ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-06-13

EURUSD พยายามรักษาระดับการปรับตัวสูงขึ้นหลังจากการรายงานอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ และการประชุม FOMC ก่อนการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจของ EU/US

EURUSD พยายามรักษาระดับการปรับตัวสูงขึ้นหลังจากการรายงานอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ และการประชุม FOMC ก่อนการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจของ EU/US

เมื่อช่วงต้นวันพฤหัสบดี นักลงทุนในตลาดอยู่ในสภาวะทรงตัวจากการเคลื่อนไหวที่รุนแรงในวันก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเทรดเดอร์ต่างก็เตรียมตัวสำหรับการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญจากสหรัฐฯและยูโรโซนที่จะประกาศในวันนี้ ขณะที่การตัดสินใจของ Fed นั้นถูกมองว่าน่าจะเป็นดำเนินนโยบายการเงินที่การเข้มงวด เมื่อทำการวิเคราะห์อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลก่อนที่จะมีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจ รวมถึงความท้าทายใหม่ๆที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาด ยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯสามารถชะลอตัวจากการร่วงลงของวันก่อนหน้าได้

แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดตามการคาดการณ์ แต่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก็ยังคงอ่อนค่าลงอย่างหนักในวันก่อนหน้า สาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับตัวเลขข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่ปรับตัวลง และความไม่มั่นใจของตลาดต่อการคาดการณ์ว่า FOMC จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2024

การดีดตัวสูงขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯในวันพฤหัสบดีนี้ ประกอบกับความตึงเครียดทางการเมืองที่รายล้อมฝรั่งเศสและเยอรมนีนั้นได้ท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD ในทำนองเดียวกัน บรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังในสหราชอาณาจักรก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม และข้อมูลเศรษฐกิจอังกฤษที่ล่าสุดถดถอยลง ก็ส่งผลต่อแรงเทซื้อของคู่เงิน GBPUSD หลังจากอยู่ในช่วงขาขึ้นมาเป็นเวลาสามวันเช่นกัน นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังกลับสู่แนวโน้มขาขึ้นเดิมอีกครั้ง หลังจากเผชิญกับการร่วงลงครั้งแรกในรอบ 3 วัน

ขณะที่ คู่เงิน AUDUSD ชะลอตัวจากการพุ่งสูงขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเดือน คู่เงิน NZDUSD ก็ปรับตัวลงด้วยเช่นกัน ท่ามกลางการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาในหลากหลายทิศทาง อย่างไรก็ตาม คู่เงิน USDCAD ยังคงขยายการฟื้นตัวจากเส้น 50-SMA ต่อเนื่องจากช่วงวันพุธ เนื่องจากแรงเทซื้อน้ำมันถอยลงจากระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์-อุปทานในตลาด อีกทั้ง บรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการแถลงการณ์ของผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา (BoC) Tiff Macklem ยังส่งผลให้เทรดเดอร์คู่เงิน Loonie สามารถประคองราคา โดยชะลอการร่วงลงจากวันก่อนหน้าได้

ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น 3 วันติดต่อกัน แต่ล่าสุดกลับร่วงลงมากกว่าครึ่งเปอร์เซ็นต์ ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัว ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางชั้นนำทั่วโลก นอกจากนี้ ปัจจัยที่ท้าทาย XAUUSD อีกประการหนึ่งอาจเป็นผลมาจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง จีน ยูโรโซน รวมถึง สหราชอาณาจักร และรัสเซีย

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ปรับตัวขึ้นตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงก่อนที่จะกลับไปร่วงลงอีกครั้ง ท่ามกลางภาวะอ่อนแรงของช่วงแนวโน้มขาขึ้นหลังจากการอนุมัติ spot ETF สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ สถานะถือครองบิตคอยน์ (long positions) ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความกังวลของนักเทรดรายย่อยที่ใช้กลยุทธ์ “buy the dip”

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ขยายการดึงกลับจากระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ โดยลดลง 0.12% ระหว่างวันที่ประมาณ $78.15
  • ทองคำ (Gold) ยุติแนวโน้มขาขึ้นสามวัน ขณะที่ร่วงลง 0.65% ระหว่างวันที่ประมาณ $2,310
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ชะลอการร่วงลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบแปดวัน ขณะที่พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ 104.80
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสมแต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ชะลอตัวจากการพุ่งสูงขึ้นของวันก่อนหน้าโดยร่วงลงเกือบ 1.0% สู่ระดับ $67,600 และ $3,510 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯไม่ตอบสนองต่อการยุตินโยบายที่เข้มงวดของ Fed ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลง….

เมื่อวานนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปรับตัวลงแรงที่สุดในรอบ 8 วัน เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (CPI) มีตัวเลขต่ำกว่าการคาดการณ์ ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 3.3% YoY และ 0.0% MoM ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.4% และ 0.1% ตามลำดับ โดยคณะกรรมการ FOMC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของ Fed ไว้ดังเดิมตามคาด ถึงกระนั้น รายงาน dot plot ยังชี้ให้เห็นว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2024 ในขณะที่แถลงการณ์ของ Fed กล่าวถึง "ความคืบหน้าเล็กน้อย" ในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ทั้งนี้ Jerome Powell ประธาน Fed ยังกล่าวอีกว่า "ไม่ว่าผลรายงาน dot plot จะเป็นอย่างไร ทุกคนในคณะกรรมการ FOMC ต่างเห็นพ้องว่า การตัดสินใจนั้นยังคง 'ขึ้นอยู่กับข้อมูลเป็นอย่างมาก' "

ดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงยังส่งผลดีต่อคู่เงิน EURUSD โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก Isabel Schnabel สมาชิกคณะกรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาแสดงความเห็นเชิงสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวด ถึงกระนั้น เมื่อวันพุธที่ผ่านมา Schnabel ยังกล่าวอีกว่า "ช่วงสุดท้าย" ของกระบวนการลดเงินเฟ้อในยูโรโซนน่าจะมีความยากลำบากกว่าที่ผ่านมา นอกจากแถลงการณ์ที่มีสัญญาณเชิงเข้มงวดของ ECB แล้ว ตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมนีที่ออกมาตรงตามการประมาณการเดิม ยังช่วยหนุนให้คู่เงินยูโรปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2023

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD พุ่งสูงขึ้นเป็นวันที่สามติดต่อกันแตะที่ระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ก่อนจะปรับตัวลงจากระดับ 1.2860 โดยเป็นผลมาจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง รวมถึงความกังวลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และบรรยากาศทางการเมืองของอังกฤษก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม

ในทางกลับกัน คู่เงิน USDJPY ไม่ได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์สหรัฐฯที่ปรับตัวลง แม้จะยุติช่วงแนวโน้มขาขึ้น 3 วัน ก่อนกลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดี โดยสถานการณ์ของคู่เงินเยนยังสะท้อนถึงความวิตกกังวลของตลาดก่อนการประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในวันศุกร์นี้ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีการประกาศลดการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ลง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของญี่ปุ่นประจำไตรมาส 2 ที่มีตัวเลขการรายงานปรับตัวดีขึ้นจาก -6.7 เป็น -1.0 ในวันพฤหัสบดีประกอบกับความผันผวนของตลาด ยังส่งผลกระทบต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน USDJPY ในภายหลัง

หลังจากวันที่ตลาดเต็มไปด้วยความผันผวนจากการรายงานข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ ดอลลาร์สหรัฐฯกำลังค่อยๆฟื้นตัวขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ในตลาดที่เปราะบาง นอกเหนือไปจากการที่ตลาดพยายามทรงตัวจากการเคลื่อนไหวในวันก่อนหน้าแล้ว ข่าวเชิงลบที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในตลาดยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวขึ้นได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะมีการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (PPI) ประจำเดือนพฤษภาคม จำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ว่างงานประจำสัปดาห์ และการแถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์ก John Williams ในวันนี้

โดยในอีกทางหนึ่ง รัสเซียตอบโต้การคว่ำบาตรจากสหรัฐฯและยุโรป ด้วยการหยุดการซื้อขายดอลลาร์สหรัฐฯและยูโรบนตลาดหลักทรัพย์มอสโก อีกทั้งธนาคารกลางรัสเซียยังหยุดการซื้อขายดอลลาร์ฮ่องกงอีกด้วย ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาด อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า สกุลเงินเหล่านี้ยังคงสามารถซื้อขายได้ผ่านธนาคารในรัสเซียด้วยวิธีการซื้อขายแบบ OTC (Over The Counter: OTC)

ถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะฟื้นตัว แต่คู่เงิน AUDUSD ก็ยังคงชะลอตัวลงจากการพุ่งสูงขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเดือน แม้จะมีการรายงานข้อมูลตัวเลขการจ้างงานของออสเตรเลียที่ค่อนข้างสดใสก็ตาม นอกจากนี้ คู่เงิน NZDUSD ยังยุติการพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง 3 วัน โดยขยายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากช่วงปลายวันพุธจากจุดสูงสุดในรอบ 5 เดือนเช่นกัน ท่ามกลางข้อมูลยอดค้าปลีกผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของนิวซีแลนด์ที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน USDCAD ยังมีการร่วงลงมากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง และราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของแคนาดามีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ ความเห็นเชิงสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา (BoC) Tiff Macklem ก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคู่เงิน Loonie อีกด้วย โดยผู้ว่าการ BoC ยังระบุว่า ธนาคารมีข้อจำกัดในการปรับอัตราดอกเบี้ยแตกต่างจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มากเกินไป แต่ก็กล่าวเสริมว่า "ยังไม่ถึงขีดจำกัดนั้น"

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ในวันก่อนหน้า ก่อนที่จะร่วงลงมาจากระดับ $79.28 หลังจากมีการรายงานข้อมูลอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ที่ระบุว่า ปริมาณคลังสำรองน้ำมันดิบสหรัฐฯประจำสัปดาห์มีการเพิ่มขึ้นอย่างเหนือความคาดหมาย นอกจากนี้ พาดหัวข่าวจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ที่คาดการณ์ถึงความต้องการพลังงานที่ลดลงในปี 2024 ยังส่งผลต่อแรงเทซื้อน้ำมันดิบอีกด้วย

นอกจากนี้ ราคาทองคำยังพุ่งสูงขึ้น 3 วันติดต่อกันแตะระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ ก่อนที่จะพลิกกลับลงมาจากแนวรับที่เส้น 50-SMA โดยลดลงกว่าครึ่งเปอร์เซ็นต์ระหว่างวันไปที่ประมาณ $2,310 สาเหตุที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นก่อนหน้านี้ อาจเป็นผลมาจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงและความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน อย่างไรก็ตาม การร่วงลงล่าสุดของราคาทองคำดูเหมือนจะเป็นการตอบสนองต่อการคาดการณ์ใหม่ในตลาดที่ว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางชั้นนำนั้น อาจจะไม่ลดลงมากตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

วันที่น่าจะค่อนข้างสงบก่อน….

หลังจากที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และผลการประชุม FOMC มีการรายงานออกมาเหนือความคาดหมาย เทรดเดอร์จะยังคงจับตามองไปที่การรายงานดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (PPI) ประจำเดือนพฤษภาคม จำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ว่างงานประจำสัปดาห์ รวมไปถึงแถลงการณ์ของ John Williams ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์ก นอกจากนี้ ข้อมูลสำคัญอีกประการที่น่าติดตามคือ ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนประจำเดือนเมษายน และข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณการสำรองน้ำมันดิบประจำสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA)

นอกเหนือไปจากข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญที่กล่าวไปแล้ว แถลงการณ์จากทั้งผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา (BoC) Tiff Macklem และรองผู้ว่าการ BoC Sharon Kozicki ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องติดตามเพื่อดูแนวโน้มตลาดระหว่างวันเช่นกัน

เมื่อพิจารณาถึงการที่ดอลลาร์สหรัฐฯไม่สามารถปรับตัวสอดคล้องกับการยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่อ่อนตัวลงแล้ว โอกาสที่ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มที่อาจจะสามารถฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง หากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) มีการรายงานตัวเลขที่แข็งแกร่งขึ้นประกอบกับได้รับแรงหนุนนจากข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ว่างงาน จะไม่สามารถมองข้ามไปได้ อย่างไรก็ตาม โมเมนตัมของตลาดดูเหมือนว่าจะปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเมื่อวานนี้

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !