ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2023-11-01

ทองคำยังคงเป็นขาลงเนื่องจากตลาดกำลังรอข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯและการตัดสินใจของ FOMC

ทองคำยังคงเป็นขาลงเนื่องจากตลาดกำลังรอข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯและการตัดสินใจของ FOMC

ความวิตกกังวลที่มักเกิดขึ้นก่อนจะถึงวันรายงานผลการประชุม Fed ร่วมกับวิกฤติในฉนวนกาซาและความกลัวครั้งใหม่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนนั้นช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม สกุลเงินและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ยกเว้น JPY ดูเหมือนจะน่าสนใจน้อยลงท่ามกลางกำหนดการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนในช่วงต้นของวัน

กล่าวคือ การแทรกแซงทางวาจาของผู้กำหนดนโยบายญี่ปุ่นมีผลกระทบต่อคู่เงิน USDJPY ในขณะที่ CHF ปรากฏเป็นสกุลเงิน G10 ที่มีความเคลื่อนไหวที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองเมื่อเทียบกับดอลลาร์ นอกจากนี้ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังคงซบเซา

ในอีกทางหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ ขณะที่ราคาทองคำยังคงได้รับแรงกดดันเป็นวันที่สามติดต่อกัน นอกจากนี้ หุ้นฟิวเจอร์สหรัฐฯยังมีการร่วงลงเล็กน้อย เช่นเดียวกับหุ้นในเอเชียแปซิฟิกที่ปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ตาม BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงเล็กน้อยเนื่องจากช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคริปโตชะลอตัวในขณะที่มีการประเมินโอกาสในการอนุมัติ ETF ก่อนกำหนดและความยากลำบากน้อยลงจาก US SEC

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ โดยดีดตัวขึ้นจากการร่วงลงสองวันติดกันที่ราวๆ $86.70
  • ทองคำ (Gold) ราคาทองคำยังคงแตะแนวรับที่ราวๆ $1,980 ขณะที่อยู่ในช่วงขาลงสามวัน
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ 106.70 หลังจากร่วงลงเมื่อเริ่มต้นสัปดาห์
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวกเล็กน้อยแต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับลดลง ส่วนทาง หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อย
  • BTCUSD และ ETHUSD ชะลอตัวจากการพุ่งสูงขึ้นล่าสุดที่ราวๆ $34,500 และ $1,800 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ภาวะหมีทองคำยังคงควบคุมได้แม้ว่าตลาดจะซบเซาก็ตาม

ทองคำยังคงได้รับแรงกดดันแม้ว่าอุปสงค์ทางกายภาพจะพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจของจีนในช่วงต้นสัปดาห์ไม่สามารถหนุนความเชื่อมั่นในแง่ดีได้ ในขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวของ Fed และความวิตกกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยที่หนุนความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้ง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯขยับสูงขึ้นเนื่องจากข้อมูล/เหตุการณ์เศรษฐกิจนอกสหรัฐอเมริกาดูไม่น่าประทับใจนัก ในขณะที่ ปฏิบัติการภาคพื้นดินของอิสราเอลในฉนวนกาซายังคงโจมตีกลุ่มทหารเช่นฮามาสและฮิซบอลเลาะห์

เมื่อพูดถึงข้อมูลเศรษฐกิจ การรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนครั้งแรกต่อดัชนี Harmonized ของราคาผู้บริโภค (HICP) ลดลงเหลือ 2.9% YoY ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 3.1% และ 4.3% ของการรายงานก่อนหน้า นอกจากนี้ การรายงานเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกลุ่มสำหรับไตรมาสที่สาม (Q3) ก็ปรับลดลงที่ -0.1% QoQ และ 0.1% YoY เมื่อเทียบกับ 0.1% และ 0.5% ของการรายงานก่อนหน้าตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือนกันยายนก็ลดลงเหลือ -4.3% จากการอ่านครั้งก่อน -2.3%

นอกจากนี้ ดัชนีราคาบ้าน S&P/Case-Shiller ของสหรัฐฯในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 2.2% YoY จาก 0.2% ของการรายงานก่อนหน้าและการคาดการณ์ของตลาด 1.6% ในขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board (CB) อยู่ที่ 102.6 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 100.5 และ การแก้ไขตัวเลขก่อนหน้า 104.30 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขค่าดัชนี PMI ของชิคาโกในเดือนตุลาคมปรับลดลงเหลือ 44.0 จาก 44.1 เทียบกับ 45.4 ที่รายงานในเดือนกันยายน นอกจากนี้ Fed นิวยอร์กยังเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในรูปแบบ Multivariate Core Trend (MCT) เมื่อวันอังคาร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านราคาเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนเป็น 2.9% จาก 2.6% ก่อนหน้า ตัวเลขเหล่านี้หนุนความกังวลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ร่วมกับปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ยังช่วยหนุนการพุ่งสูงขึ้นของราคาเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย

เป็นที่น่าสังเกตว่ารายงานล่าสุดของ World Gold Council (WGC) แสดงให้เห็นว่าการซื้อทองคำทางกายภาพในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 เพิ่มขึ้น 14% YoY หรือ 800 ตัน เช่นเดียวกับคำสั่งซื้อจากจีนที่เป็นตัวเลข 181 ตัน ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นถึงความต้องการทองคำแท่งที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงล้มเหลวในการป้องกันช่วงแนวโน้มขาขึ้นของ XAUUSD ท่ามกลางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แข็งค่าขึ้น

ในอีกทางหนึ่ง เมื่อพูดถึงการซื้อพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) เพื่อรักษาระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร JGB อายุ 10 ปีให้ต่ำกว่า 1.0% ซึ่งจะเป็นการพยุงค่าเงินเยนและหนุนดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะทดสอบช่วงแนวโน้มขาลง XAUUSD ต่อไป

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD
  • สัญญาณขายแรง: ETHUSD, GBPUSD, Gold
  • สัญญาณซื้อ: USD Index, Nasdaq, USDJPY
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, AUDUSD, EURUSD

US ADP, ISM อาจกระตุ้นตลาดก่อนการประชุม FOMC

ต่อไป การเผยแพร่การเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ADP ของสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม และตัวเลขค่าดัชนี PMI ภาคการผลิตของ ISM ในเดือนดังกล่าวจะกระตุ้นนักลงทุนก่อนการตัดสินใจนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดย แม้ Fed มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่ผู้กำหนดนโยบายและสัญญาณเงินเฟ้อล่าสุดจากสหรัฐฯก็ได้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปี 2023 ก่อนที่จะส่งเสริมการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ในขณะเดียวกันอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินก็ตาม

เป็นที่น่าสังเกตว่ายังไม่มีการแถลงข่าวจาก Powell ประธาน Fed ดังนั้นแถลงการณ์ของ MPC จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องจับตาดู หากคำแถลงนโยบายส่งเสริมให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม เงินดอลลาร์สหรัฐฯมีโอกาสจะพุ่งสูงขึ้นตามความคาดการณ์เรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!