ตลาดในช่วงเช้าวันศุกร์ก่อนรายงานข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ (NFP) ค่อนข้างเงียบเหงา แม้ว่านักเทรดในสหรัฐฯจะกลับมามีความเคลื่อนไหวจากช่วงวันหยุดอีกครั้ง ประกอบกับสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นในวอชิงตัน โดยผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหราชอาณาจักรยังปรากฏเป็นพาดหัวข่าวใหญ่ด้วยการที่พรรคแรงงานได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย ขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากจีน รัสเซีย และตะวันออกกลางยังคงทดสอบความเชื่อมั่นของตลาดด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ถดถอยลง ปัจจัยเดียวกันนี้ยังกดดันดอลลาร์สหรัฐฯให้อ่อนค่าลงและส่งผลให้สกุลเงินอื่นๆและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุล กำลังมุ่งหน้าสู่การปิดสัปดาห์ด้วยการปรับลดลงมากที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ โดยเมื่อประกอบกับความคาดหวังเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในสหราชอาณาจักร จึงส่งผลให้คู่เงิน GBPUSD มีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบสัปดาห์นับตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ในขณะที่ คู่เงิน EURUSD ก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกันเช่นกัน แม้ว่าจะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซนในหลากหลายทิศทาง และแถลงการณ์ที่ยังคงคลุมเครือจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ตาม
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ขยายการถอยกลับของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1986 ท่ามกลางการแทรกแซงทางวาจาของเจ้าหน้าที่ทางการญี่ปุ่น ในขณะที่ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD กลับพุ่งสูงขึ้นเป็นเวลาสี่วันติดต่อกัน แม้ว่าจะมีพาดหัวข่าวที่หลากหลายทั้งจากภายในประเทศและที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายใหญ่อย่างจีนก็ตาม
ทางด้านคู่เงิน USDCAD ยังคงเผชิญกับแรงกดดันที่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน ในขณะที่มุ่งหน้าสู่ช่วงขาลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน สอดคล้องกับทิศทางของราคาน้ำมันดิบที่แข็งแกร่งขึ้นในกรอบการซื้อขายรายสัปดาห์ ขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง
แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะยุติการพุ่งสูงขึ้น 2 วันติดต่อกัน แต่โดยภาพรวมราคายังคงอยู่ในแดนบวก ท่ามกลางความคาดหวังว่าความต้องการพลังงานในช่วงฤดูร้อนนี้จากทางฝั่งตะวันตกจะเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านอุปทานที่อาจรุนแรงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางและการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+
นอกจากนี้ ราคาทองคำยังไม่ตอบสนองต่อรูปแบบกราฟแท่งเทียน Doji ที่ปรากฏขึ้นในวันก่อนหน้า ขณะที่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยแตะจุดสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยมีแนวโน้มพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ ก่อนการรายงานข้อมูลการจ้างงานที่สำคัญจากสหรัฐฯและแคนาดา
ในขณะเดียวกัน BTCUSD และ ETHUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยกดดัน 2 ประการ ได้แก่ สัญญาณทางเทคนิคที่ชี้ว่าราคาอาจจะปรับตัวลง (technical breakdown) ร่วมกับการที่รัฐบาลเยอรมนีมีการโอน Bitcoin และการที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (US SEC) ชะลอการอนุมัติ spot ETH ETF
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
แม้ตลาดสหรัฐฯจะปิดทำการเนื่องในวันประกาศอิสรภาพ แต่ดอลลาร์สหรัฐฯก็ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงแนวโน้มที่อาจร่วงลงหนักที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ ขณะที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องในช่วง 6 วันที่ผ่านมา โดยมีราคาเสนอขายเป็นบวกเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 105.00 ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงทรุดตัวลงแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิถุนายน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ชะลอตัว ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต้องทบทวนมุมมองเดิมที่คาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2024 เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงล่าสุดและสัญญาณเงินเฟ้อ ร่วมกับความกังวลเกี่ยวกับการถอนตัวจากการลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯอีกครั้งของประธานาธิบดี Joe Biden ยังสร้างแรงกดดันด้านลบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอีกด้วย
แม้ความกังวลเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ Fed จะเพิ่มขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงปฏิเสธการพูดคุยให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม แม้จะมีข้อมูลเศรษฐกิจที่ปรับตัวลงล่าสุดก็ตาม โดยคำสั่งซื้อภาคโรงงานของเยอรมนีและตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมล่าสุดยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความพยายามควบคุมการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ ECB นอกเหนือไปจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ตกต่ำของสหภาพยุโรปแล้ว สถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดของฝรั่งเศสยังส่งผลกระทบต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD แม้ว่าคู่เงินสกุลหลักนี้จะพุ่งสูงขึ้นอย่างมากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในทางกลับกัน ความคาดหวังของตลาดที่จะได้เห็นจุดยืนทางการเมืองที่แข็งแกร่งในสหราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากชัยชนะของพรรคแรงงานดูเหมือนจะส่งผลให้คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ว่าผู้นำคนใหม่อาจจะไม่สนับสนุนให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่ตกต่ำและอาจจะผลักดันให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ดูเหมือนจะท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงินเคเบิลด้วยเช่นกัน
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ได้รับผลกระทบจากความเห็นของผู้กำหนดนโยบายทางการเงินของญี่ปุ่นที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงและพูดถึงโอกาสที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยรัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น Sunichi Suzuki ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ล่าสุดได้ออกมาส่งสัญญาณถึงการแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงค่าเงินเยน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นที่อ่อนแอ และข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่ผันผวนยังคงเป็นปัจจัยที่ท้าทายแนวโน้มของตลาด และอาจช่วยพยุงไม่ให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงไปอีกด้วย
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ต่างได้รับแรงหนุนจากสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการชะลอ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางของทั้งสองประเทศ (RBA และ RBNZ) ประกอบกับความคาดหวังว่าจีนจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของจีนยังคงกดดันแรงเทซื้อคู่เงินออสซี่และคู่เงินกีวี
เหนือสิ่งอื่นใด คู่เงิน USDCAD ร่วงลงอย่างหนัก โดยได้รับแรงหนุนทั้งจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงและราคาน้ำมันดิบ (ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของแคนาดา) ที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาประจำสัปดาห์ก่อนที่ออกมาดีเกินคาด ยังส่งผลกระทบต่อคู่เงิน Loonie อีกด้วย ซึ่งทางด้าน ผู้ว่าการ BoC Tiff Macklem ได้แสดงแนวโน้มในการดำเนินนโยบายตามข้อมูลที่ได้รับ หลังจากที่เพิ่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้ โดยราคาน้ำมันดิบมีการร่วงลงเล็กน้อยที่ระดับสูงสุดในรอบ 10 สัปดาห์ ขณะที่ยุติการพุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสองวัน ถึงกระนั้นก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นในช่วงสี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความหวังว่าอุปสงค์และอุปทานในช่วงฤดูร้อนจะมีทิศทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ราคาทองคำยังคงแข็งแกร่ง ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงและความกังวลเกี่ยวกับท่าทีที่แข็งกร้าวในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่รายงานล่าสุดระบุว่า ราคาทองคำยังมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดด้วยการปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญ กำลังมุ่งหน้าสู่การปิดตลาดประจำสัปดาห์ด้วยการร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ ซึ่งโดยปกติแล้ว ควรส่งแรงหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงและมีความวิตกกังวลทางการเมือง
วันศุกร์นี้จะเป็นวันที่วุ่นวายสำหรับเหล่านักลงทุนในตลาด หลังจากความน่าเบื่อหน่ายในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยอาจมีสาเหตุหลักมาจากกำหนดการเผยแพร่ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯและแคนาดา รวมไปถึงตัวเลขยอดค้าปลีกของยูโรโซน นอกจากนี้ อีกปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามคือ ปฏิกิริยาของนักเทรดในสหรัฐฯต่อความตึงเครียดทางการเมืองล่าสุดทั้งในสหรัฐฯและสหราชอาณาจักร
แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯที่มีแนวโน้มปรับลดลง และยอดค้าปลีกของยูโรโซนที่ปรับตัวดีขึ้นน่าจะส่งผลดีต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD แต่การเซอร์ไพรส์ใดๆที่อาจเกิดขึ้นก็ไม่ควรถูกมองข้าม เพราะอาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดการดึงกลับของระดับราคาที่หลายคนรอคอย ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดูเหมือนว่าจะยังขาดความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ข้อมูลการจ้างงานของแคนาดาอาจสนับสนุนแนวโน้มที่ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก และอาจจะเซอไพรส์ตลาดด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับแรงหนุนจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งยังอาจส่งผลให้คู่เงิน USDCAD หลุดแนวรับที่เส้น 200-SMA ที่ระดับ 1.3595 ได้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !