ความหวังที่จะได้เห็นความเสียหายทางเศรษฐกิจลดน้อยลงจากนโยบายการเงินที่เข้มงวด ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดยังคงมีความเชื่อมั่นเป็นบวกเล็กน้อยในช่วงต้นวันพฤหัสบดี โดยสิ่งที่ช่วยหนุนความเชื่อมั่นคือการพูดคุยเกี่ยวกับการสิ้นสุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีนและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสูงขึ้นของ GDP สหรัฐฯเมื่อวันก่อนหน้าและท่าทีที่ระมัดระวังของตลาดก่อนการรายงานดัชนี Core PCE Price Index ของสหรัฐฯจะทำให้ช่วงแนวโน้มขาลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯชะลอตัว
ด้วยเหตุนี้ US Dollar Index (DXY) จึงยังคงอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน โดยพยายามรักษาระดับการดีดตัวขึ้นของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน สถานการณ์เดียวกันนี้ยังท้าทายสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้คู่เงิน EURUSD ถอยจากระดับสูงสุดในรอบหลายวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถึงกำหนดการเผยแพร่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน
ถึงกระนั้น ราคาน้ำมันดิบก็ยังคงทรงตัวก่อนการประชุม OPEC+ ในวันนี้ ในขณะที่ราคาทองคำร่วงลงจากระดับสูงสุดในรอบหลายวันในวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน USDJPY ไม่ได้รับผลกระทบจากการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และสกุลเงินหลักอื่นๆส่วนใหญ่ยังคงซบเซา
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD ยังคงทรงตัว เนื่องจากเทรดเดอร์คริปโตพยายามพยุงความเชื่อมั่นระหว่างความเชื่อมั่นในแง่ดีเกี่ยวกับการอนุมัติ ETF และอุตสาหกรรมกับการโจมตีของ US SEC
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกลงเหลือ 2.9% ในปี 2023 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3.0% อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร จีน และสหรัฐอเมริกาดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในขณะที่การประมาณการตัวเลข GDP ของยูโรโซนยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนทางด้านการคาดการณ์การเติบโตของญี่ปุ่นปรับลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว
ในอีกทางหนึ่ง ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯจะช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากตัวเลขประมาณการครั้งที่สองได้รับการแก้ไขสูงถึง 5.2% ต่อปี เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เบื้องต้นที่ 4.9% และการคาดการณ์ของตลาดที่ 5.0% อย่างไรก็ตาม การรายงานตัวเลขเบื้องต้นของดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) สำหรับไตรมาสที่สาม (Q3) ลดลงเหลือ 2.8% QoQ เทียบกับ 2.9% ที่คาดการณ์ไว้และการรายงานก่อนหน้านี้ ในขณะที่ตัวเลข Core PCE ก็อ่อนตัวลงเป็น 2.3% จากการคาดการณ์ของตลาดและ 2.4% จากการรายงานครั้งก่อน
ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จึงล้มเหลวในการผลักดันการปรับเปลี่ยนด้านนโยบาย ประการแรก Raphael Bostic ประธาน Fed แห่งแอตแลนตา วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นโดยกล่าวว่านโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตลอดจนคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป หลังจากนั้น Thomas Barkin ประธาน Fed แห่งริชมอนด์ได้ออกมากล่าวว่าการพูดคุยถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังคงไม่เหมาะสม ในขณะที่ Loretta Mester ประธาน Fed ของคลีฟแลนด์ได้สนับสนุนความหวังในการขับเคลื่อนนโยบายโดยกล่าวว่า "นโยบายการเงินอยู่ในจุดที่ดี" อีกทั้ง Beige Book ของ Fed ยังกล่าวถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนับตั้งแต่รายงานฉบับที่แล้ว
อีกทางด้านหนึ่ง ความกลัวเกี่ยวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่ Powerlong Real Estate ของประเทศผิดนัดชำระหนี้ โดนสิ่งที่ท้าทายความเชื่อมั่นอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับจีนก็คือการรายงานตัวเลขค่าดัชนี PMI อย่างเป็นทางการของจีนในเดือนพฤศจิกายนที่ตกต่ำลง โดยตัวเลขค่าดัชนี PMI ภาคการผลิตของ NBS ปรับลดลงอีกโดยต่ำกว่าระดับ 50.0 เป็น 49.4 จาก 49.5 เมื่อเทียบกับ 49.7 ที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ตัวเลขค่าดัชนี PMI ภาคบริการอยู่ที่ 50.2 เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้านี้ที่ 50.6 และการคาดการณ์ของตลาดที่ 51.1 อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าภาคข้อมูลเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนตัวลงได้กระตุ้นให้เกิดความหวังในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากขึ้นจากปักกิ่ง ซึ่งจะทำให้ตลาดเอเชียยังคงมีทิศทางไปในเชิงบวกเล็กน้อย และยังช่วยให้แรงเทซื้อทองคำยังคงกุมบังเหียนไว้ได้แม้จะขาดโมเมนตัมขาขึ้นก็ตาม
ในหมายเหตุอีกฉบับหนึ่ง Luis de Guindos รองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของพวกเขา (คณะกรรมการ ECB) คือการนำอัตราเงินเฟ้อกลับมาที่เป้าหมายที่ 2% ซึ่งในทางกลับกันดูเหมือนว่าจะยังคงรักษานโยบายการเงินที่เข้มงวดและช่วงแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินยูโรไว้ได้ ในขณะที่ส่งแรงกดดันด้านลบต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การรายงานค่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายนครั้งสุดท้ายของยูโรโซนมีตัวเลขอยู่ที่ -16.9 แต่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกลับเพิ่มขึ้นเป็น 93.8 เป็น 93.7 จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังได้อ้างว่าศักยภาพวิถีการเติบโตในปัจจุบันของสหราชอาณาจักรนั้น "แย่ที่สุด" ที่เขาเคยเห็นมาในอาชีพของเขา อีกทั้ง ผู้กำหนดนโยบายยังกล่าวเสริมอีกว่า “ตอนนี้เราไม่ได้อยู่ในจุดที่จะหารือเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย” อีกทางหนึ่ง มาตรวัดความเชื่อมั่นทางธุรกิจของสหราชอาณาจักรจาก Lloyds Bank มีตัวเลขในทิศทางที่ดีที่สุดในรอบสองปีสำหรับเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 42 จาก 39 ของการรายงานก่อนหน้านี้
ส่วนอีกทางหนึ่ง Adrian Orr ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ยังออกมาตอบโต้ความกังวลเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย พร้อมทั้งอ้างถึงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ “ยังสูงเกินไป” ในทางกลับกัน Toyoaki Nakamura สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้ออกมากล่าวว่าต้องใช้เวลาสักระยะก่อนที่นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะมีการเปลี่ยนแปลง
การรายงานข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน (HICP) ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายนและข้อมูล Core HICP ของเดือนดังกล่าวจะเริ่มต้นกระตุ้นเทรดเดอร์ EURUSD หลังจากนั้น ตัวเลขดัชนี Core PCE Price Index ของสหรัฐฯในเดือนตุลาคม ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 3.5% YoY เทียบกับ 3.7% ของการรายงานก่อนหน้านั้นจะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการจับตาดูทิศทางในระหว่างวัน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลงจะหนุนแนวโน้มของตลาดเมื่อเร็วๆนี้ในการเห็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ Fed นอกจากนี้ การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯบางส่วนและการประชุมรอบสุดท้ายของ Fed ก่อนการ blackout ยังถือเป็นแนวทางพิเศษที่ควรจับตามองอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !