ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-02-29

GBPUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ BoE ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด

GBPUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ  BoE ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด

ความวิตกกังวลของเทรดเดอร์พุ่งสูงขึ้นก่อนการรายงานข้อมูลสำคัญประจำสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯในเดือนมกราคม หรือที่รู้จักในชื่อตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของ Fed โดยข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญยิ่งขึ้น ขณะที่ เจ้าหน้าที่ Fed ส่วนใหญ่ได้คลายความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ตัวเลข GDP ของสหรัฐฯและคำสั่งซื้อสินค้าคงทนล่าสุด รวมไปถึงตัวเลข CPI กลับไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว

นอกเหนือไปจากนั้น การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของตลาดหุ้นจีน หลังจากการร่วงลงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าตลาดหุ้นวอลล์สตรีทจะปิดตลาดด้วยผลลัพธ์ที่น่าผิดหวังก็ตาม โดย ความสามารถของของผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯในการหลีกเลี่ยงการชัตดาวน์ของรัฐบาลไม่สามารถสร้างความประทับใจต่อนักลงทุนที่พร้อมรับความเสี่ยงได้ ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่ผสมผสานและความคิดเห็นที่มีแนวโน้มไปทางนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากธนาคารกลางรายสำคัญอย่างธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)

ด้วยปัจจัยดังกล่าว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงร่วงลงเป็นวันแรกในรอบ 3 วัน แม้จะขาดโมเมนตัมก็ตาม ในขณะที่ สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวก โดย คู่เงิน AUDUSD และทองคำเป็นผู้นำในการปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY ร่วงลงมากที่สุด หลังจาก ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินในเชิงเข้มงวด ส่วนทางด้านราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดัน และคู่เงิน GBPUSD ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน แต่คู่เงิน EURUSD กลับร่วงลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน

ในทางกลับกัน BTCUSD และ ETHUSD ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 และมีนาคม 2565 ตามลำดับ ท่ามกลางความมั่นใจที่เพิ่มมากขึ้นของนักลงทุนที่มีต่อคริปโทเคอร์เรนซี

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) ยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจนที่ราวๆ $82.70 หลังจากพลิกกลับจากระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ในวันก่อนหน้า
  • ทองคำ (Gold) มีราคาเสนอซื้อเป็นบวกที่ประมาณ $2,038 ขณะที่ขยายการฟื้นตัวของวันพุธ
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ชะลอตัวจากการพุ่งสูงขึ้นสองวันติดต่อกัน โดยร่วงลงเล็กน้อยที่ราวๆ 103.90
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดลบเล็กน้อย แต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงมีแนวโน้มที่ดีในช่วงต้นวัน
  • BTCUSD และ ETHUSD แกว่งตัวอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบหลายเดือนที่ประมาณ $62,600 และ $3,470 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ตลาดยังคงอยู่ในสภาวะระมัดระวัง ขณะที่ USDJPY ร่วงลงอย่างหนัก….

แม้ว่าผู้นำรัฐสภาสหรัฐฯจะบรรลุข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการชัตดาวน์ของรัฐบาลบางส่วนในวันที่ 2 มีนาคม และช่วยบรรเทาความตึงเครียดในตลาด แต่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก็ยังคงขาดโมเมนตัมขาขึ้นโดยสาเหตุอาจมาจากตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ของสหรัฐฯที่อ่อนตัวลงจากการประมาณการครั้งที่สอง รวมไปถึงการขาดดุลการค้าที่ขยายตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นที่มีแนวโน้มไปทางนโยบายการเงินที่เข้มงวดจาก Fed ได้ช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯไว้ แต่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งบอสตัน Susan Collins และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งนิวยอร์ก John Williams ยังคงยืนยันถึงการสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2024 ขณะที่ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งแอตแลนตา Raphael Bostic ยังคงปกป้องนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed โดยกล่าวว่ายังคงต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

ในทางกลับกัน สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) Martins Kazaks ได้คลี่คลายความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยระบุว่า “ยังเร็วเกินไป” ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลง ในขณะเดียวกัน ผู้กำหนดนโยบายของ ECB และผู้ว่าการ Bundesbank Joachim Nagel ได้ออกมากล่าวว่า "จะเป็นการเสียหายร้ายแรง หาก ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป เพียงเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง"

อีกทางด้านหนึ่ง ผู้กำหนดนโยบายธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) Catherine Mann กล่าวกับ Financial Times (FT) ว่า BoE กำลังประสบปัญหาในการนำอัตราเงินเฟ้อกลับมาสู่เป้าหมาย เนื่องจากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้นเกิดจากกลุ่มคนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมากนัก ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น คู่เงิน GBPUSD ก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ เนื่องจากเทรดเดอร์ยังมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 วัน ก่อนที่จะมีการฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง เป็นผลมาจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น และการรายงานจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ที่ระบุว่า ปริมาณคงคลังน้ำมันดิบประจำสัปดาห์เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้และมากกว่าตัวเลขที่รายงานครั้งก่อน รวมไปถึงความคิดเห็นจาก Alexander Novak รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียที่กล่าวว่า พวกเขามองเห็น ความสมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ในตลาดน้ำมันโลก

ทั้งนี้ คู่เงิน USDJPY เป็นคู่เงินที่ร่วงลงมากที่สุดในกลุ่ม G10 สาเหตุหลักมาจาก สัญญาณที่ชัดเจนจาก Takata สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เกี่ยวกับการยุตินโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ โดยคู่เงิน USDJPY ไม่ตอบสนองต่อผลตอบแทนพันธบัตรที่ชะลอตัวและตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่ตกต่ำ ขณะที่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY
  • สัญญาณขายแรง: Crude Oil, US Dollar, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, AUDUSD, EURUSD

อัตราเงินเฟ้อของ Fed เป็นกุญแจสำคัญ...

แม้ว่าจะมีการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อจากเยอรมนี ตัวเลข GDP ของแคนาดา และค่าดัชนี PMI ของชิคาโกของสหรัฐฯ แต่ความสนใจหลักของตลาดจะให้ความสำคัญไปที่การรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐานของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ตัวเลขข้อมูล GDP และค่าดัชนี CPI ของสหรัฐฯที่ปรับลดลงล่าสุด ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของ Fed ในการคงอัตราดอกเบี้ยตามแนวทาง “higher for longer” ทั้งนี้ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงของดัชนี PCE ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ จะไม่เพียงแต่กดดันดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น แต่ยังเปิดทางให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำท้าทายอุปสรรคสำคัญของช่วงขาขึ้น

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !