ช่วงวันหยุดที่ใกล้เข้ามาส่งผลต่อตลาดในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของปี 2023 โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางการขาดการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญ อีกสิ่งที่จำกัดโมเมนตัมของตลาดอาจเป็นท่าทีล่าสุดของผู้กำหนดนโยบายของ Fed ที่ยังคงนโยบายการเงินแบบเข้มงวดรวมไปถึงข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ผันผวนและข้อกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจีน
ในสถานการณ์นี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ชะลอตัวลงจากการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบ 4.5 เดือน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯยังคงได้รับแรงกดดันที่ระดับต่ำสุดในรอบหลายเดือน อย่างไรก็ตาม คู่เงิน USDJPY ยังขาดทิศทางที่ชัดเจน ท่ามกลางความต้องการในการคงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และความหวังว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปี 2024 นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ คู่เงิน USDCAD ยังคงได้รับแรงกดดัน
ราคาทองคำดูเหมือนจะยังอยู่ในแนวรับหลังจากล้มเหลวในการข้ามโซนแนวต้านที่ $2,055-60 แม้ว่าจะมีการฟื้นตัวอย่างโดดเด่นก็ตาม ส่วนทางด้านราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นเป็นวันที่สี่ติดต่อกันท่ามกลางความกังวลเรื่องการลดกำลังการผลิตและความหวังที่จะได้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีน
อย่างไรก็ตาม BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงท่ามกลางค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม Bitcoin ที่พุ่งสูงขึ้น และทิศทางในการอนุมัติ Spot ETF
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
เงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้มีการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในต้นปี 2024 แม้ว่าล่าสุดจะยังไม่มีการดำเนินการใดๆก็ตาม อีกสิ่งที่สนับสนุนช่วงแนวโน้มขาลงก็คือข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ตกต่ำลงเมื่อเร็วๆนี้และความเชื่อมั่นของตลาดที่มีทิศทางดีขึ้นแม้ว่าจะยังคงมีท่าทีระมัดระวัง นอกเหนือไปจากสัญญาณจาก Fed และการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯแล้ว ท่าทีที่ค่อนข้างเอนเอียงไปทางนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงข่าวกระตุ้นเศรษฐกิจจากจีนยังมีส่วนทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงเช่นกัน โดยที่ราคาทองคำยังคงแข็งค่าขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ดอลลาร์สหรัฐฯนั้นสามารถฟื้นตัวได้ในวันก่อนหน้า ท่ามกลางตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่น่าผิดหวังน้อยกว่าประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ นอกจากนี้ พาดหัวข่าวความผันผวนจากยุโรปและสหราชอาณาจักร และการคงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ BoJ ยังได้เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย
จากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ท่าทีของผู้กำหนดนโยบายของ Fed ยังไม่มีความชัดเจนนัก ในขณะที่ผลักดันการคาดการณ์เชิงบวกจากธนาคารกลางสหรัฐฯออกไป ในหมู่พวกเขา ประธาน Fed แห่งนิวยอร์ก John C. Williams ได้รับความสนใจอย่างมากในขณะที่เขาได้ออกมากล่าวว่า "หากเราได้รับความคืบหน้าที่ผมหวังว่าจะได้เห็น ก็เป็นเรื่องปกติที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย" นอกจากนี้ ประธาน Fed ประจำแอตแลนตา Raphael Bostic ยังได้ตัดความคาดหวังของตลาดที่จะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ถึงกระนั้นก็ยังมีการคาดการณ์ว่าอาจได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25 จุดสองครั้งในปี 2024 อย่างไรก็ตาม Austan Goolsbee ประธาน Fed แห่งชิคาโกก็ได้ออกมากล่าวว่ายังคงมี "จุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง" จำนวนมากที่อาจส่งผลกระทบต่อ "การลงจอด" (การลงจอดที่นุ่มนวลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ) ซึ่งจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นและทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง
ในอีกทางหนึ่ง สื่อของรัฐได้อ้างอิงสำนักงานการเงินกลางของจีนว่า "เศรษฐกิจของจีนในปี 2024 กำลังเผชิญกับโอกาสมากกว่าความท้าทาย" นอกจากนี้ อุณหภูมิที่ลดลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในจีนยังผลักดันให้ผู้กำหนดนโยบายในประเทศต้องเตรียมมาตรการฉุกเฉินเพื่อปัดเป่าความกลัวการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เป็นผลให้แรงเทซื้อทองคำสามารถฟื้นตัวได้
เมื่อพูดถึงปัจจัยเร่งปฏิกิริยาของยูโรโซน Bundesbank ของเยอรมนีได้มีการเปิดเผยการคาดการณ์เศรษฐกิจรายครึ่งปี โดยที่แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างหดตัวลงในช่วงปี 2023 แต่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2024
ทั้งนี้ ความคิดเห็นจากผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) Francois Villeroy de Galhau ไม่สามารถหนุนช่วงแนวโน้มขาลงของยูโรได้ Villeroy ยังย้ำถึงท่าทีที่เอนเอียงไปทางนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเขาในขณะที่ออกมากล่าวว่า "ยังไม่มีใครแนะนำให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุด" ถึงกระนั้น เหล่าผู้กำหนดนโยบายต่างมีการเสนอแนะว่าความเคลื่อนไหวถัดไปของนโยบายควรจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นอกเหนือจากจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ในขณะเดียวกัน Robert Holzmann ผู้กำหนดนโยบายของ ECB ได้ออกมากล่าวว่า ไม่มีการหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุด พร้อมทั้งเสริมว่า “ยังไม่สามารถบอกได้ว่าอัตราดอกเบี้ยนั้นได้ปรับขึ้นไปถึงจุดสูงสุดแล้ว (terminal rate) และยังคงมีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น” นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายของ ECB และ Joachim Nagel หัวหน้าธนาคาร Bundesbank ยังกล่าวอีกว่า “ยังเร็วเกินไปที่จะพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB”
อย่างไรก็ตาม การรายงานค่าดัชนี PMI ของยูโรโซนอย่างรวดเร็วในเดือนธันวาคมยังท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของยูโรในวันศุกร์อีกด้วย
อีกทางด้านหนึ่ง Tiff Macklem ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ออกมากล่าวว่า “ยังเร็วเกินไปที่จะเริ่มหารือว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในแคนาดาหรือไม่” ซึ่งแถลงการณ์นี้ร่วมกับการฟื้นตัวของราคาน้ำมันยังส่งผลกระทบต่อคู่เงิน USDCAD ด้วยเช่นกัน
และเป็นที่น่าสังเกตว่าการตัดสินใจของ OPEC+ ในการลดกำลังการผลิตมากขึ้นและความหวังที่จะเห็นความต้องการพลังงานจากฝั่งเอเชียเพิ่มมากขึ้นนั้นได้ช่วยหนุนแรงเทซื้อน้ำมัน อีกทั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Alexander Valentinovich Novak ยังได้ออกมากล่าวว่าพวกเขากำลังพิจารณาปรับลดการส่งออกน้ำมันเพิ่มเติมประมาณ 50,000 บาร์เรลต่อวัน (bpd) ในเดือนธันวาคมอีกด้วย
ตัวเลขความเชื่อมั่น IFO ของเยอรมนีในเดือนธันวาคมจะร่วมกับดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฯของ NAHB และดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ของแคนาดากระตุ้นโมเมนตัมของนักลงทุนในระหว่างวัน นอกเหนือไปจากการขาดการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญแล้ว ช่วงวันหยุดสิ้นปีและการยืนยันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 จากธนาคารกลางรายสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมายังจะจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดในวันจันทร์อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯสามารถชะลอการร่วงลงเมื่อเร็วๆนี้ได้ ขณะที่คู่เงิน USDJPY อาจขาดโมเมนตัม เนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้สัญญาณเงินเฟ้อของญี่ปุ่นที่ปรับตัวขึ้นนั้นสวนทางกับความต้องการของประเทศที่จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !