ในช่วงสัปดาห์สำคัญที่มีการประชุมธนาคารกลางหลายแห่ง นักลงทุนในตลาดคงการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นของจีน ดังนั้น เทรดเดอร์จึงชะลอการเทขายทองคำและคู่เงิน EURUSD ขณะที่แรงเทซื้อน้ำมันดิบยังคงควบคุมตลาดต่อไป นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงไร้ทิศทางที่ชัดเจน แม้จะเคลื่อนไหวใกล้จุดสูงสุดในรอบสัปดาห์ หลังจากชะลอตัวจากช่วงแนวโน้มขาลง 3 สัปดาห์ เนื่องจากเทรดเดอร์ต่างรอคอยผลการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันพุธที่จะถึงนี้
แม้จะเป็นเช่นนั้น คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ค่อยๆฟื้นตัวเนื่องจากความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน ในขณะเดียวกัน คู่เงิน USDJPY ยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจน แม้จะพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน โดยสะท้อนความระมัดระวังของเทรดเดอร์ก่อนการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในวันอังคารที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ยังแกว่งตัวใกล้จุดสูงสุดในรอบสัปดาห์ แต่ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดา
กล่าวถึงตลาดคริปโทเคอร์เรนซี การบังคับปิดสถานะการซื้อขาย (liquidation) ของนักลงทุนที่ถือครองสัญญาซื้อขายจำนวนมาก ส่งผลให้ราคา BTCUSD ปรับลดลงเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 3 สัปดาห์ แม้ว่าจะมีการทำลายสถิติราคาสูงสุดใหม่ก่อนหน้านี้ โดยราคาฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยจากจุดต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ในภายหลัง เช่นเดียวกันกับ ETHUSD ยังคงอยู่ในแนวรับหลังจากชะลอตัวจากแนวโน้มขาขึ้น 6 สัปดาห์โดยราคาร่วงลงจากจุดสูงสุดในรอบหลายปีเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดอลลาร์สหรัฐฯพยายามรักษาระดับการแข็งค่าขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ แม้สัปดาห์ที่ผ่านมาจะปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 2 เดือน ถึงแม้ว่าข้อมูลภาคผู้บริโภคของสหรัฐฯจะแสดงให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ Fed จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกสักระยะ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวกลับส่งผลย้ำเตือนความกังวลของตลาดที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของธนาคารกลางสหรัฐฯที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน แทนที่จะเป็นมีนาคมหรือพฤษภาคม รวมทั้งยังส่งผลให้มีการพูดถึงโอกาสที่สหรัฐฯจะเข้าสู่สภาวะลงจอดอย่างนุ่มนวลหรือ "Soft Landing" อีกด้วย
ในอีกทางหนึ่ง รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของจีน Lan Fo'an ส่งสัญญาณถึงความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการคลังเชิงรุก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศจีน และยังได้ท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้น XAUUSD ก่อนหน้านี้เนื่องจากสถานะของจีนในฐานะหนึ่งในลูกค้าทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกของจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นยังช่วงพยุงราคาทองคำท่ามกลางการเริ่มต้นสัปดาห์สำคัญอย่างซบเซา
นอกจากนี้ การกลับมาได้รับเลือกตั้งของประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาด รวมไปถึงแรงเทซื้อ XAUUSD เนื่องจากเขาให้คำมั่นสัญญาว่าจะคงการทำสงครามในยูเครนด้วยอาวุธ ขณะเดียวกัน ข่าวในช่วงสุดสัปดาห์ยังบ่งชี้ว่ายูเครนได้โจมตีโรงกลั่นน้ำมัน Sloviansk ในภูมิภาค Krasnodar ทางตอนใต้ของรัสเซีย
ในขณะที่ความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯหยุดยั้งช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD แต่ความเห็นในการดำเนินนโยบายเชิงเข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ได้สร้างแรงกดดันต่อแรงเทขายของคู่เงินนี้ก่อนการประชุม FOMC ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารของ ECB Klaas Knot ได้ออกมาแสดงความเห็นในช่วงสุดสัปดาห์ โดยปฏิเสธโอกาสที่ยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสเปน Pablo Hernández de Cos ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายของ ECB ร่วมกับสมาชิกสภากำกับดูแล ECB Gabriel Makhlouf ยังส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางในภูมิภาคอาจเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ได้รับความสนใจอย่างมาก ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ (NIRP) และนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ในการประชุมนโยบายการเงินในวันอังคารนี้ แม้ความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเข้มงวดจะสร้างแรงกดดันด้านลบต่อคู่เงินเยน แต่ผลตอบแทนพันธบัตรคลังสหรัฐฯและดอลลาร์สหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ร่วมกับการเข้าซื้อพันธบัตรนอกรอบของธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงปกป้องนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ และยังท้าทายแรงเทขายคู่เงิน USDJPY อีกด้วย
นอกจากนั้น คู่เงิน GBPUSD ค่อยๆฟื้นตัวอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางได้สร้างแรงกดดันต่อเทรดเดอร์เงินปอนด์สเตอร์ลิงก่อนการรายงานตัวเลขค่าดัชนี PMI ของสหราชอาณาจักร ยอดค้าปลีก และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในสัปดาห์นี้
แม้จะมีความเห็นของนายกรัฐมนตรี Christopher Luxon ที่บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยลง แต่คู่เงิน NZDUSD ก็ยังปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากดัชนีชี้วัดภาวะการผลิตภาคธุรกิจของนิวซีแลนด์ (PSI) ที่สดใสและข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากจีน นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD ก็ขยับตัวขึ้นเหนือระดับ 0.6550 ด้วยเช่นกัน ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่มีทิศทางเป็นบวกจากจีนซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย และความวิตกกังวลก่อนการประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในวันอังคารนี้
และเป็นที่น่าสังเกตว่าความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดจากรัสเซีย ควบคู่ไปกับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากจีนและสภาวะ consolidation ของดอลลาร์สหรัฐฯก่อนการประชุม FOMC ช่วยให้แรงเทซื้อน้ำมันยังคงมีความหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนอุปทาน
แม้ว่าข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มกระตุ้นความเคลื่อนไหวของตลาดตั้งแต่วันอังคารเป็นต้นไป แต่ในช่วงที่เหลือของวันจันทร์ยังขาดปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ ซึ่งอาจทำให้ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯชะลอตัว โดยการตัดสินใจด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ), ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA), ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) รวมไปถึงยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรและดัชนีชี้วัดภาคการผลิต (PMIs) ของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำจะยังคงเป็นตัวแปรสำคัญที่ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนที่เทรดตามโมเมนตัม อย่างไรก็ตาม ความสนใจหลักจะอยู่ที่การตัดสินใจของ FOMC ในวันพุธ เนื่องจากช่วงแนวโน้มขาลงของดอลลาร์สหรัฐฯกำลังรอการยืนยันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน และ/หรือ สัญญาณของภาวะเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงในสหรัฐฯ หากการคาดการณ์รูปแบบกราฟ dot-plot ของ Fed และแถลงการณ์ของประธาน Jerome Powell เลื่อนการลดอัตราดอกเบี้ยไปปลายปี 2024 ดอลลาร์สหรัฐฯอาจจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากการปรับขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !