA จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับบริการ
  3. ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisors) มีหน้าที่ช่วยให้ลูกค้ากระจายพอร์ตการลงทุน จากการกำหนดเป้าหมายการลงทุนในระยะยาว และสร้างความมั่นใจว่าจะบรรลุเป้าหมายผ่านการจัดการสินทรัพย์

หน้าที่หลักของผู้จัดการทรัพย์สิน

แม้ดูเหมือนว่าการจัดการสินทรัพย์จะแตกต่างกันตามชื่อเรียกของผู้จัดการสินทรัพย์ แต่จริงๆ แล้วทั้งหมดมีหน้าที่หลักๆ เหมือนกัน ซึ่งได้แก่:

  • ให้บริการในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในตลาดที่ลูกค้าสนใจ
  • คอยดูแล จัดการ และเปลี่ยนแปลงพอร์ตของลูกค้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุน
  • ดำเนินการร่วมกับที่ปรึกษาอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าครอบคลุมรายละเอียดต่างๆ ของการลงทุน

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของลูกค้า ผู้จัดการสินทรัพย์จะร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถดำเนินการได้อย่างเชี่ยวชาญมากขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้วจะช่วยให้บรรลุความต้องการด้านการลงทุนที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายหลักคือการโฟกัสความต้องการด้านการลงทุนของลูกค้านั่นเอง

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน