ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-02-16

ขาลงทองคำยังคงควบคุมตลาด แม้จะมีการรีบาวน์ขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

ขาลงทองคำยังคงควบคุมตลาด แม้จะมีการรีบาวน์ขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

การเก็งกำไรครั้งใหม่เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งผลดีต่อความเสี่ยงของแรงเทซื้อทองคำในวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การขาดข้อมูลสำคัญ/เหตุการณ์สำคัญและสภาวะระมัดระวังก่อนการรายงานข้อมูลดัชนี PPI และ UoM CSI ของสหรัฐฯในวันศุกร์ยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯสามารถรักษาระดับการพุ่งสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ไว้ได้ สิ่งนี้ได้ท้าทายการฟื้นตัวของ XAUUSD จากจุดต่ำสุดในรอบหลายวันเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตลาดยังเผชิญกับแรงเทขายทองคำ แม้ว่าราคาจะฟื้นตัวอย่างโดดเด่นในวันก่อนหน้าก็ตาม

ในขณะที่ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น สกุลเงินอย่างยูโรและปอนด์สเตอร์ลิง (GBP) กลับไม่สามารถดึงดูดช่วงแนวโน้มขาขึ้นได้ ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนภายในประเทศและการพูดคุยเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังเพิกเฉยต่อความหวังที่จะได้เห็นการยุตินโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษเร็วขึ้นจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในขณะเดียวกันก็ปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งยังคงปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน โดยคงอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบสามเดือน

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าราคาน้ำมันดิบไม่ได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น ท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางและการมองโลกในแง่ดีของ OPEC เกี่ยวกับอุปสงค์ของตลาดในอนาคต ซึ่งในสถานการณ์นี้ นักลงทุนในสายพลังงานจึงเพิกเฉยต่อการคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันที่ตกต่ำลงของ IEA

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD รักษาระดับการฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบหลายเดือน ในขณะที่ คู่เงิน NZDUSD พลิกกลับจากการพุ่งสูงขึ้นรายสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางความกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ RBNZ

ในอีกทางหนึ่ง ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของ BTCUSD ชะลอตัวอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021 ขณะที่ธนาคารและกองทุนในสหรัฐฯหลายแห่งเข้าร่วมยื่นขออนุมัติ spot ETFs ในขณะเดียวกัน ETHUSD กำลังเตรียมตัวสำหรับการพุ่งสูงขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2023 โดยแตะระดับสูงสุดในรอบ 21 เดือน ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการอนุมัติ spot ETF และสัญญาณบวกจากข้อมูล on-chain

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) มีแรงเทซื้ออยู่ที่ประมาณ $82.90-83.00 หลังจากพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในหนึ่งสัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า
  • ทองคำ (Gold) ขยายการฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน โดยยังคงผันผวนที่ประมาณ $2,005
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) พุ่งสูงขึ้นครั้งแรกในรอบสามวัน โดยมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยที่ประมาณ 104.40
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวกเล็กน้อย ขณะ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น ส่วน หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นวัน
  • BTCUSD แกว่งตัวอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบหลายเดือนที่ราวๆ $52,500 และ ETHUSD ถอยจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 ไปที่ราวๆ $2,820
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

จับตามองการพุ่งสูงขึ้นรายสัปดาห์ของดอลลาร์สหรัฐฯและการท้าทายแรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์

แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลงจากแรงหนุนของอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในช่วงสองวันที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีแนวโน้มที่จะปิดสัปดาห์ในแดนบวก เนื่องจากบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯยังคงลังเลที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ในขณะที่ มีการพูดคุยเพิ่มมากขึ้นถึงสภาวะ Soft Landing (การชะลอเศรษฐกิจอย่างนุ่มนวล)

เมื่อพูดถึงการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯร่วงลงอย่างหนักที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 ส่งผลให้บรรดานักลงทุนมั่นใจมากขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 แม้ว่าการปรับลดในเดือนมีนาคมนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นแล้วก็ตาม ไม่เพียงแต่ยอดค้าปลีกเท่านั้น ตัวเลขพื้นฐานสำคัญและดัชนีอุตสาหกรรม (Industrial Production) ยังสนับสนุนการคาดการณ์แนวโน้มการผ่อนคลายของนโยบายการเงินของนักลงทุนในตลาดอีกด้วย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปิดวันด้วยการร่วงลงมากที่สุดในรอบสองสัปดาห์ นอกจากนี้ การปรับลดตัวเลขคาดการณ์ GDP ไตรมาส 4 ของสหรัฐฯ โดยโมเดล GDPNow ของ Atlanta Fed จาก 3.4% เป็น 2.9% ก็ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดภาคการผลิตที่มีทิศทางเป็นบวกจากธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งฟิลาเดลเฟียและนิวยอร์ก รวมถึงตัวเลขการยื่นขอสิทธิ์ว่างงานรายสัปดาห์ที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 สัปดาห์ยังช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯและกระตุ้นให้เกิดการดีดตัวสูงขึ้นในช่วงต้นของวันศุกร์ อีกหนึ่งปัจจัยอาจมาจากพาดหัวข่าวที่ระบุว่ากลุ่มฮามาสปฏิเสธข้อเสนอของอิสราเอลในการหยุดยิงและออกจากฉนวนกาซาเป็นเวลาสามเดือน

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังได้พยายามลดแรงเทขาย แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก โดย Christopher Waller ผู้ว่าการ Fed ได้ออกมากล่าวว่าดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะยังคงเป็นสกุลเงินสำรองของโลก ทั้งนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งแอตแลนตา Raphael Bostic ยังได้ปฏิเสธการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดอย่างเร่งด่วน แม้ว่าอดีตนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางสหรัฐฯอย่าง Claudia Sahm ระบุว่า Fed กำลังชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็น ขณะเดียวกันก็เพิ่ม "ความเสี่ยงที่มีอยู่จริง"

ในทางกลับกัน คู่เงิน NZDUSD เพิกเฉยต่อการฟื้นตัวของมาตรวัดภาคการผลิตของนิวซีแลนด์และการปฏิเสธการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของผู้ว่าการ RBNZ ในขณะที่ คู่เงิน AUDUSD อยู่ในสถานะตัวชี้วัดความเสี่ยงท่ามกลางการพูดคุยเรื่องนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ RBA

ในอีกทางหนึ่ง เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) พยายามส่งเสริมความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และได้ท้าทายแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดแต่กลับไม่สอดคล้องกับแนวโน้มส่วนใหญ่ของตลาด ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อคู่เงิน GBPUSD ตลอดสัปดาห์ ในขณะที่ คู่เงิน EURUSD ก็ได้รับแรงกดดันเช่นเดียวกัน เนื่องจากประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) Christine Lagarde ดูเหมือนจะมีแนวโน้มผ่อนคลายการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดลง และมีรายงานข่าวอ้างว่า ECB อาจจะมีการปรับเปลี่ยนท่าทีในเดือนมีนาคม และอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง นอกจากนี้ ผู้ว่าการ BoJ Kazuo Ueda ยังเน้นย้ำความคิดเห็นก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ ในขณะที่การแทรกแซงทางวาจาของ Suzuki รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อราคา JPY

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ดูน่าสนใจน้อยลง โดยรวมยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ขณะที่ ราคาทองคำกำลังมุ่งหน้าสู่การปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบกลับเพิกเฉยต่อความกังวลของ IEA เกี่ยวกับความต้องการพลังงานที่ลดลง และมุ่งเน้นไปที่ความเชื่อมั่นที่มีแนวโน้มที่ดีของ OPEC ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY
  • สัญญาณขายแรง: Crude Oil, US Dollar, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, AUDUSD, EURUSD

ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯนำเสนอทิศทางสุดท้ายของสัปดาห์

การรายงานตัวเลขที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯร่วมกับดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และการรายงานค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CSI) ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UoM) ครั้งแรกจะกระตุ้นโมเมนตัมของเทรดเดอร์ นอกจากนี้ยังมีกำหนดการแถลงการณ์จากนายธนาคารกลางจากสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรอีกด้วย

โดยข้อมูลคาดการณ์ส่วนใหญ่สนับสนุนแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในช่วงกลางปี 2024 ซึ่งอาจเป็นการทดสอบช่วงแนวโน้มขาขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอย่างน่าประหลาดใจจะเน้นย้ำถึงการคงนโยบายการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยตามแนวทาง “higher for longer” ของผู้กำหนดนโยบายและจะท้าทายสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ด้วยเช่นเดียวกัน

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !