ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

จะเทรด Forex ต้องรู้จัก “Position Sizing” และการคำนวณ Lot Size

None

หลายๆ ท่านอาจสงสัยว่า Position sizing คือความจำเป็นในการเทรด forex จริงหรือ? ถูกต้องเลยครับ เพราะว่า position sizing เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันการเทรดขาดทุน ที่ทำให้เทรดเดอร์สามารถเทรดอยู่ในความสงบและเทรดด้วยเหตุผลได้ยังไงล่ะ! โดยหลักการนี้เป็นวิธีเบื้องต้น ที่มาพร้อมกับสูตรคำนวณแบบง่ายๆ แต่ช่วยป้องกันนักเทรดทั้งหลายจากการขาดทุนและการเทรดที่ผิดพลาดได้จริงแบบมีประสิทธิภาพเสียด้วย! โดยบทความนี้จะพาทุกท่านไปเรียนรู้ขั้นตอนการ position sizing แบบละเอียด แต่ก่อนที่จะกระโดดข้ามไปยังขั้นตอนเหล่านั้น... เรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าครับว่า position sizing ในการเทรด forex มันคืออะไรกันแน่??

Position Sizing คืออะไร?

Position sizing คือ ขนาดของสัญญาที่ท่านได้ลงทุนหรือเทรดในพอร์ตของท่าน หรือจะพูดให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ จำนวนเงินที่เทรดเดอร์กำลังจะใช้ลงทุนหรือใช้ในการเทรดนั่นเองครับ โดยขนาดของสัญญายังเป็นตัวกำหนดปริมาณสินทรัพย์ที่เทรดเดอร์สามารถซื้อได้ นอกจากนั้น ขนาดสัญญายังเป็นตัวบ่งบอกโอกาสในการทำกำไร และยังช่วยให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมความเสี่ยงในการเทรดได้อีกด้วย

การกำหนดขนาดสัญญาเทรด forex อย่างเหมาะสม เป็นวิธีเบื้องต้นในการจำกัดความเสี่ยงในการเทรด ซึ่งขนาดสัญญาเทรดมีความสำคัญมากขนาดที่ว่า ถ้าหากท่านไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับมันมากพอ ท่านก็อาจจะอยู่ในตลาด forex ได้ไม่นาน และก็อาจจะทำกำไรได้แค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น

และนี่คือขั้นตอนการกำหนดขนาดสัญญาเทรดอย่างละเอียด โดยท่านสามารถทดลองปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ได้ผ่าน บัญชีเดโม่ แบบไร้ความเสี่ยง!

ขั้นตอนการ Position Sizing

#1 ระยะจุด Stop Loss

ถือเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่งที่เทรดเดอร์ส่วนมากมักจะตั้งจุด stop loss ในขั้นตอนสุดท้ายของการเทรด ทั้งที่จริงแล้วเทรดเดอร์ควรจะตั้ง stop loss ตั้งแต่ก่อนลงมือเทรดด้วยซ้ำ ดังนั้น ก่อนที่จะเริ่มเทรด เทรดเดอร์จะต้องเรียนรู้วิธีการตั้ง stop loss ที่ถูกต้อง

การวางแผน stop loss ไว้ก่อนล่วงหน้า จะทำให้ท่านสามารถคำนวณได้ว่าตำแหน่งระหว่างจุด stop loss และระดับราคาที่ท่านเข้าเทรดนั้น มีระยะใกล้หรือไกลกันมากน้อยแค่ไหน โดยประโยชน์ของ stop loss ก็คือ การป้องกันท่านจากการเทรดขาดทุนนั่นเอง ฉะนั้น เทรดเดอร์ทุกท่านไม่ควรบิดเบือนระดับ stop loss เพียงเพราะว่าท่านต้องการตั้งออเดอร์ด้วยขนาด position ที่มากขึ้น เพราะผลลัพธ์ที่ได้จะไม่สอดคล้องกับความสามารถในการขาดทุนของท่านจริงๆ เราขอให้นักลงทุนท่านเทรดอย่างระมัดระวังเสมอนะครับ!

ในการเทรด forex นั้น ระยะของ stop loss จะนับเป็นหน่วย pip ซึ่ง 1 pip = 1 ราคาต่อ unit ยกตัวอย่างเช่น ในการเทรดคู่เงิน forex ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่าง EUR/USD เมื่อราคาขยับขึ้นจาก 1.8000 ไปยัง 1.8001 ติ๊ก-ต็อกๆ… ถูกต้องแล้วคร้าบบบ! จำนวนที่เพิ่มขึ้นนั้นนับเป็น 1 pip นั่นเอง!!

#2 กำหนดระดับความเสี่ยงในการเทรด

ขั้นตอนนี้ง่ายมากๆ เริ่มจากการตั้งคำถามกับตัวเองว่า ท่าน "พร้อมรับความเสี่ยงในการเทรดได้มากน้อยแค่ไหน?" หรือท่าน "ขาดทุนได้มากเท่าไหร่ ขณะกำลังไล่ทำกำไร?" ซึ่งการกำหนดปริมาณความเสี่ยงถือเป็นสิ่งที่มาคู่กับแผนในการทำกำไรเสมอ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

หลักการสำคัญก็คือ เทรดเดอร์ไม่ควรลงทุนด้วยขนาดล็อตแบบสุ่มสี่สุ่มห้า แล้วปรับเปลี่ยนตำแหน่ง stop loss เพียงเพื่อให้ได้ระดับความเสี่ยงตามที่ท่านต้องการ เช่น เพื่อให้ได้ระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่เทรดเดอร์ควรตั้ง stop loss ณ ระดับราคาที่เหมาะสมและสัมพันธ์กับกราฟราคาที่ท่านใช้ในการวิเคราะห์ต่างหาก

ยิ่งไปกว่านั้น ความเสี่ยงในการเทรดยังเป็นตัวบ่งบอกคุณภาพการตั้งค่าการเทรด หรือ Trade setup ของท่านได้อีกด้วย ซึ่งถ้าหากท่านตัดสินใจยอมรับความเสี่ยงได้มากกว่าเดิมใน trade setup ที่แข็งแกร่งขึ้น นั่นหมายความว่าท่านไม่ควรเทรดด้วยความเสี่ยงใน trade setup ที่มีประสิทธิภาพน้อยลง

หลักการนี้เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า 'การผันแปรขนาดสัญญา' ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มเทรดเดอร์มืออาชีพ และได้รับความนิยมมากพอๆ กับวิธีเทรดอื่นๆ

#3 พิจารณามูลค่า Pip และ Lot Size

ขนาดสัญญาขึ้นอยู่กับจำนวนล็อต (lot) ที่ท่านเปิดเทรด โดย lot จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่: Nano lot, Micro lot, Mini lot และ Standard lot ดังนี้

  • Nano lot size: มีค่าเท่ากับการเทรด 100 unit
  • Micro lot size: มีค่าเท่ากับการเทรด 1,000 unit
  • Mini lot size: มีค่าเท่ากับการเทรด 10,000 unit
  • Standard lot size: มีค่าเท่ากับการเทรด 100,000 unit

มูลค่า pip จะเปลี่ยนไปตามขนาดของ lot ที่ท่านเทรด เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้นะครับ:

  • 1 Nano lot: 1 pip = 0.01 USD
  • 1 Micro lot: 1 pip = 0.10 USD
  • 1 Mini lot: 1 pip = 1 USD
  • 1 Standard lot: 1 pip = 10 USD
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

นี่เป็นตารางตัวอย่างการเปรียบเทียบขนาดของ lot และมูลค่าของ pip เพื่อให้ท่านเห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้น

None

นั่นหมายความว่า 10 mini lot จะเท่ากับ 1 standard lot และ 10 micro lot จะเท่ากับ 1 mini lot อย่างไรก็ตาม มูลค่า pip จะแปรเปลี่ยนไปตามประเภทของคู่เงินที่ท่านเลือกเทรด เทรดเดอร์จึงควรพิจารณามูลค่า pip ของแต่ละคู่เงิน ก่อนที่จะตัดสินใจเทรดทุกครั้ง

#4 กำหนด Lot Size โดยใช้ระยะ Stop Loss

ขั้นตอนสุดท้าย คือ การรวมข้อมูลทั้งหมดที่ท่านมีเข้าด้วยกัน แล้วกำหนดขนาดสัญญาที่ท่านต้องการซื้อขาย เพื่อให้ตรงกับระดับความเสี่ยงที่ท่านต้องการ

การคำนวณขนาดสัญญา forex มีสูตรคำนวณ ดังนี้:

ความเสี่ยงในการเทรด (ต่อครั้งการเทรด) / ระยะ stop loss (หน่วย pip) = mini lot

ตัวอย่างเช่น ท่านมีขนาดพอร์ต $2,000 และรับความเสี่ยงได้ 2% ทุกครั้งที่เทรด นั่นก็เท่ากับว่าท่านยอมขาดทุนได้สูงสุด $40 และระยะ stop loss ก็จะเท่ากับ 50 pip

ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ $40 / 50 = 0.8 ซึ่งหมายความว่าท่านจะต้องซื้อ 0.8 mini lot (หรือ 8 micro lot) นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์สามารถสร้างตารางคำนวณ position sizing ในการเทรด forex ได้เอง โดย 'ตารางสูตรคำนวณอัตโนมัติ' นี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแสดงขนาดสัญญาแบบสำเร็จรูป ซึ่งจะช่วยให้ท่านประหยัดเวลาในการคำนวณได้มากเลยทีเดียว แถมยังสะดวกมากกว่าเดิม เพราะท่านสามารถแก้ไขจำนวนตัวเลขเพื่อให้ได้ตัวเลือกขนาดสัญญาที่หลากหลายมากขึ้น

เมื่อท่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับ position sizing มากย่ิงขึ้นแล้ว เราขอแนะนำให้ท่านมาทดสอบความเข้าใจเหล่านั้น ด้วยการทดลองเทรดบน MT4 ผ่าน บัญชีเดโม่ จาก MTrading

การเริ่มต้นฝึกฝนทักษะการเทรดด้วย บัญชีเดโม่ แบบไร้ความเสี่ยง จะช่วยทดสอบประสิทธิภาพของขนาดสัญญาที่แตกต่างกัน ท่านจะได้พร้อมสำหรับการลงทุนเทรดในตลาดจริง และสามารถเลือก position size ที่เหมาะสม

การคง Position Sizing ที่เหมาะสม สำคัญอย่างไร?

การคงขนาดสัญญาที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้นักลงทุนสามารถเทรดได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังทำให้พอร์ตของท่านค่อยๆ โตขึ้นอย่างมั่นคงในที่สุด เทรดได้ไม่หวั่นแม้ในวันที่ตลาดมีความผันผวนสูงก็ตาม

การเทรดด้วยขนาดสัญญาที่ไม่คงที่อาจทำให้ท่านเทรดได้ผิดพลาด เช่น การวางเงินลงทุนมากเกินไปสำหรับการเทรดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าเทรดเดอร์จะต้องใช้เวลาในการค้นหาจำนวน lot ที่เหมาะสมสำหรับการซื้อหรือขายในการเทรด แต่เชื่อเถอะครับว่า การตั้งจุด stop loss ที่ดี รวมถึงการคงขนาด position อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ท่านค่อยๆ พัฒนาความสามารถในการคำนวณขนาดสัญญาได้เอง

Position sizing หรือ ขนาดสัญญา เป็นหนึ่งในองค์ประกอบในการเทรดเพียงไม่กี่อย่างที่เทรดเดอร์สามารถควบคุมและกำหนดได้เองแบบ 100% ดังนั้น โปรดมั่นใจว่าท่านได้ศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณขนาดสัญญาเหล่านั้นมากเพียงพอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดของท่านให้มากได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างกลยุทธ์ Position Sizing

เราได้เตรียมตัวอย่างการใช้งานกลยุทธ์ position sizing มาให้กับทุกท่าน เพื่อให้ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที!

  • ขนาด Position แบบ Fixed Lot: เป็นการกำหนด 'ความคงที่' (fixed) ของปริมาณ lot ซึ่งเหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่มักจะถอนเงินออกจากบัญชีเทรดอยู่บ่อยๆ

อย่างไรก็ดี กลยุทธ์นี้มีข้อเสียตรงที่ว่าเทรดเดอร์จะไม่สามารถกำหนดเลเวอเรจที่แน่นอนได้เมื่อยอดเงินในบัญชีเปลี่ยนไป ซึ่งอาจทำให้เทรดเดอร์ขาดทุนมากยิ่งขึ้นต่อเนื่องเรื่อยๆ จนอาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา

  • ขนาด Position แบบ Fixed Ratio: กลยุทธ์นี้จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยง หรือความสัมพันธ์ระหว่างการทำกำไรและความเสี่ยงจากการเทรด โดยข้อดีก็คือ มันจะทำให้เทรดเดอร์ทราบจังหวะที่แม่นยำในการเพิ่มหรือลดขนาด lot นั่นเอง

ว้าว!! ตอนนี้เทรดเดอร์ทุกท่านคงพร้อมที่จะทดลองตั้งออเดอร์ forex ผ่าน บัญชีเดโม่ เต็มทีแล้ว! หลังจากที่ท่านเปิดบัญชีเดโม่ ท่านจะได้รับสิทธิ์ในการทดลองเทรดบนแพลตฟอร์มเทรดจริงๆ ในภาวะตลาดแบบเรียลไทม์ แต่ไม่ต้องกลัวว่าจะเสี่ยงขาดทุนใดๆ เพราะเรามีเงินจำลองในพอร์ตให้ถึง 5,000 USD ที่สามารถนำไปใช้ทดลองเทรดกลยุทธ์ต่างๆ ได้เต็มที่ และหากท่านมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อผู้ช่วยเหลือส่วนตัวจากเราได้ทุกเมื่อนะครับ

หมั่นติดตามศึกษาความรู้ forex อยู่เสมอ เช่น วิธีอ่านกราฟหุ้น สำหรับมือใหม่ ใครจะไปรู้ มือใหม่ในวันนี้อาจกลายเป็นมือโปรในวันพรุ่งนี้เลยก็เป็นได้!!

เราขอให้เทรดเดอร์ทุกท่านโชคดี แล้วอย่าลืมแวะเวียนมาร่วมเทรดกับเรานะคร้าบบบ ^__^

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน