ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

นักเทรด vs นักลงทุน: ต่างกันอย่างไร?

นักเทรด vs นักลงทุน – มีจุดแตกต่างที่เด่นๆ และแนวทางการซื้อขายออนไลน์ที่ต่างกันอย่างไร? แน่นอนว่าคำเรียกทั้งสอง หมายถึง วิธีการสร้างรายได้ผ่านตลาดตราสารทุน ผ่านตราสารการเทรดอาทิ ทองคำ, หุ้น, สกุลเงิน, สินค้าโภคภัณฑ์ และคริปโต เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเป็นนักเทรดและนักลงทุนนั้นมีข้อแตกต่างหลายอย่าง ซึ่งเรียกได้ว่าให้ภาพการลงทุนที่แตกต่างกันมากเลยทีเดียว

None

ในบทความวันนี้ เราจะมาหาคำตอบกันว่านักเทรดรายวันกับนักลงทุนนั้นต่างกันอย่างไร โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลักๆ ในการอธิบายตามลักษณะของวิธีการเทรด และกลยุทธ์ในการเทรด

นักเทรด vs นักลงทุน: 4 ข้อแตกต่างที่ชัดเจน

โดยทั่วไป การลงทุนและการเทรด หมายถึง กิจกรรมแบบเดียวกัน นั่นก็คือการทำกำไรจากการลงทุนในตลาดการเงินทั้งในระยะสั้นหรือระยะยาว โดยขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ท่านสนใจ อย่างไรก็ดี เทคนิคนี้ค่อนข้างมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเทียบนักเทรดหุ้นกับนักลงทุนในทองคำหรือโลหะเงิน แต่ละตราสารก็จะใช้รูปแบบและกลยุทธ์ในการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะอธิบายความแตกต่างของการเทรดและการลงทุนได้

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

1. กรอบเวลา (Timeframe)

กรอบเวลาหรือ Timeframe เป็นหนึ่งในปัจจัยแรกที่ควรพิจารณา เนื่องจากนักเทรดรายวัน (Day trader) มักถือคำสั่งซื้อขายแค่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำกำไรจากการเก็งกำไรในระยะสั้นๆ อาจเป็นเวลาเพียงไม่กี่วันไปจนถึงสัปดาห์

ขณะที่นักลงทุนจะเน้นการลงทุนระยะยาว และไม่เน้นการทำกำไรทุกครั้งที่มีโอกาส แต่จะเป็นการถือออเดอร์ยาวๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนก้อนโตซึ่งเป็นรายได้ที่มั่นคง โดยอาจมีโอกาสถือออเดอร์ได้ตั้งแต่เดือน ปี หรือหลายสิบปีเลยก็เป็นได้!

2. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risks Involved)

ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ไม่มีใครการันตีได้ว่าลงทุนแล้วจะได้กำไรตลอด โดยการเทรดนั้นมาพร้อมกับความเสี่ยงก็จริง แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดมีความผันผวนมากๆ ซึ่งก็คือจังหวะที่ราคาวิ่งขึ้นลงอย่างรุนแรงภายในช่วงเวลาสั้นๆ

แม้การลงทุนจะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่น้อยกว่า แต่โอกาสที่จะได้กำไรครั้งละมากๆ ก็น้อยตาม อย่างไรก็ดี สินทรัพย์บางตัวก็อาจให้ผลตอบแทนน้อย หากใช้เวลาลงทุนเพียงไม่นาน ขณะที่นักลงทุนอาจได้เงินปันผลจากการถือสินทรัพย์บางตัวเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ท่านได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่ามากขึ้น

3. ปั้นเงินให้โต (Capital Growth)

ข้อแตกต่างระหว่างนักเทรดและนักลงทุนก็คือวิธีการปั้นเงินทุนให้โตนั่นเอง โดยเทรดเดอร์ทั่วไปจะพยายามมองหาโอกาสในเข้าออเดอร์เมื่อมีจังหวะ โดยง่ายๆ เมื่อราคาร่วง ก็เป็นสัญญาณที่จะตั้งออเดอร์ซื้อ และหากสินทรัพย์ราคาพุ่ง ก็เป็นสัญญาณในการขายนั่นเอง

ขณะเดียวกัน นักลงทุนจะเน้นปั้นเงินทุนหรือพอร์ตด้วยการลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นหุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์, โลหะมีค่า หรือตราสารอื่นๆ หรือง่ายๆ ก็คือการเน้นกระจายความเสี่ยงในหลายๆ สินทรัพย์นั่นเอง โดยนอกจากสินทรัพย์บางตัวจะให้ผลตอบแทนที่มั่นคงแล้ว ยังมีการจ่ายเงินปันผลและอัตราตอบแทนเพิ่มเติมอีกต่างหาก

4. ความซับซ้อน (Complexity)

นักเทรดจะมีพื้นฐานการเทรดที่ดี และมีการพัฒนาอยู่ตลอด เนื่องจากการคอยฝึกฝนทักษะและความรู้ด้านเทคนิค เพื่อดำเนินการวิเคราะห์และสังเกตข้อมูลของตลาดในแต่ละวัน นักเทรดจะต้องเทรดผ่านรูปแบบกราฟที่แตกต่างกัน รวมถึงใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิคตลอดเวลาเพื่อจับโมเมนตัมและหาจุดเข้า-ออกของตลาดที่เป็นโอกาสในการทำกำไร ดังนั้น อาจพูดได้ว่าการเทรดนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทักษะนั่นเอง

นักลงทุนจะชอบหุ้นที่ไม่ผันผวนมาก ค่อยๆ ปรับตัวขึ้น และอาศัยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมากกว่าปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งอาศัยจิตวิทยาในการเทรดมากกว่าเน้นกลยุทธ์ในการเทรด เราสามารถพูดได้ว่านักเทรดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ขณะที่นักลงทุนเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา

สรุปความแตกต่างระหว่างนักเทรดและนักลงทุน

การตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับท่านมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมันจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จทางการเงินในอนาคต รวมถึงผลลัพธ์จากการลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมท่านจะต้องเข้าใจพฤติกรรมการซื้อขายของท่าน ทั้งนี้ เทรดเดอร์จะต้องมีความมั่นใจในตัวเองและมีวินัยที่ดี มิฉะนั้น อาจจะต้องเผชิญกับการเทรดด้วยอารมณ์เป็นหลักซึ่งอาจก่อให้เกิดการสูญเสียเงินทุนทั้งหมดได้ ขณะที่นักลงทุนเองก็ต้องมีความมั่นคงและความสมเหตุสมผลในการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมและลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน