ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

Foreign Institutional Investment คืออะไร? เผยหลักการการลงทุนสถาบันต่างประเทศ

Foreign Institutional Investor หรือ FII หมายถึง นักลงทุนที่ลงทุนในสถาบันต่างประเทศ หรือพูดง่ายๆ ก็คือผู้ที่เลือกลงทุนตราสารต่างประเทศนั่นเองครับ โดย “ตราสารต่างประเทศ (Foreign asset)” ที่ว่านั้นเป็นตราสารการลงทุนของบริษัทต่างประเทศอย่างเช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และจีน เป็นต้น โดยการลงทุนในสถาบันต่างประเทศมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจและตลาดการเงินเป็นอย่างมาก

None

ในบทความวันนี้ เราจะไปหาคำตอบกันว่าทำไมการลงทุนในสถาบันต่างประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญ? แล้วการลงทุน FII มีกี่ประเภท? ที่สำคัญ เรามีตัวอย่างการลงทุนในสถาบันต่างประเทศมาแนะนำด้วยนะ

อธิบายเกี่ยวกับผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศ

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า FII มีบทบาทสำคัญต่อสภาวะทางการเงินและเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับระบบกองทุนรวม (Mutual fund), วาณิชธนกิจ (Investment bank), หรือองค์กรอื่นๆ ที่ต้องการนำเงินลงทุนปริมาณมากไปลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) อย่างเช่นในประเทศอินเดีย หรือประเทศจีน โดยผู้เล่นขาใหญ่ในตลาดจะเข้าซื้อหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างชาติซึ่งส่งผลให้เกิดแนวโน้มความเคลื่อนไหวในตลาด

โดยนอกจากการลงทุนในสถาบันต่างชาติจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการกระตุ้นการลงทุนแล้ว มันยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านการลงทุนและทำให้ตลาดมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน โดยจากการรายงานของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของอินเดีย (SEBI) ขณะนี้มีผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศ (Foreign institutional investor) ที่จดทะเบียนแล้วกว่า 1,450 แห่ง

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ทำความเข้าใจการลงทุนสถาบันต่างประเทศ

เพื่อให้เข้าใจหลักการการลงทุนในสถาบันต่างประเทศมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญที่ท่านควรรู้ ได้แก่:

  1. ผู้ที่ลงทุนใน FII ส่วนใหญ่จะเป็นขาใหญ่ในตลาด เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกัน และกองทุน Hedge fund เป็นต้น เนื่องจากผู้เล่นเหล่านี้มีสภาวะทางการเงินที่มั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก
  2. ยิ่งไปกว่านั้น การที่นักลงทุน FII เข้ามาลงทุนในตลาดต่างประเทศ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะการเงินอย่างเห็นได้ชัด การเข้ามาลงทุนอาจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากมีอุปสงค์หรือความต้องการค่าเงินในประเทศนั้นๆ เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้เองทำให้รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นจะต้องมีการประเมินสัดส่วนการถือครองมูลค่าการลงทุนในบริษัทต่างประเทศจาก FII

ตัวอย่างการลงทุนสถาบันต่างประเทศ

สมมุติว่ากองทุนของสหรัฐฯ กำลังเฝ้าจับตาบริษัทในอินเดียและเห็นว่าบริษัทเหล่านั้นมีโอกาสเติบโต น่าลงทุน ก็จะมีการเปิดออเดอร์ Long และซื้อ หุ้น (Share) ของบริษัท ในตลาดหุ้นอินเดีย โดยนักลงทุนสหรัฐจะไม่เพียงแค่ได้ครอบครองหุ้นของบริษัทโดยตรงเท่านั้น แต่ยังได้เพิ่มการเติบโตและการลงทุนในกองทุนได้อีกด้วย

การลงทุนสถาบันต่างประเทศในจีน

นอกจากประเทศอินเดีย ยังมีตลาดที่เป็นที่สนใจในหมู่นักลงทุน FII ซึ่งก็คือตลาดในประเทศจีนนั่นเอง ทุกท่านคงทราบกันดีว่าจีนก็เป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางด้านการลงทุนของนักลงทุนหลายราย เนื่องจากรัฐบาลของจีนมีการเอื้ออำนวยและเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติได้เข้ามาลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ของประเทศจีนมากขึ้นนั่นเองครับ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน