ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2023-12-01

น้ำมันดิบฟื้นตัวจากการอัปเดตของ OPEC+ และดอลลาร์สหรัฐฯที่ซบเซา

น้ำมันดิบฟื้นตัวจากการอัปเดตของ OPEC+ และดอลลาร์สหรัฐฯที่ซบเซา

ตลาดแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นแม้จะมีท่าทีระมัดระวังในช่วงต้นวันศุกร์ เนื่องจากมีโอกาสที่จะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก Fed ร่วมกับตัวเลขค่าดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก Caixin ของจีนที่มีทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การอัปเดตสถานการณ์ที่ผันผวนจากฉนวนกาซาและความวิตกกังวลก่อนการแถลงการณ์ในวันนี้ของประธาน ECB Christine Lagarde และประธาน Fed Jerome Powell ยังทำให้ความเชื่อมั่นมีทิศทางไปในเชิงบวก

อีกทั้ง ดอลลาร์สหรัฐฯพุ่งสูงขึ้นอย่างมากในวันก่อนหน้า แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจตามกำหนดการเผยแพร่จะมีความผันผวนก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงอ่อนค่าลงหลังจากได้เห็นการพุ่งสูงขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 สัปดาห์ เช่นเดียวกันกับคู่เงิน EURUSD ที่พุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำยังพลิกกลับการร่วงลงของวันก่อนหน้า ในขณะที่ ค่าเงิน AUD,NZD ยังคงอยู่ในสภาวะทรงตัว ส่วนทางด้าน ดาวโจนส์ปิดรายวันที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 ขณะที่หุ้นฝั่งเอเชียแปซิฟิกขยับตัวสูงขึ้น

และเป็นที่น่าสังเกตว่า BTCUSD และ ETHUSD เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.0% ท่ามกลางความหวังที่จะได้เห็นเงินทุนที่ไหลเข้ามากขึ้น ก่อนที่สำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯจะอนุมัติ Spot ETF

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ $81.00 โดยชะลอการร่วงลงที่ใหญ่ที่สุดในรอบสองสัปดาห์
  • ทองคำ (Gold) ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นมาที่ $2,040 หลังจากดีดตัวออกจากแนวโน้มขาขึ้นในช่วง 5 วันที่ผ่านมา
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) พยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าที่ 103.40
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้นขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร เริ่มต้นวันในแดนบวก
  • BTCUSD และ ETHUSD ยังคงพุ่งสูงขึ้นที่ประมาณ $38,300 และ $2,100 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางตลาดที่ซบเซา...

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) และพันธมิตร อย่างเช่น รัสเซีย หรือที่รู้จักในชื่อ OPEC+ ได้ประกาศลดปริมาณการผลิตของประเทศสมาชิกเพิ่มเติมหนึ่งล้านบาร์เรลต่อวัน (bpd) ซึ่งข่าวดังกล่าวเริ่มกระตุ้นราคาน้ำมันดิบ ก่อนที่สมาชิกกลุ่มพันธมิตรอย่างแองโกลาจะปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยสมัครใจ สถานการณ์เดียวกันนี้ยังส่งผลให้ดัชนี PMI ภาคการผลิตอย่างเป็นทางการของ NBS จากจีนที่ตกต่ำลงและการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯทำให้ราคาน้ำมันร่วงลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบสองสัปดาห์

อีกทางด้านหนึ่ง ตัวเลขค่าดัชนี Caixin Manufacturing PMI ของจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นร่วมกับข่าวการสั่งซื้อน้ำมันของสหรัฐฯจำนวน 2.7 ล้านบาร์เรลสำหรับคลังสำรองยุทธศาสตร์ปิโตรเลียม (SPR) ยังช่วยพยุงราคาน้ำมันดิบในเช้าวันศุกร์นี้ นอกจากนี้ การพิจารณาการตัดสินใจของ OPEC+ ของตลาดและการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯยังช่วยให้ energy benchmark สามารถชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ได้

ในทางกลับกัน US Dollar Index (DXY) พุ่งขึ้นรายวันสูงสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ ขณะเดียวกันก็ติดตามการฟื้นตัวอย่างน่าเซอร์ไพรสของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ ตัวชี้วัดของดอลลาร์สหรัฐฯเทียบกับสกุลเงินหลักทั้ง 6 ไม่ได้รับผลกระทบจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ส่วนใหญ่ตกต่ำลงไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อ การใช้จ่าย-รายได้ และการจ้างงาน และเป็นที่น่าสังเกตว่าการพุ่งสูงขึ้นของ DXY ยังกระตุ้นให้เกิดการดึงกลับของ XAUUSD จากโซนแนวต้านสำคัญที่ราวๆ $2,050 ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม รายงานค่าดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล (Core PCE price index) ของสหรัฐฯซึ่งได้แก่ ตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) สอดคล้องกับการคาดการณ์ที่เป็นช่วงขาลงที่ 3.5% YoY และ 0.2% MoM สำหรับเดือนตุลาคมเมื่อเทียบกับ 3.7% และ 0.3% ตามลำดับจากการรายงานก่อนหน้า นอกจากนี้ รายได้ส่วนบุคคลและการใช้จ่ายส่วนบุคคลต่างก็เติบโตรายเดือนที่ 0.2% สำหรับเดือนดังกล่าวตามที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ปรับลดลงจาก 0.4% และ 0.7% ตามลำดับจากการรายงานก่อนหน้า ยิ่งไปกว่านั้น ตัวเลข PMI ของชิคาโกยังพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนโดยพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าประหลาดใจเป็น 55.8 สำหรับเดือนพฤศจิกายนจาก 44.0 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 45.4 ในขณะที่ยอดขายบ้านที่รอดำเนินการนั้นดีกว่าที่คาดไว้ -2.0% ถึง -1.5% สำหรับเดือนตุลาคมเมื่อเทียบกับ 1.0% ที่รายงานก่อนหน้านี้ อีกทั้ง การเรียกร้องค่าชดเชยว่างงานเบื้องต้นของสหรัฐฯได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.18K สำหรับการสิ้นสุดสัปดาห์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 220K และ 210K ของการรายงานก่อนหน้า แต่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อเนื่องนั้นเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021 ด้วยตัวเลข 1.927M เมื่อเทียบกับ 1.841M ของการรายงานครั้งก่อน

ในกรณีของยุโรป ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มปรับลดลงอย่างน่าผิดหวังในเดือนพฤศจิกายน แต่ผู้กำหนดนโยบายยังคงปฏิเสธการปรับลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งดูเหมือนว่าจะช่วยให้คู่เงิน EURUSD ฟื้นตัวได้ในช่วงหลัง โดย Fabio Panetta, สมาชิกของกรรมการบริหารงานของ ECB ระบุว่า ความเสี่ยงที่มีผลต่อเศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มที่ลดลง และกล่าวเพิ่มเติมว่า “การเข้มงวดทางการเงินยังไม่ได้มีผลเต็มที่และจะยังคงทำให้อุปสงค์ในอนาคตลดน้อยลง" ในทางตรงกันข้าม ผู้กำหนดนโยบายของ ECB และผู้บริหารธนาคาร Bundesbank Joachim Nagel ยังได้ออกมากล่าวว่า "การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมยังคงมีความเป็นไปได้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง"

ในอีกทางหนึ่ง การฟื้นตัวของคู่เงิน USDJPY แสดงให้เห็นถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของกระทรวงการคลังสหรัฐฯที่พุ่งสูงขึ้นและแถลงการณ์ที่มีแนวโน้มไปทางนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษจากผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ก่อนที่จะมีการปรับลดลงครั้งล่าสุด ในขณะเดียวกัน คู่เงิน NZDUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นของตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์และแถลงการณ์จาก RBNZ ท่ามกลางตลาดที่ซบเซา นอกจากนี้ คู่เงิน GBPUSD ยังแข็งค่าขึ้นแม้ว่าจะมีข้อกังวลทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร ขณะที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีแนวโน้มในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD
  • สัญญาณขายแรง: ETHUSD, GBPUSD, Gold
  • สัญญาณซื้อ: USD Index, Nasdaq, USDJPY
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, AUDUSD, EURUSD

จับตามองแถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางและการรายงานข้อมูลของธนาคารกลางสหรัฐฯ/แคนาดา...

ในขณะที่ความสนใจของตลาดมุ่งไปที่แถลงการณ์ของประธาน Fed Jerome Powell เพื่อยืนยันการสิ้นสุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ความคิดเห็นจากประธาน ECB Lagarde ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะส่งผลต่อความแข็งแกร่งของกลุ่มยูโรโซน นอกจากนี้ การรายงานข้อมูล ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายนและข้อมูลการจ้างงานของแคนาดาสำหรับเดือนดังกล่าวยังจะกระตุ้นโมเมนตัมของนักลงทุนในตลาดอีกด้วย ซึ่งถ้าหากผู้กำหนดนโยบายยังคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูงตามแนวทาง “higher for longer” และสนับสนุนการลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างนุ่มนวล โอกาสที่จะเห็นการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะไม่สามารถมองข้ามไปได้

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !