ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-02-08

EURUSD พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 วัน ท่ามกลางการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ และสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ ECB

EURUSD พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 วัน ท่ามกลางการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ และสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ ECB

สถานการณ์ความเสี่ยงในตลาดมีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงต้นวันพฤหัสบดี สืบเนื่องมาจากความเชื่อมั่นที่ยังเป็นบวกแม้จะมีท่าทีระมัดระวังของตลาดในช่วงต้นสัปดาห์ก็ตาม ขณะที่นักลงทุนต่างคาดการณ์ถึงการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโอกาสในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในเดือนมีนาคมจะลดลง แต่นักลงทุนในตลาดยังคงคาดหวังการเคลื่อนไหวของธนาคารกลางในเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้เกิดการทดสอบสกุลเงินที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ สัญญาณเบื้องต้นที่บ่งบอกถึงความอ่อนแอในเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความท้าทายต่อนโยบายการคงดอกเบี้ยระดับสูงระยะยาวของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และทำให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสามารถปรับตัวขึ้นเล็กน้อยได้

ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงเริ่มฟื้นตัวหลังจากร่วงลงติดต่อกันสองวัน เช่นเดียวกันกับ คู่เงิน EURUSD ที่เพิ่มขึ้นเป็นวันที่สามติดต่อกัน ขณะเดียวกัน คู่เงิน GBPUSD,คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ต่างก็พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD กลับลดลงเป็นวันที่สามติดต่อกันโดยได้รับแรงหนุนจาก USD ที่อ่อนค่าลงและราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นของสินค้าส่งออกหลักของแคนาดา อย่างเช่น น้ำมันดิบ

ในทางตรงกันข้าม คู่เงิน USDJPY ขยายการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ ในขณะที่ราคาทองคำยังคงได้รับแรงกดดันเป็นวันที่สองติดต่อกัน

โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า BTCUSD ยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยที่ระดับสูงสุดในรอบเดือน ท่ามกลางการมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับเมทริกซ์ Bitcoin แต่ ETHUSD กลับถอยกลับจากระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนมีท่าทีระมัดระวังเกี่ยวกับการอัปเกรด Ethereum

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) เพิ่มสูงขึ้นเป็นวันที่สี่ติดต่อกันโดยแตะที่ระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ที่ราวๆ $80.00
  • ทองคำ (Gold) แกว่งตัวอยู่ที่ประมาณ $2,035 หลังจากถอยกลับจากระดับสูงสุดประจำสัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) อยู่ที่ราวๆ 104.00 หลังจากร่วงลงติดต่อกันเมื่อสองวันที่ผ่านมา
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวกเล็กน้อย หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ส่วน หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ผันผวนในช่วงต้นวัน
  • BTCUSD แตะระดับสูงสุดใหม่ในรอบเดือนที่ราวๆ $44,800 ก่อนที่จะอ่อนตัวลงเป็น $44,500 และ ETHUSD ร่วงลงเล็กน้อยหลังจากแนวโน้มขาขึ้นสามวันที่ราวๆ $2,420
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

การปฏิเสธการลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ทดสอบความเชื่อมั่นของตลาด ท่ามกลางสัญญาณที่หลากหลาย

นักลงทุนยังคงเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางรายใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะประกาศการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม โอกาสที่เพิ่มมากขึ้นที่จะดำเนินการดังกล่าวในเดือนพฤษภาคมดูเหมือนจะกระตุ้นให้เกิดการพร้อมรับความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางการขาดปัจจัยเชิงลบสำคัญจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่เป็นบวกเล็กน้อยของจีน รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจจากปักกิ่ง

ทั้งนี้ Neel Kashkari ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งมินนิแอโพลิส (สมาชิก FOMC ที่ไม่ลงคะแนนเสียงในปี 2024) ได้ลดท่าทีที่สนับสนุนนโยบายการเงินแบบแข็งกร้าวของเขาลง พร้อมอ้างถึงความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2-3 ครั้ง อย่างไรก็ตามเขายังกล่าวอีกว่า “หากตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง เราก็จะสามารถปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อย่างช้าๆ”

ในขณะเดียวกัน Adriana Kugler ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯได้ส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางยังไม่บรรลุเป้าหมายด้านการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ พร้อมทั้งเสริมว่านโยบายการเงินยังคงอยู่ในระดับเข้มงวด นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งบอสตัน Susan Collins ได้ชี้ให้เห็นถึงการลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี 2024 แต่ยังคงเตือนว่าอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอาจสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ยิ่งไปกว่านั้น Thomas Barkin ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งริชมอนด์ยังออกมากล่าวว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะใช้ความอดทนกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ในทิศทางนั้น อัตราการเติบโตของค่าแรงของธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งแอตแลนตาลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 โดยอยู่ที่ 5.0% เมื่อเทียบกับ 5.2% ในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ โมเดล GDPNow ของ Atlanta Fed ยังคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 2024 ว่าจะลดลงเหลือ 3.4% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.2% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อีกทั้ง สินเชื่อผู้บริโภคของสหรัฐฯยังเติบโตช้ากว่าที่คาดไว้มาก โดยเพิ่มขึ้นเพียง 1.56 พันล้านดอลลาร์ในเดือนธันวาคม ขณะที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 16.0 พันล้านดอลลาร์

โดยสำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ (CBO) ได้เผยแพร่รายงาน "แนวโน้มการคลังและเศรษฐกิจ" ซึ่งบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อและตัวเลขการเติบโตจะค่อยๆลดลงในปีต่อไป ตามรายงานยังชี้ให้เห็นว่าอัตราการว่างงานและการขาดดุลการคลังจะเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

ในอีกทางหนึ่ง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดูเหมือนจะยังไม่พร้อมผ่อนคลายนโยบายการเงินมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางดัชนีหุ้น DAX ที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดตลอดกาลเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนี้ ความคิดเห็นที่มีทิศทางหนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากสมาชิกสภาปกครอง ECB Isabelle Schnabel ยังเสริมความกังวลที่เกี่ยวกับความล่าช้าในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB และยังช่วยหนุนให้คู่เงิน EURUSD ปรับตัวสูงขึ้นอีกด้วย

อีกทางด้านหนึ่ง สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) ได้เผยแพร่ “แนวโน้มพลังงานระยะสั้น” เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ซึ่งคาดการณ์ว่าการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯในปี 2024 จะชะลอตัวลง โดยปัจจัยนี้ส่งผลดีต่อราคาน้ำมันดิบควบคู่กับดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯประจำสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้นั้นจะยังคงท้าทายแรงเทซื้อพลังงานต่อไป

ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของ Fed และ ECB กำลังปกป้องจุดยืนการคุมเข้มนโยบายการเงินนั้น Shimizu กรรมการผู้จัดการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้ออกมาขจัดข้อกังวลที่เกี่ยวกับการยุติมาตราการผ่อนคลายนโยบายการเงิน แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะถูกปรับขึ้นจากติดลบก็ตาม นอกจากนี้ รองผู้ว่าการ BoJ Uchida ยังกล่าวอีกว่า พวกเขาต้องการรักษาสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคงและผ่อนคลาย ถึงกระนั้น แม้ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของญี่ปุ่นจะมีเงินเยนสะสมจำนวนมหาศาลเป็นประวัติการณ์ แต่พวกเขากลับลังเลที่จะลงทุนในช่วงหลัง นี่กลับบ่งชี้ว่าญี่ปุ่นใกล้จะก้าวออกจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษแล้ว ในขณะเดียวกัน คู่เงิน USDJPY ยังคงแข็งค่าขึ้นตามผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้นและการคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น

ทั้งนี้ คู่เงิน GBPUSD ขาดแรงผลักดันในการฟื้นตัว เนื่องจากการเติบโตของค่าแรงในสหราชอาณาจักร ลดลงเหลือระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีตามข้อมูลของสมาพันธ์จัดหางานและการจ้างงาน (REC) ด้วยเหตุนี้ REC จึงเรียกร้องให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลเศรษฐกิจของอังกฤษที่ตกต่ำเมื่อเร็วๆนี้ นี่จะเป็นแรงหนุนแรงเทซื้อคู่เงินเคเบิลด้วยเช่นกัน

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY
  • สัญญาณขายแรง: Crude Oil, US Dollar, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, AUDUSD, EURUSD

จับตามองตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐฯ และท่าทีธนาคารกลาง….

ความกังวลเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงดำเนินอยู่และข่าวความเสี่ยงอาจทำให้ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงมีทิศทางบวก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ สินค้าคงคลังค้าส่งรายเดือน และแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป และสหราชอาณาจักรจะช่วยให้แรงเทขายดอลลาร์สหรัฐฯได้พักหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังทั่วกระดานขยับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางยังคงท้าทายราคาน้ำมันและผลักดันนักลงทุนให้หันไปหา USD ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้ของจีนและช่วงเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะมาถึงนั้นจะทดสอบแรงเทซื้อทองคำ แม้ว่าโลหะมีค่านี้จะมีเสน่ห์ดึงดูดในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยตามธรรมเนียมก็ตาม

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !