เชื่อว่านักเทรดหลายๆ คนจะต้องเจอกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในบางจังหวะ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรทำกำไร และเมื่อใดที่ควรตัดขาดทุน โดยการตัดสินใจนั้นอาจไม่ใช่เรื่องยาก การใช้ Trailing Stop Loss จึงเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยนักเทรดให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
นักลงทุนบางรายชอบถือสินทรัพย์ไว้และรอจนกว่าแนวโน้มหรือเทรนด์จะกลับตัว บางคนอาจหาโอกาสขายหุ้นเมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจังหวะในการทำกำไรแล้ว อีกหนึ่งความท้าทายคือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้น การใช้คำสั่ง Trailing Stop Loss จึงมีความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
ในบทความวันนี้ เราจะอธิบายหลักการใช้เครื่องมือ Trailing stop ตลอดจนวิธีต่างๆ ในการใช้ Trailing stop ในสภาวะตลาดจริง
Trailing Stop Loss หมายถึง รูปแบบคำสั่งการหยุดขาดทุน ซึ่งเป็นวิธีในการจัดการความเสี่ยงนั่นเอง นอกจากนี้ เครื่องมือนี้จะมีประโยชน์อย่างมากหากท่านต้องการปกป้องกำไรที่ได้รับหากตลาดเคลื่อนที่สวนทางกับออเดอร์ที่เปิดไว้ เพื่อล็อคผลกำไรจากการซื้อขายแต่ละครั้ง
คำสั่ง Trailing Stop Loss จะช่วยป้องกันบาลานซ์ไม่ให้ติดลบและช่วยให้นักเทรดไม่ขาดทุนหากตลาดเคลื่อนไหวผิดคาดฯ โดยการตั้ง Trailing stop เป็นการวางคำสั่งตัดขาดทุนโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องตั้งออเดอร์ใหม่ในระหว่างการเทรด แต่ยังสามารถควบคุมการดำเนินการและใช้การตั้งค่าด้วยตนเองได้
กลยุทธ์ Trailing stop นั้นมีหลักการใกล้เคียงกับการตั้ง Stop loss ทั่วไปอย่างมาก เช่น หากท่านต้องการป้องกันออเดอร์เทรดด้วย Trailing Stop Loss ท่านจะต้องวางคำสั่งซื้อไว้ที่ราคาต่ำกว่าตำแหน่งที่เปิดออเดอร์
ข้อแตกต่างหลักๆ ระหว่างออเดอร์ทั้ง 2 แบบคือคำสั่ง Trailing stop ที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ตามราคา ทำให้มีตำแหน่งในการตัดขาดทุนที่สัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของราคา อีกทั้งยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการความเสี่ยง
ตัวอย่างเช่น หากราคาเคลื่อนที่ทุกๆ 5 จุด Trailing Stop Loss ก็จะเคลื่อนที่ไป 5 จุดด้วยเช่นกัน ไม่ว่าราคาจะเคลื่อนไหวอย่างไร ระดับ Trailing stop ก็จะเคลื่อนที่ตาม แต่หากราคามีการปรับตัวลง ระดับ Trailing stop จะไม่เคลื่อนที่
นักเทรดสามารถใช้เทคนิคหลายๆ แบบในการตั้งคำสั่ง Trailing stop โดยอาจใช้ตัวบ่งชี้หรือ Indicator ทางเทคนิคเพื่อช่วยกำหนดตำแหน่งที่ดีที่สุดในการวาง Trailing stop
ตัวช่วยสำคัญในการวางตำแหน่ง Trailing Stop Loss คือการใช้ Moving Average (MA) หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นตัวช่วย โดยมีขั้นตอนดังนี้:
อีกหนึ่งเทคนิคสำคัญคือการใช้อินดิเคเตอร์ Average True Range ซึ่งจะช่วยวัดค่าความผันผวนเพื่อวาง Trailing stop ในตำแหน่งที่เหมาะสม ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้:
นักเทรดไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการวิเคราะห์กราฟด้วยตัวเอง แค่ใช้อินดิเคเตอร์บนโปรแกรม MT4 ก็จะช่วยให้มองกราฟได้ง่ายขึ้น
เครื่องมือนี้อาจใช้งานยากโดยเฉพาะในจังหวะที่ตลาดมีความผันผวน และหากนักเทรดไม่อยากเสียโอกาสในการทำกำไรในอนาคต อย่างไรก็แล้วแต่ Trailing stop ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี:
ข้อเสีย:
แน่นอนว่า Trailing Stop Loss เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมที่ทำให้นักเทรดเทรดได้อย่างมีวินัย ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการบริหารความเสี่ยง อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นเพียงพอในการทำกำไรต่อไปได้เช่นกัน ที่สำคัญ นักเทรดยังสามารถกำหนดค่าในการตัดขาดทุนด้วยตนเองได้ โดยอาศัย Indicator ที่มีประโยชน์ในการกำหนดตำแหน่ง Trailing stop นั่นเอง
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน